ชัดเจนพอมั๊ย..ภัยทุนนิยมสามานย์!!!"เวเนซุเอลา"เคยร่ำรวยสุดๆจากราคาน้ำมันพุ่ง วันนี้ปท.วิกฤตใกล้หายนะเต็มทนเพราะผู้คนอดอยาก+หนี้ท่วม??

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

ถือเป็นประเทศร่ำรวยสุดๆของโลกเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่วันนี้ใกล้ล้มละลายไปทุกขณะ  สำหรับ   “ เวเนซุเอลา”   ภายหลังถูกพิษเศรษฐกิจหลังราคาน้ำมันตกต่ำ  รวมทั้งยังเกิดภาวะเงินเฟ้อ  และวิกฤตการณ์ไร้เสถียรภาพทางการเมือง   จนส่งผลกระทบทำให้เกิดสภาพคนว่างงานเป็นจำนวนมาก   ขณะที่ราคาสินค้าทุกอย่างก็พุ่งพรวดจนประชาชนแทบไม่มีเงินจะซื้อหาอาหารประทังชีวิต

 

ทั้งนี้วิกฤตการณ์ของเวเนซุเอลาเริ่มส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2546  เมื่อรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้าย เงินตราต่างประเทศ เพื่อจัดการกับปัญหาการ ไหลออกของเงินทุน ต่อด้วยการประกาศลดค่าเงิน "โบลิวาร์" อยู่หลายครั้ง  พร้อมนำระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราในเวลาเดียวกันเข้ามาใช้เพื่อพยุงสถานการณ์ (Multiple Exchange Rates)  เพื่อต้องการจะให้การอุดหนุนภาคการผลิต หรือกิจกรรมบางประเภทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่กลายเป็นการสร้างปัญหามากยิ่งขึ้น

 

         

หนำซ้ำพอนานเข้าดูเหมือนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะลุกลามหนักจนยากแก้ไข  เพราะเวเนซุเอลาต้องเจอภาวะ "เงินเฟ้อ" กับวิกฤตขาดแคลนเงินตราต่างประเทศอย่างรุนแรงซ้ำในเวลาไล่เรี่ยกัน  เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง  ส่งผลกระทบต่อรายได้ประเทศอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากรายได้ของเวเนซุเอลามาจากการส่งออกน้ำมันดิบคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง  96% ของมูลค่าส่งออกทั้งประเทศ

        

กระทั่งเวเนซุเอลากลายเป็นประเทศที่มีภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกติดต่อกัน 3 ปี นับจากปี 2557   ตัวเลขเงินเฟ้ออยู่ที่ 141% เพิ่มเป็น 150% ในปี 2558 และปี 2559 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 475% จนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี  2560  อาจจะพุ่งพรวดแตะ 1,600%  ก็เป็นได้  … 

 

ขณะที่ในเพจเพซบุ๊ก “วรวรรณ  ธาราภูมิ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บัวหลวงจัดการกองทุนฯ ได้โพสต์สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศเวเนซุเอลา  ว่า   “เธอไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร .. เวเนซุเอลา”

 

“  ....  อัตราเงินเฟ้อของเวเนซุเอลาในปีที่แล้วพุ่งสูงขึ้นเกือบ 500% ทำให้ค่าเงินลดลง ขณะที่เศรษฐกิจถดถอยมา 3 ปีต่อเนื่อง ผู้คนในประเทศขาดแคลนอาหาร ยา และสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน อย่างรุนแรง ... ไม่มีอาหารขายในตลาดและร้านค้า ... เกิดการจลาจลปล้นชิงฆ่ากันไม่เว้นวัน  การขาดอาหารเนี่ยะ มันจะทำให้ฆ่ากันตายเพื่อแย่งชิงได้เลยนะ

 

ชัดเจนพอมั๊ย..ภัยทุนนิยมสามานย์!!!"เวเนซุเอลา"เคยร่ำรวยสุดๆจากราคาน้ำมันพุ่ง วันนี้ปท.วิกฤตใกล้หายนะเต็มทนเพราะผู้คนอดอยาก+หนี้ท่วม??

 

ส่วนปีนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงถึงระดับ 1,600% ...  ดังนั้นไม่ต้องไปคิดถึงผลของมันแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้ !!!

เพราะแม้ Nicolás Maduro Moros ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ติดต่อกันหลายครั้งในอัตราสูงมากเพื่อพยุงกำลังซื้อของประชาชน โดยขึ้นมา 5 ครั้งแล้วตั้งเเต่เดือน ก.พ.ปี 2559 และล่าสุดประกาศขึ้นอีก 50% เป็นการให้ของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน ... แต่มันจะพอกับอัตราเงินเฟ้อขนาดนั้นได้ยังไง

 

Nicolas Maduro Moros    ผู้เป็นประธานาธิบดีเวเนซุเอลามาตั้งแต่ปี 2013 กล่าวว่า เป็นผลจากการพยายามโค่นล้มอำนาจของเขาจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าเกิดจากความผิดพลาดในการบริหารงานของเขาเอง เเละเป็นผลจากนโยบายฝ่ายซ้าย (สังคมนิยม+ประชานิยม) ที่ล้มเหลวมาตลอด 18 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี  ฮิวโก  ชาเวซ

 

นักเศรษฐศาสตร์ กับนักรัฐศาสตร์เก่งๆ บ้านเรา น่าจะศึกษากรณีนี้ให้ลงลึกกว่าที่เคยเป็น อย่างปราศจากอคติ ว่าที่จริงแล้วการที่ เวเนซุเอลา กลายเป็น Failed State นั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่ และมีทางแก้ไขหรือไม่ อย่างไร ??? ”

 

ชัดเจนพอมั๊ย..ภัยทุนนิยมสามานย์!!!"เวเนซุเอลา"เคยร่ำรวยสุดๆจากราคาน้ำมันพุ่ง วันนี้ปท.วิกฤตใกล้หายนะเต็มทนเพราะผู้คนอดอยาก+หนี้ท่วม??

 

ชัดเจนพอมั๊ย..ภัยทุนนิยมสามานย์!!!"เวเนซุเอลา"เคยร่ำรวยสุดๆจากราคาน้ำมันพุ่ง วันนี้ปท.วิกฤตใกล้หายนะเต็มทนเพราะผู้คนอดอยาก+หนี้ท่วม??

 

ทางด้านรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  นักวิชาการอิสระด้านรัฐศาสตร์  - เศรษฐศาสตร์  ได้วิเคราะห์ภาพรวมวิกฤตของประเทศเวเนซุเอลา  ไว้ว่า ..

 

 

1. ความจริงแล้วเวเนซุเอลาก็เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ในละตินอเมริกา กล่าวคือ เป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องการมีหนี้ของภาครัฐ และเป็นประเทศซึ่งมีปัญหาขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาที่ทำให้เกิดหนี้สินส่วนสำคัญก็เช่นเดียวกันกับประเทศในละตินอเมริกาทั่วไป คือ นโยบายประชานิยม

 

อย่างไรก็ตาม เวเนซุเอลายังไม่เคยเจอกับวิกฤตขนาดหนักเท่ากับทุกวันนี้ ปัจจัยที่นำไปสู่เหตุการณ์นี้คือ ในปี 1998 นายฮูโก ชาเวซชนะการเลือกตั้งทั่วไปได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ความจริงนั้นนายฮูโก ชาเวซเคยทำรัฐประหารในปี 1992 แต่ไม่สำเร็จ นายฮูโก ชาเวซนั้นได้วางนโยบายประชานิยมในการหาเสียงคือ การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งนายฮูโก ชาเวซเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าเป็น “การปฏิวัติแบบBoriva” นายโบลิวาเป็นนักการเมืองเมื่อศตวรรษที่แล้วที่เป็นที่เคารพในละตินอเมริกามาก เพราะเน้นชาตินิยม เน้นการปลดแอกจากจักรวรรดินิยมอเมริกา เนื้อหาสำคัญของการปฏิวัติแบบ Boriva ของนายฮูโก ชาเวซ คือ

 

1.1 เป็นการปฏิวัติสังคมนิยมซึ่งนำไปสู่การโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐ

 

1.2 ต่อต้านจักรวรรดินิยมตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา โดยมีการรวมกลุ่มประเทศฝ่ายซ้ายในอเมริกาประกอบด้วย ประเทศนิการากัว บราซิล โบลิเวีย อาร์เจนตินา และคิวบา เป็นต้น โดยนายฮูโก ชาเวซต้องการเป็นผู้นำในการต่อต้านอเมริกาซึ่งไม่ครอบคลุมแค่ในละตินอเมริกาแต่ขยายตัวสู่แอฟริกาและภูมิภาคอื่นด้วย

 

ผลจากการดำเนินนโยบายทั้ง 2 ประการทำให้เวเนซุเอลาต้องใช้เงินมหาศาล อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ราคาน้ำมันขึ้นสูง รายได้ของเวเนซุเอลาจึงมีมาก เพราะรายได้จากน้ำมันเท่ากับรายได้ 50% ของเวเนซุเอลา รายได้การส่งออกน้ำมันเท่ากับ 95% ของการส่งออกทั้งหมดดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันพุ่งกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เวเนซุเอลาจึงยิ่งใหญ่ ภายในประเทศคนก็นับถือนายฮูโก ชาเวซราวกับพระเจ้า ภายนอกประเทศก็มีฐานะเป็นผู้นำละตินอเมริกาในการต่อต้านสหรัฐอเมริกา

 

อย่างไรก็ตามเมื่อราคาน้ำมันลดลงอย่างมหาศาล รายได้หดหายไป เงินสำรองก็หายจนไม่พอใช้หนี้ ??

 

 

 

 

เรียบเรียง  :  ชัชรินทร์   สำนักข่าวทีนิวส์