รวม 10 ที่สุดรัฐธรรมนูญไทย !!! ฉบับไหนอายุสั้นและนานที่สุด? ฉบับไหนแปลกที่สุด? และฉบับไหนเป็นเผด็จการที่สุด?

ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

"อายุสั้นที่สุด" 
รัฐธรรมนูญที่อายุสั้นที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (พ.ศ.2475) มีอายุ 5 เดือน 3 วัน (ประกาศใช้ 27 มิถุนายน 2475 หมดอายุเมื่อ 10 ธันวาคม 2475 )

"อายุนานที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่อายุนานที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2475) มีอายุ 13 ปี 5 เดือน (ประกาศใช้ 10 ธันวาคม 2475 หมดอายุเมื่อ 9 พฤษภา 2489 )

 โค้ดส่วนลดลาซาด้า

 

"ชั่วคราวแบบนานที่สุด" 
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีอายุการใช้ยาวนาน ซึ่งนานกว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวรบางฉบับได้ คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2502) ในยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีการใช้งานถึง 9 ปี เดือน 20 วัน 

"ที่มาแปลกที่สุด"
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ได้รับฉายาว่า "รัฐธรรมนูญ ฉบับใต้ตุ่ม" หรือเรียกสั้นๆว่า "ตุ่มแดง" เนื่องจาก "หลวงกาจสงคราม" ได้ร่างรธน.ฉบับนี้ไว้ก่อนทำการรัฐประหาร และความที่กลัวว่าความจะแตก ก็เลยซ่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ "ใต้ตุ่ม" จนกระทั่งเมื่อการทำรัฐประหารเสร็จสิ้น ท่านจึงนำออกมาปรับปรุงก่อนประกาศใช้เป็นรธน.ปี 2490

"มาตรามากที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่มีมาตรามากที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2540) มี 336 มาตรา 

"มาตราน้อยที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่มีมาตราน้อยที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2502) ในยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีมาตราทั้งสิ้น 20 มาตรา

"ร่างนานที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่มีการร่างนานที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2511) ภายใต้รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้เวลาร่างร่วม 9 ปีเศษ

"เผด็จการที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีมากที่สุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2502)ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่า "ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร" โดยม.๑๗ ในรธน.ฉบับนี้ ได้ตราขึ้นเพื่อให้อำนาจ (พิเศษ) นายกฯโดยมติของครม. สามารถสั่งการหรือกระทำการใดๆก็ได้ และถือว่าชอบด้วยกฎหมาย เช่น สามารถสั่งประหารชีวิตหรือยึดทรพย์ใครก็ได้ เป็นต้น

"สร้างกระแสประชาธิปไตยที่สุด"
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2540) เป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายก ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง 

"ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด"
รัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการมากที่สุดคือรัฐธรรมนูญฉบับที่18(พ.ศ.2550)โดยมีการให้ประชาชนร่วมลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้

"เถียงกันไม่จบที่สุด"
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2550) เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นท่ามกลางความร้อนแรงทางการเมือง เรียกได้ว่ามีกระแสการวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเริ่มร่าง จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของรัฐธรรมนูญเลยก็ว่าได้ ซึ่งข้อถกเถียงหลักๆนั้น ได้แก่ ประเด็นเรื่องความชอบของรัฐธรรม อาทิ สัดส่วนของจำนวนประชาชนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญนี้ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน คือ 60:40 และสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) นั้นมาจากคณะปฏิรูปการปกครอง รวมไปถึงประเด็นเรื่องความเหมาะสมในรายมาตรา อาทิ การทำหน้าที่ขององค์กรอิสระต่างๆที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ, ที่มาของสมาชิก วุฒิสภา (ส.ว.) เป็นต้น

ลาซาด้าลดหนัก