"ในหลวงครองราชย์ พุทธทาสครองธรรม"!! ... การพบกันของ "สองรัตนบุรุษแห่งยุคสมัย" ที่กลายเป็นคนของโลก!!

รู้จริง...รู้แจ้ง...ทุกเรื่องราวแห่งปาฏิหาริย์ http://tnews.co.th

โดยปกติแล้ว คนทั่วไปมักจะระลึกถึงท่าน “พุทธทาสภิกขุ” ในฐานะของพระอริยเจ้าผู้มีปัญญาบารมีอันสูงส่ง  บางคนอาจจะคิดว่า ท่านเป็นพระนักเทศน์ พระนักเขียน  แท้จริงแล้ว ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่มีปฏิปทาธรรมอันแน่วแน่  แต่ท่านก็ไม่เคยเปิดเผยความแน่วแน่ด้านการปฏิบัติสมาธิเลย  สิ่งที่ท่านพร่ำสอนล้วนเป็นธรรมะที่เน้นไปในทางปัญญาทั้งสิ้น  มีเพียงลูกศิษย์คนสนิทไม่กี่คนเท่านั้นที่รู้ว่าท่านเป็นนักปฏิบัติ

ข้าพเจ้าเคยเห็นกระดาษโน้ตสั้นๆ ที่ท่านเขียนโครงหัวข้อและเนื้อหาสำหรับใช้ในการแสดงปาฐกถาธรรม  ปรากฏว่า ท่านเขียนเอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ มีหัวข้อใหญ่กับหัวข้อย่อยซ้อนกันถึง ๓-๔ ชั้น  แสดงให้เห็นถึงปัญญาอันแยบคายของท่าน  ธรรมะที่ท่านสอนจึงมีเนื้อหาลึกซึ้งจับใจ  ธรรมะข้อใดที่สั้น แต่ยาก ท่านก็ขยายความให้ยาวและเข้าใจง่าย  ธรรมะข้อใดที่ยาวและยาก ท่านก็ย่อให้สั้นและเข้าใจง่าย  นี่คือ “อริยปัญญา” ของพระอรหันต์แห่งยุคกึ่งพุทธกาลอย่างแท้จริง

 

"ในหลวงครองราชย์ พุทธทาสครองธรรม"!! ... การพบกันของ "สองรัตนบุรุษแห่งยุคสมัย" ที่กลายเป็นคนของโลก!!

ท่านพุทธทาสภิกขุ

เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๘  ท่านพุทธทาสได้บัญญัติคำศัพท์ภาษาธรรมขึ้นมาใหม่คำหนึ่ง คือคำว่า “จิตว่าง”  ด้วยเหตุแห่งคำว่า “จิตว่าง” นี้เองที่กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมยุคนั้น และเป็นที่มาของวิวาทะ (ทางปัญญา) เรื่อง “จิตว่าง” ระหว่าง “ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช” กับ “ท่านพุทธทาส”  เพราะคำว่า “จิตว่าง” นี้ ในความหมายของท่านพุทธทาสถือว่ามีความหมายลึกซึ้งกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจกัน  คนทั่วไปจึงมักจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “จิตว่าง” ในภาษาธรรมของท่านพุทธทาส

และคำว่า “จิตว่าง” นี้เองที่เป็นสิ่งยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามศึกษาธรรมะของท่านพุทธทาสมาตลอด  ผู้ที่เปิดเผยเรื่องนี้ก็คือ ท่านประธานองคมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดกับท่านพุทธทาส ทั้งยังเป็นข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมากที่สุดคนหนึ่ง

ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้เคยเล่าไว้ในปาฐกถาธรรมเรื่อง “ชีวิตกับการงาน” ว่า  ในหลวงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเรื่อง “จิตว่าง” กับท่านหลายครั้งหลายหน  เมื่อครั้งที่มีพระราชกรณียกิจที่ยุ่งยากพระทัย พระองค์ท่านจะตรัสว่า “กลุ้มใจเหลือเกิน คิดอะไรไม่ออก”  แต่เมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะทรงงาน พระองค์จะตรัสว่า “ตอนนี้จิตว่างเสียที”

ท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ เล่าต่อไปว่า  คำว่า “จิตว่าง” ที่ในหลวงตรัสนี้ เป็นศัพท์ใหม่ที่ท่านพุทธทาสบัญญัติขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว และมีนัยตรงกับความหมายของคำว่า “จิตว่าง” ในภาษาธรรมของท่านพุทธทาสทุกประการ

 

"ในหลวงครองราชย์ พุทธทาสครองธรรม"!! ... การพบกันของ "สองรัตนบุรุษแห่งยุคสมัย" ที่กลายเป็นคนของโลก!!

พระธรรมเทศนาเรื่อง “ธัมมวิจักขณกถา: ธรรมที่ควรพึงเห็นโดยประจักษ์” ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ รับพระราชทานถวายวิสัชนาโดย “พระราชชัยกวี” (พุทธทาส อินทปัญโญ) การรับพระราชทานถวายพระธรรมเทศนาของท่านพุทธทาสในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในการพบกันระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับท่านพุทธทาส  หลังจากนั้น ต่างฝ่ายต่างก็ปฏิบัติหน้าที่ของตนจนไม่มีโอกาสได้พบกันอีกเลย

------------------------------------------------------------------------------------

 

ที่มา : หนังสือ "มหาบพิตร : ในหลวงทรงถาม พระอรหันต์ตอบ" โดย วีระวัฒน์ ชลสวัสดิ์

ณัฐวุฒิ/สำนักข่าวทีนิวส์ : รายงาน