ครั้งนี้ต้องเคลียร์คัท!!!จับตาบทสรุปคดีปล่อยกู้กรุงไทยDSIจะเอาไงกับ"โอ๊ค พานทองแท้"+เครือข่ายระบอบทักษิณคตส.เคยชี้ชัดผิดฟอกเงิน-รับของโจร??

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/

กลับมาประเด็นร้อนที่ต้องจับตาทันทีเมื่อ พ.ต.ท.บัณฑูร ฉิมกรา ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)  เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจสอบคดีการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร  ซึ่งก่อนหน้าศาลฎีกาฯได้มีคำพิพากษาให้จำเลยกลุ่มหนึ่งต้องโทษทั้งจำคุกและปรับเงินชดใช้ความเสียหายมูลค่านับหมื่นล้านบาท

 

 

ครั้งนี้ต้องเคลียร์คัท!!!จับตาบทสรุปคดีปล่อยกู้กรุงไทยDSIจะเอาไงกับ"โอ๊ค พานทองแท้"+เครือข่ายระบอบทักษิณคตส.เคยชี้ชัดผิดฟอกเงิน-รับของโจร??

( คลิกอ่านข่าวเกี่ยวข้อง ที่สุดมหากาพย์ ..บาปกรรมระบอบทักษิณ!! ปปง.สั่งอายัดทรัพย์ "สุชาย - วิโรจน์ "อดีตผู้บริหารกรุงไทยทำผิดปล่อยกู้ KMC รอสอบโยงทำเสียหายภาครัฐ ??

 

 


โดยทางด้านพนักงานสอบสวนจะมีการประชุมร่วมกับ พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ และอัยการ เพื่อพิจารณาพยานหลักฐานทั้งหมดมีน้ำหนักเพียงพอและมีความเห็นควรสั่งฟ้องใครบ้างเป็นการเพิ่มเติม หรือจะมีความเห็นให้ไปตรวจสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในส่วนอื่นอีกหรือไม่  เนื่องจากยังมีผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวนหนึ่งซึ่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่ฟ้อง ด้วยสถานะไม่เกี่ยวข้องตามสำนวนคำฟ้องของคตส.ก่อนหน้า และเสนอให้ดีเอสไอนำสำนวนกลับไปสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อหาผู้กระทำผิด  ภายหลังจากที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนได้ออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบปากคำเพิ่มเติมไว้แล้ว

 

 

ครั้งนี้ต้องเคลียร์คัท!!!จับตาบทสรุปคดีปล่อยกู้กรุงไทยDSIจะเอาไงกับ"โอ๊ค พานทองแท้"+เครือข่ายระบอบทักษิณคตส.เคยชี้ชัดผิดฟอกเงิน-รับของโจร??

( คลิกอ่านข่าวเกี่ยวข้อง มโหระทึกอีกแล้ว !!! ดีเอสไอจ่อสรุปชี้มูล “ฟอกเงิน” ธ.กรุงไทยปล่อยกู้กฤษดาฯ ลุ้นเลยจะโยงผิด “โอ๊ค-พานทองแท้+เครือข่ายระบอบทักษิณ"หรือไม่??

 

 

ขณะที่จากการตรวจสอบย้อนกลับไปพบว่าคดีดังกล่าว  เคยมีชื่อ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี , นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร , นายวันชัย หงษ์เหิน สามีนางกาญจนาภา และนายมานพ ทิวารี บิดา น.ต.ศิธา ทิวารี อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นผู้ถูกกล่าวหาร่วมอยู่ในสำนวนคำฟ้องของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ  หรือ คตส.    

 

 

     
แต่ด้วยประเด็นทางข้อกฎหมายที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างโดยอัยการสูงสุดในขณะนั้น ทำให้นายพานทองแท้ และรายชื่อบุคคลดังกล่าวข้างต้นถูกตัดออกไปจากสำนวนคำฟ้อง แม้ว่าจะมีประจักษ์พยานบางส่วน อาจทำให้เชื่อได้ว่ามีเงินจำนวนหนึ่งถูกโอนผ่านนายพานทองแท้และพวก อันถือเป็นการร่วมการกระทำความผิดจากการทุจริตการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวก็ตาม

 

 

( คดีนี้  คตส.มีหนังสือลงวันที่  16  มิ.ย. 2551ขอให้อัยการสูงสุด ดำเนินคดีกับนายทักษิณ กับพวกรวม 27 คน ฐานร่วมกันหรือสนับสนุนในการกระทำความผิดอันเข้าข่ายเป็นพนักงานปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้น และประชาชน ผู้หนึ่งผู้ใด และ/หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเป็นกรรมการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของธนาคารกรุงไทย กระทำความผิดหน้าที่ของตนโดยกระทำการและ/หรือไม่กระทำการโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้น ประชาชน ผู้ฝากเงินและ/หรือให้ความช่วยเหลือให้ความสะดวกในการกระทำความผิด นอกจากนี้ยังขอให้ดำเนินคดีกับนายพานทองแท้ นางกาญจนาภา นายวันชัย และนายมานพ ในความผิดฐานรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357
 

 

ต่อมาอัยการสูงสุดในขณะนั้น (นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ) พิจารณาแล้ว เห็นว่าการที่ คตส. ให้ดำเนินคดีกับนายพานทองแท้ กับพวกรวม 4 คน ฐานรับของโจร ถือเป็นการกระทำความผิดหลังการกระทำความผิดของผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 27 คน ในคดีปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตได้กระทำเสร็จสิ้นไปแล้ว และนายพานทองแท้กับพวก มิได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงต้องแยกฟ้องต่อศาลอาญาที่มีเขตอาจต่อไป    

 

 

โดย อสส. เห็นว่า คตส. มีอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 และให้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แต่นายพานทองแท้กับพวก มิได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และมิได้เป็นตัวการ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำความผิด จึงไม่อาจเป็นผู้ถูกกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. ได้

 

 


     
รวมถึงคตส. ไม่มีอำนาจไต่สวนนายพานทองแท้กับพวก และไม่อาจมีความเห็นในความผิดฐานรับของโจร โดยหากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประสงค์จะดำเนินคดีกับนายพานทองแท้กับพวก ก็ควรที่จะต้องร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแยกต่างหากจากคดีนี้…” )
 


 
 

 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัยการสูงสุดจะมีความเห็นให้แยกสำนวนการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับนายพานทองแท้และพวก ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแยกจากคดีที่นายทักษิณ พร้อมผู้บริหารธนาคารกรุงไทย และ เครือบริษัทกฤษดามหานคร ถูกฟ้องดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  แต่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอในช่วงที่ผ่านๆ มา ก็ไม่ปรากฏมีการดำเนินการตามความเห็นของอัยการสูงสุดและรวมถึงความคืบหน้าทางคดีในลักษณะอื่น ๆ แต่อย่างใด ???

 

 

(แก้วสรร อติโพธิ  อดีตคตส.  : ประเด็นนี้ในที่ประชุม คตส. เคยมีมติให้ดำเนินคดีนายพานทองแท้ กับพวก ในข้อกล่าวหารับของโจร และฟอกเงิน ด้วย อย่างไรก็ดีเมื่อถึงขั้นตอนการส่งสำนวนคำร้องให้อัยการสูงสุด (อสส.)  , ดีเอสไอ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เพื่อดำเนินคดี ปรากฎว่าในฝ่าย อสส. เห็นว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นภายหลังการกระทำผิดของผู้บริหารธนาคารกรุงไทยที่ปล่อยกู้เครือกฤษดามหานครไปแล้ว จึงมีมติไม่ฟ้อง ส่วนความคืบหน้าในดีเอสไอและ ปปง. นั้นไม่ทราบเลย 

 

 

อย่างไรก็ตามกรณีของนายพานทองแท้กับพวกนั้น  สำหรับ คตส.ถือว่ามีหลักฐานครบ เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เส้นทางการเงินในคดีกรุงไทยปล่อยกู้เครือกฤษดามหานครนั้น มีเงินบางส่วนถูกโอนเข้าบัญชีของเครือข่ายบริวารตระกูลชินวัตร ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นการฟอกเงิน หรือสนับสนุนให้มีการฟอกเงิน  ซึ่งดีเอสไอ สามารถใช้สำนวนของ คตส. เพื่อดำเนินการได้เลย ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบเพิ่มเติมอะไรอีกมากนัก)

 

 

 

ขณะเดียวกันคดีความในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ถูกกล่าวหารายอื่น ๆ ยังคงคืบหน้ามาเป็นลำดับ จนเมื่อ วันที่ 26 ส.ค. 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษาลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับอนุมัติปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยให้กับเครือบริษัทกฤษดามหานคร และมีคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ บางส่วนระบุถึงหลักฐานเส้นทางการเงินที่เกี่ยวโยงกับกับนายพานทองแท้และพวก       
 
     

 

จึงทำให้คดีนี้มีความเคลื่อนไหวอีกครั้งเป็นข่าวใหญ่อีกครั้ง ภายหลังจากดีเอสไอตัดสินใจนำคำพิพากษามาศึกษารายละเอียด และนำไปสู่การเชิญนายพานทองแท้พร้อมพวก มาสอบถามถึงรายละเอียดเส้นทางการเงินกู้จากธนาคารกรุงไทย  สู่เครือบริษัทกฤษดามหานครตั้งแต่ปลายปี 2558 แต่พยานทั้งหมดก็มีการขอเลื่อนมาโดยตลอด    จนกระทั่งท้ายสุดนายพานทองแท้ยอมเข้าให้ข้อมูลกับพนักงานสอบสวนดีเอสไอ เมื่อวันที่  4มีนาคม  2559 และรวมถึงบุคคลที่มีรายชื่อทั้งหมด ท่ามกลางการจับตามองว่า  ถึงที่สุดแล้วดีเอสไอจะสรุปพยานหลักฐานเพื่อนำไปสู่การชี้มูลความผิดนายพานทองแท้และพวกตามที่คตส.เคยสรุปคดีไว้เมื่อปี 2551 หรือไม่ ??? 
 

 

 

ต่อมามีรายงานข่าวจากดีเอสไอออกมาเป็นระยะ ๆ ระบุความคืบหน้าแนวทางการสอบสวนคดีดังกล่าวว่า การสอบสวนมีความชัดเจนใกล้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะมีการนัดคณะพนักงานสอบสวนในคดีดังกล่าวทั้งหมดมาประชุม เพื่อที่จะพิจารณาสรุปรายชื่อบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้อีกครั้ง ก่อนจะส่งรายงานความเห็นให้อัยการสูงสุดว่าควรสั่งฟ้องใครบ้างตามรายละเอียดพยานหลักฐานในกรณีที่ดีเอสไอสามารถรวบรวมได้เพียงพอต่อการชี้มูลความผิดกับแต่ละบุคคลที่ปรากฎในสำนวนการสอบสวนของคตส.เดิม
 

 

 

โดยเฉพาะกับข้อเท็จจริงท้ายสุดจากการให้ถ้อยคำของ  นางเกศินี จิปิภพ มารดาของนางกาญจนาภา และนายวันชัย  สามีนางกาญจนาภา ซึ่งให้การยอมรับว่าได้รับเงินจากนายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารเครือกฤษดามหานครจริง ๆ ( พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ รองอธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยผลสอบปากคำนางเกศินีให้การยอมรับว่ามีเงินโอนเข้าบัญชีจริง พร้อมนำหลักฐานเอกสารการซื้อขายหุ้นบางส่วนมาประกอบการชี้แจง แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในการให้ปากคำได้เพราะจะกระทบกับรูปคดี) ???

 

 

 

 

เรียบเรียง : มนันยา สนข.ทีนิวส์