"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม : www.tnews.co.th

กลายเป็นประเด็นทางการเมืองที่ถูกนำมาโยงกับช่วงเวลาที่น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี   ต้องเผชิญกับชะตากรรมในเรื่องของคดีทุจริตรับจำนำข้าวและการใช้คำสั่งทางปกครองเพื่อบังคับให้ชดใช้ความเสียหายพอดิบพอดี สำหรับการออกมาติติงการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง  แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์เห็นว่าเป็นการก้าวล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

 

"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

โดยก่อนหน้านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กมีใจความว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์การติดตามน.ส.ยิ่งลักษณ์ในระหว่างที่พาครอบครัวไปท่องเที่ยวปีใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ  จากนั้นยังโพสต์ซ้ำอีกครั้งในวันที่  4  ม.ค.  บอกเล่าความเดือดร้อนจากการถูกติดตามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าไม่ใช่การดูแลความปลอดภัยเหมือนที่มีการกล่าวอ้าง ถึงขั้นลงรายละเอียดว่ามีการติดตามทุกฝีก้าวจนรู้สึกความเป็นส่วนตัว  และสร้างความตระหนกใจให้กับผู้พบเห็นโดยทั่วไป่

"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

 

ประเด็นสำคัญคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์เลือกที่จะตอบโต้ทั้งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี  และ รมว.กลาโหม  ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เป็นไปเพื่อป้องกันและดูแลความปลอดภัย    น.ส.ยิ่งลักษณ์ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี  เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น คนที่เดือดร้อนก็คือรัฐบาล  และไม่รู้ว่าจะมีเหตุมือที่สามฉวยโอกาสในช่วงนี้หรือไม่  แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีเจตนาไปจ้องว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์จะทำอะไร ที่ไหน  เพียงแต่เจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้ต้องตามไปเพื่อดูแลความปลอดภัยทุกพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เหตุอันตรายเท่านั้น

 

ซึ่งแนวทางการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประวิตร  ก็สอดคล้องกับคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา   นายกรัฐมนตรี  ว่า การจัดส่งหน่วยงานความมั่นคงไปดูแลความปลอดภัยให้กับนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นเรื่องของผู้รับผิดชอบ  แต่ได้สั่งการไปแล้วว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องไปถ่ายรูปอะไรมากมาย  เพราะอาจจะถูกมองว่าไม่มีความเป็นส่วนตัวได้  ซึ่งต้องขออภัยน.ส.ยิ่งลักษณ์ด้วยหากทำให้รู้สึกไม่ดี   แต่ถึงอย่างไรในทางปฏิบัติก็ต้องมีคนไปคอยดูแล เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมาอาจจะมาโทษรัฐบาลได้ว่าไม่ดูแลเรื่องความปลอดภัย

 

อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นประเด็นนี้ย้อนหลังกลับไป  พบว่าโดยข้อเท็จจริงทางฝ่ายความมั่นคงได้ปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอด  และหลายครั้งน.ส.ยิ่งลักษณ์หรือแม้แต่สมาชิกพรรคเพื่อไทยมักจะหยิบมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์  โจมตีรัฐบาลคสช.เป็นระยะๆ 

 

อาทิ   เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์  2558  พล.อ. ประวิตร ได้กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงกรณีมีสมาชิกพรรคเพื่อไทยออกมาตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่ทหารของกองทัพภาคที่ 3  ในการเข้าตรวจค้นรถยนต์ของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ขณะเดินทางไปทำกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ว่า  ทาง คสช. ไม่ได้มีการสั่งการ แต่เป็นการดำเนินการดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตามปกติ เมื่อมีบุคคลสำคัญเดินทางเข้าไปในพื้นที่ เพื่อป้องกันการก่อกวนจากมือที่ 3 พร้อมยืนยันไม่มีการสั่งให้ติดตามประกบเพื่อป้องกันว่าอดีตนายกรัฐมนตรีจะหลบหนีออกนอกประเทศ เพราะเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีมีความเป็นผู้ใหญ่มากพอที่จะต่อสู้คดีความ 

 

ต่อมาเมื่อวันที่  29 ก.พ. 2559  เป็นทางด้าน   นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย   ที่ให้สัมภาษณ์ในเชิงโจมตีเจ้าหน้าที่ทหาร  โดยการระบุว่ารัฐบาลคสช.มีการส่งคนไปถ่ายรูป น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  ที่บ้านพักซอยปิ่นประภาคม   ทำให้พล.อ.ประวิตรต้องออกมาชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้น   ว่า   เป็นเพียงส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลรักษาความปลอดภัยเท่านั้น เพราะหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น  อีกฝ่ายก็จะออกมากล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทหารไม่ดูแล  ส่วนตัวจึงอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ใจเย็น ๆ อย่าวิตกในเรื่องอย่างนี้  และยืนยันอีกครั้งว่าเป็นการปฏิบัติไปตามหน้าที่เท่านั้น

 

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการปฏิบัติต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นกระบวนการที่มีการดำเนินมาโดยตลอด  ซึ่งน.ส.ยิ่งลักษณ์และสมาชิกพรรคเพื่อไทยก็รู้ว่าเป็นขั้นตอนปรกติ   โดยเฉพาะกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่อนุญาตให้  พ.ต.อ.วทัญญู   วิทยผโลทัย  หรือ  สารวัตรหนุ่ย  เป็นนายตำรวจอารักขาน.ส.ยิ่งลักษณ์  ในช่วงพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษ

 

"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

โดยเฉพาะในช่วงที่มีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ทหารตรวจค้นรถตู้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ก็ปรากฏภาพว่า พ.ต.อ.วทัญญู  หรือ  สารวัตรหนุ่ยนั่งอยู่ในรถคันดังกล่าวด้วย  และเมื่อนำประเด็นดังกล่าวมาสอบถามกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ    จึงทราบรายละเอียดว่า  มีการยื่นเรื่องขอให้  พ.ต.อ.วทัญญู   ผู้ช่วยนายเวร (สบ 4)  ของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ  ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรองผบ.ตร.  ไปทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย น.ส.ยิ่งลักษณ์  อดีตนายกรัฐมนตรีต่อไป

"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

จากคำสั่งเดิมที่มีการขอตัวมาเป็นระยะ ๆ โดยทางสำนักนายกรัฐมนตรี   และในช่วงที่พล.ต.อ.สมยศ   พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง  เป็นผบ.ตร.ก็มีการเซ็นอนุมัติให้ พ.ต.อ.วทัญญู  อยู่ปฏิบัติหน้าที่อารักขาน.ส.ยิ่งลักษณ์  ซึ่งแม้จะอยู่ในสถานะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี   ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมที่เคยมีการอนุมัติไว้ในช่วงตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค. 2557 - 24 ส.ค. 2558 

 

หมายความว่าที่ผ่านมาโดยกลไกของฝ่ายความมั่นคงทุกยุคสมัย   ต่างก็ให้ความสำคัญกับการดูแลอารักขาบุคคลสำคัญของประเทศเช่นเดียวกันทุกคน

 

โดยกรณีนี้พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ  โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น  ได้ชี้แจงถึงการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ   มีหนังสืออนุญาตให้ พ.ต.อ.วทัญญู ไปปฏิบัติหน้าที่ให้ความคุ้มครองดูแล ติดตามอดีตนายกฯ เนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ ได้มีหนังสือขอผ่านทางกองบังคับการตำรวจสันติบาล 3  ให้ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย โดยให้เหตุผลว่าเป็นบุคคลสำคัญ ถึงแม้ว่าเมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็สามารถจะขอเจ้าหน้าที่ไปดูแลรักษาความปลอดภัยได้

 

ที่สำคัญ  พ.ต.อ.วทัญญู  ไม่ได้มีภารกิจเพียงการทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์เท่านั้น  กับยุคสมัยนายทักษิณ  ชินวัตร   ทางด้านพ.ต.อ.วทัญญูก็ทำหน้าที่นี้มาโดยตลอด 

 

ทั้งนี้ พ.ต.อ.วทัญญู  เริ่มชีวิตในแวดวงสีกากีจากนักเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 49  ก่อนบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรกในกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และทำให้ได้มีโอกาสรู้จักมักคุ้นกับ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งในกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน

 

กระทั่งเมื่อ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ได้โยกมาเป็น รองผบก.ส.3 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลงานอารักขาบุคคลสำคัญ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมอารักขา  นาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตอนนั้น พ.ต.อ.วทัญญู ก็ถูกเรียกตัวเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมอารักขา

 

"ยิ่งลักษณ์" โอดถูกตร.ติดตาม ถามจริงที่ผ่านมา "สารวัตรหนุ่ย" ไม่ใช่ตร.หรอกเหรอ?? (รายละเอียด)

แต่ภายหลังเกิดรัฐประหาร ปี 2551 พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผบ.ตร.ในขณะนั้น ได้เซ็นคำสั่งโยกย้ายให้พ.ต.อ.วทัญญู ไปเป็น สว.สป.สภ.กรงปินัง จ.ยะลา แต่ปรากฏว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร.ในขณะนั้นได้มีคำสั่งขอตัวให้ พ.ต.อ.วทัญญู มาช่วยราชการในสำนักงาน รองผบ.ตร. และทันทีที่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง พ.ต.อ.วทัญญูได้กลับเข้ามานั่งใน บก.น.7  ทำหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัย "บ้านจันทร์ส่องหล้า"

 

และต่อมาเมื่อ  พ.ศ.2555   หรือในยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์    ทางด้าน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ผบ.ตร.ในขณะนั้นได้เซ็นคำสั่งแต่งตั้งนอกวาระให้ พ.ต.อ.วทัญญู ขยับขึ้นเป็น รองผกก.ในตำแหน่ง ผู้ช่วยนายเวร (สบ.3) พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผบ.ตร. ซึ่งการแต่งตั้งครั้งนั้นเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เพราะเหลือระยะเวลาเพียงอีกแค่เดือนเศษก็จะถึงวาระการแต่งตั้งประจำปีแล้ว  ที่สำคัญถึงแม้  พ.ต.อ.วทัญญ  จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยนายเวร พล.ต.อ.พงศพัศ แต่ปรากฏว่ายังคงทำหน้าที่เป็นทีมอารักขา น.ส.ยิ่งลักษณ์ เหมือนเดิม

 

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556 พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.ในขณะนั้น ได้เซ็นคำสั่งแต่งตั้ง พ.ต.อ.วทัญญู อีกครั้ง เป็นถึงระดับผู้กำกับการ ในตำแหน่งผู้ช่วยนายเวร (สบ.4) ผบ.ตร. โดยใช้วิธียกเว้นกฎ ก.ตร. เฉพาะรายเนื่องจากอยู่ในตำแหน่งรองผกก.ไม่ครบ 2 ปี จึงยกเว้นหลักเกณฑ์

มาถึงประเด็นสำคัญก็คือ  น.ส.ยิ่งลักษณ์ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ฝ่ายความมั่นคงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดหรือไม่  คำตอบก็คือเป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ใช่เฉพาะกับในสถานะอดีตนายกรัฐมนตรี  และในฐานะที่น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นนักการเมืองที่เป็นจิ๊กซอร์สำคัญของชนวนขัดแย้งทางการเมืองเมื่อช่วงปลายปี  2556  ต่อเนื่องจากต้นปี  2557 และนำไปสู่การรัฐประหารโดยคสช. ซึ่งย่อมมีเหตุและปัจจัยสุ่มเสี่ยงเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้

 

ยิ่งยวดกว่านั้น   เมื่อปลายปี  2559  ที่ผ่านมา   นายชีพ จุลมนต์ รองประธานศาลฎีกา   เจ้าของสำนวนคดีจำนำข้าว พร้อมองค์คณะรวม 9 คน  ได้ไต่สวนพยานคดีหมายเลขดำ อม.22/2558 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อายุ 49 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่

 

หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีละเลยไม่ดำเนินการระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว ทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท  และกำชับให้ทนายจำเลยบริหารจัดการพยานเพื่อนำมาเบิกความต่อศาลให้แล้วเสร็จตามกำหนดภายในวันที่ 21 ก.ค. 2560   หรือเท่ากับว่าในช่วงกลางปี  2560  คดีดังกล่าวจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้ว   ที่ผ่านมาศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศ

 

รวมถึงถ้าย้อนกลับไปเมื่อวันที่  5  ส.ค. 2551  ที่นายทักษิณใช้วิธีการอ้างว่ามีความจำเป็นต้องเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน   ในฐานะเป็นประธานในพิธีกิตติมศักดิ์แห่งประเทศไทย เพื่อร่วมเปิดพิธีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก่อนจะหลบหนีคดีอาญาต่าง ๆ ของระบบยุติธรรมไปเป็นการถาวร   ก็ยิ่งต้องใคร่ครวญกับมุมมองของรัฐบาลและคสช.เช่นกันว่า  มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จะต้องดูแล อารักขาความปลอดภัยให้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์  จนเจ้าตัวต้องออกมาแสดงอารมณ์หงุดหงิดผ่านโลกโซเชียล

 

เรียบเรียงโดย : วัสดา สำนักข่าวทีนิวส์