“แสวงหาเงินทอง ประพฤติวิปริตก็ร้าย ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายยิ่งกว่า” ย้อนคำสอนครั้น“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ถึงวันเผด็จศึก“พระธัมมชโย”

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

       จากกรณี คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕/๒๕๖๐ เรื่อง มาตรการให้อำนาจกำหนดพื้นที่ควบคุมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 15 ก.พ. 60ให้วัดพระธรรมกายตลอดจนพื้นที่รอบวัดพระธรรมกาย ในอำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี รวมถึงพื้นที่ หมู่ 7 หมู่ 8 หมู่ 9 หมู่ 10 หมู่ 11 หมู่ 12 และหมู่ 13 ในต.คลองสอง และพื้นที่หมู่ 7 หมู่ 8 และหมู่ 9 หมู่ 10 และหมู่ 11 ในต.คลองสาม อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งนี้ โดยเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ จะเข้าตรวจค้นโดยใช้กำลังทหารอย่างน้อย 15 กองร้อย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยควบคุมฝูงจาก บช.ภ.1 , 7 และ บช.น. อีกไม่น้อยกว่า 2 พันนาย ซึ่งเตรียมความพร้อมอยู่ที่ ตชด.ภาค1 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งปฏิบัติการครั้งนี้ก็เพื่อติดตามจับกุมพระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ผู้ต้องหาคดีร่วมกันยักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และอีกหลายคดีเกี่ยวกับการบุกรุกที่ป่า

 

“แสวงหาเงินทอง ประพฤติวิปริตก็ร้าย ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายยิ่งกว่า” ย้อนคำสอนครั้น“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ถึงวันเผด็จศึก“พระธัมมชโย”

       ทั้งนี้สำหรับพระธัมมชโย มีท่าทีที่นิ่งเฉยต่อการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยมีคำชี้แจงว่ากำลังอยู่ในอาการอาพาธ กระนั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์นอกจากต่อตัวพระธัมมชโย ที่มีหลักการสอนพระธรรมต่างๆนั้น ยังถูกตั้งข้อกังขาหลายประการว่านอกลู่นอกทางจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่  ซึ่งความน่ากังขานี้นอกจากพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่า ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ อย่างพระพรหมคุณาภรณ์ หรือ ประยุทธ์ ปยุตฺโต ซึ่งปัจจุบันได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    

       โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เขียนถึงกรณีพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกายไว้ในหนังสือ อันถือว่ามีคุณค่าและมากยิ่งด้วยความหมายของพุทธศาสนาในสังคมไทย และเนื้อหาในหนังสือเล่มดังกล่าว ก็มุ่งไปที่การบิดเบือนคำสอนและพระธรรมวินัย ผ่านหนังสือชื่อ กรณีธรรมกาย บทเรียนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา และสร้างสรรค์สังคมไทย โดยนำมาจากเหตุการณ์ช่วงปลาย พ.ศ. 2541 หลังมีเอกสารของวัดพระธรรมกายที่พยายามสร้างคำสอนและกิจกรรมของสำนักเผยแพร่ออกไปจำนวนมากมาย ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่จะก่อความเข้าใจผิดพลาดสับสนแก่ประชาชน ถึงขั้นทำให้ศาสนาสั่นคลอนได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ระบุว่า ไม่ว่าจะเกิดกรณีปัญหาเช่นนี้หรือไม่ก็ตาม การสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็มีความสำคัญในตัวมันเอง

“แสวงหาเงินทอง ประพฤติวิปริตก็ร้าย ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายยิ่งกว่า” ย้อนคำสอนครั้น“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ถึงวันเผด็จศึก“พระธัมมชโย”

       ประเด็นความสั่นคลอนของพระพุทธศาสนา ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เสื่อมถอยยิ่ง โดยเฉพาะปัจจุบันที่มีกรณีพระธัมมชโย ที่ข้อมูลถูกเปิดเผยออกมาเป็นจำนวนมาก ถึงความไม่ชอบมาพากล ทั้งในแง่พื้นที่วัด มูลนิธิ เรื่องเงินทอง นอกจากหลักคำสอนที่ถูกวิพากษืวิจารณ์ว่าบิดเบี้ยวแล้ว และนั่นเองที่ต้องยอมรับว่าความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนาและวัดพระธรรมกาย ในเนื้อหาบางส่วนในกรณีธรรมกายฯ ยิ่งตอกย้ำ จากท่าทีการนิ่งเฉยโดยไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของพระธัมมชโยนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายเกี่ยวกับการบิดเบือนคำสอนเมื่อ พ.ศ. 2541 ได้มีผู้เรียกร้องให้พระธัมมชโย (เจ้าอาวาสในขณะนั้น) ออกมาชี้แจง แต่เจ้าอาวาสกลับเลือกที่จะเงียบเฉย ก่อนที่ต่อมาพระที่วัดจะออกมาชี้แจงแต่ก็มีคำโต้แย้ง จากพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในขณะนั้น

“แสวงหาเงินทอง ประพฤติวิปริตก็ร้าย ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายยิ่งกว่า” ย้อนคำสอนครั้น“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ถึงวันเผด็จศึก“พระธัมมชโย”

       โดยตอบข้อสงสัยในปัญหาเรื่องวัดพระธรรมกาย 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์, การทำบุญ, สิ่งก่อสร้างใหญ่โต, การระดมทุน ยกตัวอย่าง เช่น การทำบุญ  เรื่องการทำบุญต้องเข้าใจกันให้ชัด บุญ คือ สิ่งที่ชำระล้างบาป ทุจริต ทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส และเฟื่องฟูเจริญงอกงามขึ้นในความดีงามที่สูงขึ้นไป ทาน คือ การให้ การบริจาค ที่ว่าเป็น บุญ นั้น ก็เพราะมันกำจัดความเห็นแก่ตัวของเรา…

     บุญไม่ใช่แค่ทานเท่านั้น ยังมีบุญอย่างอื่นอีกมากมาย เช่น ความเชื่อหรือศรัทธาที่มีเหตุผล ไม่หลงงมงาย ความมีใจเมตตา อยากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ การเอาใจใส่คิดจะปัดเป่าทุกข์ภัยแก่ผู้เดือดร้อนหรือยากไร้ ความมุ่งมั่นเพียรพยายามทำความดี ความมีสติที่จะดำเนินชีวิตโดยไม่ฟุ้งเฟ้อลุ่มหลงมัวเมา เป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาท การมีปัญญาและแสวงหาความรู้ที่จะทำชีวิตให้ดีงามและสร้างสรรค์ประโยชน์สุขที่แท้จริงในสังคม เป็นต้น

“แสวงหาเงินทอง ประพฤติวิปริตก็ร้าย ทำพระธรรมวินัยให้วิปริตร้ายยิ่งกว่า” ย้อนคำสอนครั้น“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ถึงวันเผด็จศึก“พระธัมมชโย”

 

 

 

 

เรียบเรียงโดย : ศิริพงศ์ สำนักข่าวทีนิวส์