แม่ชีแก้ว ศิษย์หญิงผู้เดียวที่หลวงปู่มั่นสั่งห้ามไม่ให้ภาวนา แต่สุดท้ายก็บรรลุธรรม ชมภาพอัศจรรย์อัฐิธาตุแม่ชีแก้ว งดงามมาก!

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ http://panyayan.tnews.co.th/

จากที่ได้เล่าเรื่องราวของแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม กับวินาทีที่คุณแม่บุญเรือนท่านบรรลุธรรมแล้ว นอกจากนั้น เมืองไทยเรายังมีอุบาสิกาหญิง “แม่ชีแก้ว เสียงล้ำ” ศิษย์หญิงสายพระป่า มาช่วยยืนยันว่า “เกิดเป็นผู้หญิง ก็บรรลุธรรมได้” วันนี้เลยได้นำประวัติ พร้อมภาพอัฐิธาตุของแม่ชีแก้ว

แม่ชีแก้วท่านนี้ เคยถูกหลวงปู่มั่นห้ามไม่ให้ภาวนามาแล้ว และมีการพยากรณ์ล่วงหน้าด้วยว่าจะมีผู้มาสอนภายภาคหน้า เรื่องราวของแม่ชีแก้ว เป็นดังนี้

แม่ชีแก้ว ศิษย์หญิงผู้เดียวที่หลวงปู่มั่นสั่งห้ามไม่ให้ภาวนา แต่สุดท้ายก็บรรลุธรรม ชมภาพอัศจรรย์อัฐิธาตุแม่ชีแก้ว งดงามมาก!

(ภาพแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ)

 

ย้อนไปเมื่อ 89 ปีที่แล้ว (พศ.2460) ณ บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หญิงสาวผู้หนึ่งได้ถางป่าเพื่อจับจองที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมหลวงปู่มั่นได้ธุดงค์ผ่านมาพร้อมคณะพระ ท่านได้เห็นที่บริเวณนั้นเหมาะที่จำทำเป็นที่พักสงฆ์ จึงได้ขอที่บริเวณนั้น หญิงสาวนั้นมีปิติยินดี ได้ถวายที่แด่ท่าน หลวงปู่ได้ให้พรว่า "ต่อไป เจ้าจะไม่มีวันอดอยาก" วัดแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า วัดหนองน่อง (น่องคือเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง ใช้เป็นยาเบื่อยาสลบ)

หลวงปู่มั่นและคณะพระได้อยู่ปฏิบัติธรรม ณ วัดแห่งนั้น สั่งสอนชาวบ้านแถบนั้น ให้ละจากการนับถือผีมานับถือพระพุทธศาสนา ยังให้เกิดศรัทธา เข้าใจศาสนามากขึ้น หนึ่งในนั้นก็มีเด็กสาวรุ่น อายุ 16 ผู้เป็นผู้ถวายที่ คือคุณแม่ชีแก้ว ในปัจจุบัน

ก่อนหลวงปู่มั่นกับคณะพระจะธุดงค์จากไป หลวงปู่มั่นได้ปรารภกับคุณแม่ชีแก้วว่า

"หากเจ้าเป็นผู้ชาย เราจะให้บวชเป็นเณรและให้ติดตามไปด้วย แต่นี่เป็นหญิง ไปด้วยก็ลำบากต่อพระธรรมพระวินัย และสั่งว่าให้หยุดภาวนา ตั้งแต่นี้ต่อไปให้ใช้กรรมไปตามประสาโลก กาลต่อไปข้างหน้าจะมีผู้มาสั่งสอน"

หลังจากที่หลวงปู่มั่นจากไป แม่ชีแก้วก็ได้แต่งงาน เมื่ออายุได้ 17 ปี และได้ใช้ชีวิตผ่านสุขทุกข์ต่าง ๆ ตามประสาโลก สำหรับผู้มีวาสนาย่อมเห็นโทษของการครองเรือน จึงได้ขอสามีบวชชี แต่สามีไม่ยินยอม ได้พยายามอยู่ถึง 2 ปี สามีจึงยินยอมให้บวช ชีวิตนักบวชจึงได้เริ่มต้น เมื่ออายุได้ 36 ปี ณ วัดหนองน่อง บ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยมีหลวงพ่อกา (ปู่ของพระอาจารย์อินทร์ถวาย วัดป่านาคำน้อย) เป็นพระอุปัชฌาย์

 

แม่ชีแก้ว ศิษย์หญิงผู้เดียวที่หลวงปู่มั่นสั่งห้ามไม่ให้ภาวนา แต่สุดท้ายก็บรรลุธรรม ชมภาพอัศจรรย์อัฐิธาตุแม่ชีแก้ว งดงามมาก!

 

พรรษาแรกผ่านไป สามีจะให้สึก เพราะอนุญาตให้บวช 1 พรรษา คุณแม่ชีแก้วจึงได้ย้ายไปศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์คำพัน ณ วัดภูเก้า ได้เกิดความรู้แปลก ๆ มากมาย ตามประวัติท่านกล่าวว่า จิตท่านผาดโผนมาก ออกรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องราวอดีต อนาคต ทั้งนรก สวรรค์ จิตดวงภาวนานี้ได้ทราบหมด

 

8 ปีจากนั้น พระอาจารย์คำพันได้ลาสิกขาไป แม่ชีจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านห้วยทราย ตั้งสำนักแม่ชีขึ้น เมื่อปี พศ.2488 คือสำนักชีในปัจจุบัน

 

ต่อมาเมื่อปี พศ. 2493 คุณแม่ชีแก้วได้นิมิตดังที่หลวงปู่มั่นได้เคยกล่าวไว้ ว่า กาลต่อไปข้างหน้าจะมีผู้มาสั่งสอน แม่ชีแก้วก็ได้เล่าให้เพื่อนแม่ชีฟังเพื่อเตรียมจัดสถานที่และรอพิสูจน์ความจริงร่วมกัน ปรากฎว่า มีพระผ่านมา แต่แม่ชีแก้วก็ว่าไม่ใช่องค์นี้ จนกระทั่งหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เดินทางมากับพระเณรจำนวนหนึ่ง แม่ชีแก้วเห็นเข้ารู้ทันทีว่าเป็นพระอาจารย์องค์นี้ที่ปรากฎตามนิมิตแน่ จึงได้พากันนิมนต์ต้อนรับ

แม่ชีแก้ว ศิษย์หญิงผู้เดียวที่หลวงปู่มั่นสั่งห้ามไม่ให้ภาวนา แต่สุดท้ายก็บรรลุธรรม ชมภาพอัศจรรย์อัฐิธาตุแม่ชีแก้ว งดงามมาก!

(อัฐิแม่ชีแก้วแปรเป็นพระธาตุ)

 

หลวงตามหาบัว ได้เทศน์ไว้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 ความตอนหนึ่งว่า

"อย่างแม่ชีแก้วนั่นออกรู้ข้างนอก กระจายไปเลย พอไปก็ว่าหลวงปู่มั่นท่านเวลาท่านจะจากไปท่านห้ามไม่ให้ภาวนา เราสะดุดกึ๊ก ต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเราจะคอยฟังจุดนั้น พอแกแย็บออกความรู้ของแก อ๋อ อันนี้เอง แน่ะอย่างนั้นละเข้าใจทันที แล้วที่ไล่แกลงภูเขาก็จุดนี้จะเป็นอะไรไป

คือมันอยากภาวนามากเข้าๆ ก็เลยภาวนา แต่ระวังเอาแกว่างั้น บทเวลาเอากันจริงๆ แล้วก็นั่นละไล่ลงภูเขาร้องไห้ ก็คืออันนี้เอง แกไม่ยอม ความรู้ของแกดีไม่ดีเอามาทับหัวเราอีก ว่าเราเป็นลูกศิษย์ของแกไปอีก ใส่เปรี้ยงนี้ก็ไล่ลงภูเขา ร้องไห้ลงไป แกก็มีเหตุมีผลอยู่ ที่ท่านไล่ลงภูเขาเพราะอะไร ก็เพราะไม่เชื่อฟังคำท่าน เอาแต่ความรู้ของตนไปอวดท่าน ท่านก็ไล่เอาบ้างซิ ถ้าหากว่าจะปฏิบัติตามท่าน ในฐานะถือว่าเป็นครูเป็นอาจารย์แล้วก็ปฏิบัติตามที่ท่านสอนซิ ท่านสอนว่าไง ทีนี้ก็เลยปล่อยเรื่องของแกหมด เข้ามาหาจุดที่เราสอน อย่างนั้นนะ

 

 พอเข้ามามันก็ถูกนี่ ก็สอนด้วยความถูกต้อง ผู้นั้นผิด งมเงาไปเฉยๆ พอเข้ามาจุดนี้มันก็จ้า สว่าง อัศจรรย์เกินคาดเกินหมายแกว่า ก็อย่างนั้นแล้ว พอออกจากที่ภาวนาก็หันหัวไปทางโน้นกราบ เราอยู่บนภูเขากับเณรภูบาล ทางด้านตะวันตก วัดห้วยทรายอยู่ทางนั้น บ้านห้วยทรายอยู่ทางนี้ วัดอยู่ทางนั้นเราอยู่ทางนั้น สำนักชีเขาข้ามทุ่งไปเลย วันพระเขาไปยกขบวนไปเลย พอ ๔ โมงเขาก็ขึ้นไปถึง ๕ โมงกว่าๆ เขาก็ลงมา ไปพูดถึงเรื่องปัญหานั่นละ นี่ละที่ว่าไล่ลงภูเขา ควรไล่มันต้องไล่จะว่าไง เมื่อเอาไว้ไม่อยู่แล้วก็ซัดกัน นิวเคลียร์ก็มานิวตรอนก็มาเข้าใจไหม ร้องไห้ลงภูเขาไป

 

 

 

ทีแรกก็ว่าองค์นี้แหละ แน่ะ แกก็แม่นยำดีอยู่ ว่าออกพรรษาแล้ว ปีนี้จะมีครูบาอาจารย์มาโปรดพวกเรานะ พระเณรมากมายคล้ายคลึงกับหลวงปู่มั่นมาจำพรรษาที่หนองน่องปีนั้นว่างั้น พระเณรมากมายคล้ายคลึงกันคอยดู พอครูบาอาจารย์องค์ไหนมาก็ไปดู เป็นไงใช่ไหม ไม่ใช่ๆ เรื่อยๆ เลย พอถึงวาระที่เราไป ออกไปดู ใช่ไหม บอกใช่เลยร้อยเปอร์เซ็นต์ นี้ละใช่แล้ว พูดให้เปิดเผยเสียว่าทั้งปวดหนักทั้งปวดเบามันอะไรพูดไม่ถูก ทั้งกลัวทั้งเคารพเลื่อมใสทุกอย่างอยู่ในนั้นหมด เรียกว่าทั้งปวดหนักปวดเบา ถามว่าองค์นี้ไหม ใช่องค์นี้แหละคอยดูว่าท่านจะสอนพวกเราไหม คอยดูก็แล้วกันท่านจะสอนไหม

บทเวลาไล่ลงภูเขาสอนหรือไม่สอน แน่ะ แกก็ได้ตรงนั้นละ ได้ตอนที่ไล่ลงภูเขา ไปได้สติละซิ ที่ไม่ยอมฟังเราเราก็ไล่ลงภูเขาไปเลยซิ เมื่อไม่มีทางไปว้าเหว่ เราหวังจะพึ่งครูบาอาจารย์องค์นี้แล้วท่านก็สลัดปัดทิ้งไล่ลงภูเขาเสีย เราจะไปพึ่งใคร แล้วการไล่ท่านนั้นเพราะเหตุไร นั่นแกก็จับเอาตรงนั้น ก็เพราะไม่ฟังคำท่าน เอ้า ถ้าอย่างนั้นก็ฟังคำท่านซิ เราก็เอากันมาเสียพอแล้วก็ไม่เห็นได้เรื่องได้ราวอะไร ก็ฟังท่านซิ นั่นละพอฟังแล้วลง แล้วก็ลงผึงเลย ได้สี่วันแกก็ขึ้นไปเราไม่ลืมนะ ขึ้นไปขนาบอีก จากนั้นก็ต่อให้ละที่นี่ต่อให้เรื่อย

แกรวดเร็วอยู่นะ ออกทางด้านปัญญานี้ก็หมุนติ้วเหมือนกัน ๙๓ จำหนองผือ ๙๔ จำห้วยทราย ๙๕ จำห้วยทราย ๒ ปีนี้แกก็ผ่านปี ๙๕

 

ใน ปี พ.ศ. 2534 ขณะนั้นคุณแม่ชีแก้วมีอายุได้ 90 ปี ด้วยธาตุขันธ์ในวัยชราและอาการป่วยที่รุมเร้า ท่านป่วยหนักในช่วง 3 ปีสุดท้าย และในที่สุดคุณแม่ชีแก้วก็จากไปด้วยอาการสงบ ในวันที่ 18 มิถุนายน 2534 เวลา 09.25 น. ที่สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร สิริรวมอายุได้ 90 ปี 54 ปีในเพศแม่ชี นับเป็นความสูญเสียบุคคลสำคัญของผู้ปฏิบัติธรรมในฝ่ายสาวิกาอย่างน่าเสียดายยิ่ง

 

ไญยิกา สำนักข่าวทีนิวส์ เรียบเรียง