ต้องอ่าน!! วิธีง่าย ๆ ไม่เสียสุขภาพ กับสวดมนต์ข้ามปี แบบถูกวิธี แถมยังได้บุญ

การสวดมนต์ข้ามปีในค่ำคืนวันสิ้นปีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ถือเป็นการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ เป็นมงคลให้กับชีวิต และการสวดมนต์ยังให้คุณประโยชน์ต่อจิตใจและสุขภาพด้ว

  การสวดมนต์ข้ามปีในค่ำคืนวันสิ้นปีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ๆ ถือเป็นการเริ่มต้นสิ่งดี ๆ เป็นมงคลให้กับชีวิต และการสวดมนต์ยังให้คุณประโยชน์ต่อจิตใจและสุขภาพด้วย

          อย่างไรก็ตาม คนที่จะเข้าร่วมสวดมนต์ข้ามปีก็ต้องระมัดระวังในการนั่งเป็นเวลานาน ๆ ที่อาจจะทำให้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า จนกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน ทางกรมการแพทย์ และกรมอนามัย จึงมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกัน

 



ก่อนสวดมนต์

          - ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ผักผลไม้ และไม่ควรทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย เลี่ยงอาหารไขมันสูง เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

          - ไม่ควรทานผักสดอย่าง กะหล่ำปลี บรอกโคลี หอมใหญ่ กระเทียมดิบ เนื่องจากจะทำให้ท้องอืด ควรบริโภคผักต้มสุก

          - เลือกทานผลไม้ที่ย่อยง่าย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ

          - ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

          - หลังจากอาหารมื้อเย็นแล้วไม่ควรบริโภคอาหารอื่นมากเกินไป แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ หรือน้ำผลไม้ เพราะการกินอาหารมากเกินไปเมื่อนั่งสวดมนต์นาน ๆ ส่งผลทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาจเป็นอุปสรรคต่อการสวดมนต์ได้ในเวลาที่ยาวนานได้

          - ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการสวดมนต์ เพื่อเป็นการฟิตร่างกายทำให้สวดมนต์ได้ยาวนานขึ้น ด้วยการยกแขนขึ้นลง พับแขนเข้าออก เอียงตัวไปทางซ้าย ขวา กำมือ แบมือ ซึ่งทุกกลุ่มวัยสามารถทำได้ทั้งในลักษณะการยืนและนั่ง


 

ขณะสวดมนต์

          - ควรหลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน แต่ให้สลับท่านั่งระหว่างการนั่งพับเพียบกับการนั่งขัดสมาธิ

          - ควรยกลำตัวหรือกระบังลมขึ้นเป็นช่วง ๆ ช่วงละ10 นาที และคลายกล้ามเนื้อลงประมาณ 1 นาที ทำสลับกันอย่างนี้ไปตลอดขณะทำการสวดมนต์ จะทำให้กล้ามเนื้อลำตัวแข็งแรงขึ้น เป็นการลดการกดน้ำหนักเฉพาะจุดและต้านทานแรงดึงดูดของโลก

          - ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า ไม่ควรนั่งกับพื้นนาน ๆ เพราะจะมีอาการปวดเข่า ควรนั่งบนเก้าอี้แทนจะทำให้สามารถสวดมนต์ได้ยาวนานขึ้น

          - หากมีเวลาพักในช่วงสวดมนต์ควรเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการเดิน หรือการบริหาร ยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบค้างนิ่งไว้ประมาณ 10-30 วินาที แต่ละท่าทำอย่างน้อย 4 ครั้ง และเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ยืดจนถึงจุดที่รู้สึกตึงแต่ไม่ใช่เจ็บ แล้วนิ่งค้างไว้ในท่านั้น ระหว่างการยืดเหยียดให้หายใจเข้า-ออกตามปกติอย่ากลั้นหายใจ

          - หลังจากการสวดมนต์เสร็จสิ้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพเนื่องจากนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน


 
ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อแก้เมื่อย ระหว่างสวดมนต์

          - การยืดเหยียดคอ โดยให้เอียงศีรษะไปทางขวาลู่ไหล่ลงทั้ง 2 ข้าง ใช้มือขวาวางบนศีรษะด้านซ้ายแล้วดึงศีรษะเบา ๆ ไปทางไหล่ขวา ค้างไว้ 10-30 วินาที สลับข้างและทำซ้ำแบบเดียวกัน

          - การยืดเหยียดน่อง โดยยืนห่างจากฝาผนัง 2-3 ฟุต แล้วก้าวเท้าซ้ายเข้าใกล้ผนัง ให้เท้าทั้งสองข้างตั้งฉากกับฝาผนัง งอเข่าซ้าย เข่าไม่ควรเลยปลายเท้า แขนทั้งสองข้างแนบฝาผนัง ขาขวาตึงและส้นเท้าแนบพื้น ค้างไว้ 10-30 วินาที สลับข้างและทำซ้ำแบบเดียวกัน พยายามให้เท้าทั้งสองข้างขนานกันและตั้งฉากกับฝาผนัง ส้นเท้าหลังแนบพื้นและเข่าหลังสามารถงอได้เล็กน้อยระหว่างการยืดเหยียด