จบไหม!!!“ บิ๊กตู่”ลั่นทหารไม่ฝันเฟื่องคุมพลังงานไม่เคยคิดเข้ามายุ่ง ยันภาคปชช.เสนอมาเอง จวกต้านเยอะจนไม่มีใครอยากมาเป็น“กรรมาธิการ”

จบไหม!!!“ บิ๊กตู่”ลั่นทหารไม่ฝันเฟื่องคุมพลังงานไม่เคยคิดเข้ามายุ่ง ยันภาคปชช.เสนอมาเอง จวกต้านเยอะจนไม่มีใครอยากมาเป็น“กรรมาธิการ”

จากกรณีม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ให้พิจารณารับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ปิโตรเลียม พ.ศ แต่ให้ตัดมาตรา 10/1 เรื่องการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติออกไปเชิญคณะกรรมาธิการดังกล่าวมาสนทนากันที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ผู้ที่มาพบมีด้วยกัน 7 คน ปรากฏว่าเป็นอดีตนายทหารระดับสูงถึง 6 คน ให้มีการตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติโดยให้กรมพลังงานทหารเข้ามาดูแลในช่วงเริ่มต้น

ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ที่ให้บัญญัติบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ สรุปได้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ฉบับนี้ มีการผลักดันตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว แต่เพิ่งมาดำเนินการในยุคนี้ โดยมีการศึกษาข้อมูลข้อกฎหมายแล้ว มีการเคลื่อนไหวของ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่พยายามตั้งข้อเรียกร้องประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งรัฐบาลรับฟังปัญหา และรวบรวมส่ง สนช. ให้พิจารณา ตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณา ต่อมากลุ่มบุคคลเหล่านี้กดดัน กมธ.ว่า ต้องมีการจัดตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ มีการพูดหลายครั้งแล้วว่าประเทศไทยยังไม่พร้อม ยังไม่จำเป็น เพราะมีบริษัทอยู่แล้วที่กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เป็นรัฐวิสาหกิจ (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)) จะซ้ำซ้อนหรือไม่ เป็นหน้าที่ที่ สนช. พิจารณา

จบไหม!!!“ บิ๊กตู่”ลั่นทหารไม่ฝันเฟื่องคุมพลังงานไม่เคยคิดเข้ามายุ่ง ยันภาคปชช.เสนอมาเอง จวกต้านเยอะจนไม่มีใครอยากมาเป็น“กรรมาธิการ”

ปรากฏว่า ฝ่ายนั้นกดดันมากมาย และนี่ยังมีการกดดันอีกว่า ถ้ายังไม่มีเรื่องนี้ จะมาล้อมทำเนียบรัฐบาล ล้อมรัฐสภา ถามว่าถูกต้องหรือไม่ เขาเสนออะไรมารัฐบาลก็รับ แล้วเสนอให้ สนช. พิจารณา ถ้า สนช. พิจารณาไม่เหมาะสม แต่กลับใช้วิธีกดดันแบบนี้ ประเทศเสียหาย เสียประโยชน์ นอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว กลุ่มนี้ยังยึดโยงเรื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ด้วย ทุกเรื่องที่เป็นพลังงาน ไม่เข้าใจ

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่า ที่กลุ่มนี้ผลักดันให้ใส่เรื่องนี้เข้าไป เพื่อหวังให้ทหารเข้าไปคุม ให้กรมพลังงานทหารมาทำหน้าที่นี้นั้น ทำไม่ได้ เพราะมีหน้าที่จำกัด ไม่ได้มีหน้าที่เป็นบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ ทำไม่ได้ ไม่มีใครฝันเฟื่องขนาดนั้น ไม่ให้ทำอยู่แล้ว ไม่มี ขอให้เข้าใจตรงนี้ด้วย แต่เป็นข้อเสนอจากภาคประชาชนจากหลายเครือข่าย ทั้งก่อนและหลังวันที่ 22 พ.ค. 2557 โดย กมธ.วิสามัญฯ เคยพิจารณา และแถลงเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2559 ว่า ภาคประชาชนต้องการให้บรรจุเรื่องนี้เข้าไปด้วย และได้ส่งให้กลุ่มเครือข่ายรับทราบ เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะพิจารณา ถ้าทำไม่ได้ หรือทำได้ หรือทำแล้วมีปัญหา เกิดความเสียหายแก่ชาติ ไม่รู้เช่นกัน ทำเต็มที่แล้ว ยืนยันไม่เคยมีแนวคิดให้ทหารเข้ามาดูแล

จบไหม!!!“ บิ๊กตู่”ลั่นทหารไม่ฝันเฟื่องคุมพลังงานไม่เคยคิดเข้ามายุ่ง ยันภาคปชช.เสนอมาเอง จวกต้านเยอะจนไม่มีใครอยากมาเป็น“กรรมาธิการ”

 

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ที่ต้องการให้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ฉบับนี้ออกมาให้ได้ เพื่อจะดูการขุดเจาะน้ำมัน มีหลายพื้นที่ที่ต้องการทำสัมปทาน เดี๋ยวพลังงานจะขาดแคลน ไม่ใช่ทำพรุ่งนี้แล้วสร้างได้ กว่าจะเจาะได้ต้องใช้เวลา 5-6 ปี ถึงต้องรีบทำวันนี้ มีหลายฝ่ายกังวลว่า อีกตั้ง 5-6 ปี ทำไมรีบทำ เพราะชอบคิดกันแบบนี้ หลายประเทศไปลงทุนที่อื่นหมด เขาไม่ลงทุนประเทศที่มีปัญหาแบบนี้ วุ่นวายไปหมด ข้อมูลพื้นฐานระบุแล้วว่า น้ำมันมีมากน้อยแค่ไหน

กลุ่มพวกนี้ไม่เข้าใจ ไม่ยอมรับ ข้อมูลผิดถูกให้ว่ากันมา ขี้เกียจยุ่งเกี่ยวด้วย ถ้าไม่ได้ขึ้นมา ให้รับผิดชอบด้วยแล้วกัน ไม่รู้ว่าบรรษัทน้ำมันแห่งชาติใครเป็นคนตั้ง แล้วใครจะหวังเข้ามา ไม่รู้ ไม่ใช่ผมแน่นอน รัฐบาลพยายามลดความขัดแย้ง มีการใส่เข้าไปว่าเมื่อพร้อม ซึ่งไม่พร้อมง่าย ๆ ใช้ทุนมหาศาล และใครจะลงทุน รัฐบาลไม่ลงทุนแน่ การขุดเจาะน้ำมันไม่ได้ใช้เงิน 5-10 บาท แต่มีปัญหาอย่างนี้ขึ้น ให้ว่ากันในรัฐสภา อย่ามาสงสัยรัฐบาล หรือสงสัยทหาร ทหารในกมธ. เยอะแยะ เนื่องจาก กมธ. ชุดนี้ถูกต่อต้านเยอะ ใครจะกล้าเป็น มีแต่ทหารเป็นให้ ไม่มีใครอยากเป็นเพราะถูกกลุ่มคนเหล่านี้ประท้วงตลอด ทั้งนี้พยายามสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นให้ได้ ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องออกมา จบ แต่ชาติบ้านเมืองเสียหายไปว่ากันมา หัดรับผิดชอบร่วมกันบ้าง

จบไหม!!!“ บิ๊กตู่”ลั่นทหารไม่ฝันเฟื่องคุมพลังงานไม่เคยคิดเข้ามายุ่ง ยันภาคปชช.เสนอมาเอง จวกต้านเยอะจนไม่มีใครอยากมาเป็น“กรรมาธิการ”