ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th


สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระบรมราชโองการ สถาปนา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 18.00 น. และภายหลังเสร็จพระราชพิธีจะเสด็จกลับวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยพระนามสมเด็จพระสังฆราชที่จารึกในพระสุพรรณบัฏคือ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารยอัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมภูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฎ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”
 

 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

พร้อมกันนี้เฟซบุ๊ก ราชบัณฑิตยสภา ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ คพกริยาราชาศัพท์ที่ใช่แก่สมเด็จพระสังฆราช มีตัวอย่างเพื่อใช้ขานพระนามให้ถูกต้องดังนี้ 
 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

อนึ่งสมเด็จพระสังฆราช มีนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2483 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม และได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

 

ข้อควรทราบ!! ราชบัณฑิตยสภา เผยแพร่ คำกริยาราชาศัพท์ที่ใช้แก่ "สมเด็จพระสังฆราช" ที่ถูกต้อง!!

 

สำหรับการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ขณะจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา ถึงปี พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2488 

เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก ภายหลังอุปสมบท ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค

หลังเป็นเปรียญ 5 ประโยค ท่านได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี

ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์

ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
 

ขอบคุณข้อมูลจาก ราชบัณฑิตยสภา,วิกิพีเดีย 

เรียบเรียง รัตติยา