ทางออกรถกระบะ ?!? ตำรวจชี้ช่องถ้าอยากนั่งเกิน 2 คน มีอยู่วิธีเดียวคือ "จดทะเบียนป้ายฟ้า"

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

พล.ต.ท.วิทยา ประยงค์พันธ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ผช.ผบ.ตร.) เปิดเผยว่า กรณีการใช้รถกระบะหรือเข้าไปนั่งในแค็บ ซึ่งเกิดการวิพากษ์วิจารณ์และสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องขอชี้แจงว่า กระบะด้านหลังหรือแค็บไม่ได้ออกมาเพื่อบรรทุกคน ซึ่งรถอออกแบบมาเพื่อให้บรรทุกสิ่งของเท่านั้น โดยทางกรมขนส่งทางบกก็ได้ชี้แจงว่า กรณีที่ให้บุคคลเข้าไปนั่งในแค็บ หรือท้ายกระบะถึงว่าเป็นความผิดกรณีใช้รถผิดประเภทโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจับปรับในข้อหาข้อหาใช้รถยนต์ผิดประเภทซึ่งถือว่าผิดตามพรบ.รถยนต์ 2522 ม. 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เพราะรถกระบะจดทะเบียนเป็นรถจดทะเบียนเป็นรถกระบะบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 นั่งซึ่งจะมีป้ายทะเบียนกำกับประเภทรถพื้นสีขาวตัวอักษรสีเขียว อีกทั้งวัตถุประสงค์ของแคปคือมีไว้เพื่อตั้งวางสิ่งของเท่านั้น
 

พล.ต.ท. วิทยา กล่าวอีกว่า ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่พบเห็นจะต้องดำเนินการปรับ ซึ่งความผิดจะตกอยู่ที่ผู้ขับรถไม่ใช่คนที่เข้าไปนั่งในแค็บหรือท้ายกระบะ อย่างไรก็ตามในการเปรียบเทียบนั้น เมื่อขับรถผ่านด่านตรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า มีการฝ่าฝืนให้บุคคลเข้าไปนั่งในแค็บหรือท้ายก็ว่าจะต้องโดนปรับทุกด่านที่ขับรถผ่านเนื่องจากป็นความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้สำหรับประชาชนที่มีรถกระบะและต้องการบรรทุกคนโดยสารจะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน7 ที่นั่งขึ้นไปแต่ไม่เกิน 12 ที่นั่ง (ป้ายทะเบียนสีฟ้าบนพื้นขาว)จึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจจะพยายามบังคับใช้กฎหมายจากเบาไปหาหนัก เพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน ได้เกิดการปรับตัว และปฏิบัติตามกฎหมายให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในอนาคตหากกรมการขนส่งทางบกได้มีการเปลี่ยนรายละเอียดหรือประกาศเกี่ยวกับรถกระบะให้สามารถนั่งในแค็บหรือท้ายกระบะได้เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะไม่บังคับใช้กฎหมายกับประชาชน

ทั้งนี้เนื่องด้วยรัฐบาลมีคำสั่งกฎหมายมาตรา 44 ฉบับที่ 15 เพื่อดูแลความปลอดภัยในการสัญจรของประชาชนโดยให้รัดเข็มขัดที่ทุกที่นั่งซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนผู้ใช้รถ โดยใช้เวลาประชาสัมพันธ์นานกว่า 15 วันให้ทราบทั่วกันว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเริ่มบังคับใช้กฎหมาย ในวันที่ 5 เม.ย.60 เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่จากที่ประเทศไทยเรามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นอันดับ 1 ของโลกซึ่งทั้งหมดเป็นข้อห่วงใย ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งกรณีรัดเข็มขัดนั้นประชาชนอาจจะเกิดความสับสน ในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับอย่างไรบ้าง ขอชี้แจงดังนี้ กรณีผู้ขับขี่ไม่รัดเข็มขัดปรับไม่เกิน 500 บาท กรณีที่ผู้โดยสารรถขนส่งสาธารณะไม่รัดเข็มขัดนิรภัยจะมีโทษปรับตามพรบ.ขนส่งทางบกปรับไม่เกิน 5,000 บาทและกรณีที่คนขับไม่แนะนำและไม่จัดเข็มขัดสำหรับผู้โดยสารปรับ 500 บาท ทั้งนี้ที่ผ่านมาตนได้ทดสอบนั่งรถแท็กซี่และพบว่าคนขับจะแจ้งเตือนผู้โดยสารให้รัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ซึ่งหากเป็นกรณีแจ้งเตือนแล้วแต่ผู้โดยสารไม่รัดเข็มขัดคนขับจะถือว่าไม่มีความผิดร่วมด้วย เจ้าหน้าที่จะต้องทำการเปรียบเทียบปรับเฉพาะผู้โดยสารเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่จับปรับ คนขับจะต้องจัดหาป้ายแจ้งเตือนเพื่อติดในรถ หากมีการถกเถียงกันถึงเรื่องความผิดเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการปรับทั้งคนขับและผู้โดยสาร อย่างไรก็ตามสำหรับรถโดยสารสาธารณะของขสมก. และรถร่วมเอกชนที่วิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครถือว่าเป็นรถประเภทที่ได้รับการยกเว้นจากกรมการขนส่งทางบก เพราะเป็นรถที่วิ่งในความเร็วต่ำ และอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งได้นเน้นย้ำการกวดขันข้อหาต่างๆได้กำชับให้ผู้บัญชาการของแต่ละหน่วย อบรมและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชน