นัดชุมนุมใหญ่แล้ว !!! โซเชียลระดมพล 10 เม.ย.หน้าทำเนียบ ตจว.รวมตัวหน้าศาลากลาง ต้านกม.นั่งท้ายกระบะครั้งใหญ่ของประเทศ

ติดตามได้ที่ deeps.tnews.co.th

เฟซบุ๊ค "ทนายวรกร พงศ์ธนากุล" ซึ่งเป็นของ นายวรกร พงศ์ธนากุล ประธานสมาพันธ์ทนายความแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความและคลิปวีดีโอเชิญชวนประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายห้าองกัมนั่งท้ายรถกระบะรวมถึงนั่งในแค็บ ให้ไปรวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันจันทร์ที่ 10 เม.ย. 2560 เวลา 10.00 น. เพื่อยื่นหนังสือแสดงจุดยืนเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าว เพราะไม่สอดคล้บวิถีชีวิตของประชาชน ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวาง

นายวรกร กล่าวในคลิปวีดีโอว่า เบื้องต้นกฎหมายนี้ต้องถูกยกเลิกก่อนเท่านั้น แล้วค่อยมาหารือกันใหม่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากประชาชนว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะรถกระบะคือวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ใช้กันในทุกงานทุกโอกาส บางหมู่บ้านอาจจะมีเพียงคันเดียว การที่รัฐบาลนำกฎหมายมาบังคับใช้ย่อมมีกระทบ บางหมู่บ้านอาจจะอยู่กันไม่ได้ จึงขอให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากกฎหมายนี้ หากมาที่ กทม. ได้ ให้มาร่วมกันยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล แต่หากมาไม่ได้ ให้ไปรวมตัวกันยื่นหนังสือที่ศาลากลางของแต่ละจังหวัด

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการใช้รถกระบะอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 20 ที่ระบุว่า ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถบรรทุกคน สัตว์ หรือสิ่งของต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสง สะท้อนหรือปลิวไปจากรถ อันอาจก่อเหตุเดือดร้อน รำคาญ ทำให้ทางสกปรก เปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน หรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน โดยหากฝ่าฝืน มาตรา 148 กำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 500 บาท
          กับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 21 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้
          (1) การใช้รถยนต์บริการธุรกิจหรือรถยนต์บริการทัศนาจรในกิจการส่วนตัว
          (2) การใช้รถยนต์สาธารณะในกิจการส่วนตัว โดยมีข้อความแสดงไว้ที่รถนั้นให้เห็นได้ง่ายจากภายนอกว่าใช้ในกิจการส่วนตัว
          (3) การใช้รถยนต์สาธารณะบรรทุกของที่ติดตัวไปกับผู้โดยสาร
          (3 ทวิ) การใช้รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน หรือใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
          (4) ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ในกฎกระทรวง โดยหากฝ่าฝืน มาตรา 60 กำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน 2,000 บาท