สนธิญาณ ชี้!!ผิดหวัง "คกก.พัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูป"บอกอย่ามองพรรคการเมืองเป็นผู้ร้าย ย้่ำ!!"พรรคการเมือง"องค์กรสำคัญคุมอำนาจรัฐ ก่อปั

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

รายการ "ยุคลถามตรง สนธิญาณฟันธงตอบ" ประจำวันที่ 20 เมษายน 2560 ออกอากาศทางช่อง ไบรท์ทีวี หมายเลข 20 ดำเนินรายการโดย คุณยุคล วิเศษสังข์ (หนึ่ง) ได้สัมภาษณ์คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ต้อย) บรรณาธิการอำนวยการ สำนักข่าวทีนิวส์ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

สนธิญาณ ชี้!!ผิดหวัง "คกก.พัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูป"บอกอย่ามองพรรคการเมืองเป็นผู้ร้าย ย้่ำ!!"พรรคการเมือง"องค์กรสำคัญคุมอำนาจรัฐ ก่อปัญหาให้ประเทศ

            สนธิญาณ : เมื่อวานเนี่ยมีการประชุมน่าสนใจครับ คือการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญนะครับ ก็เป็นการประชุมครั้งแรก คณะกรรมการชุดนี้นะครับก็ประธาน กกต. เป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง การประชุมคณะกรรมการชุดนี้มี ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์นะครับ คุณยุคล เป็นประธาน ดร.อเนก เราก็ทราบดีว่าท่านเป็นนักวิชาการคนนึงนะครับ ซึ่งได้สร้างงานที่มีประโยชน์มากมายให้กับประเทศไทย แต่ก็โปรดอย่าได้ลืมว่า ดร.อเนกก็เคยกระโจนเข้าสู่เวทีทางการเมือง เป็นถึงรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แล้วหลังจากที่เกิดความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ จนพลตรีสนั่นขยับขยายตัวเองออกไปข้างนอก ตั้งพรรคมหาชน ก็ได้ชวน ดร.อเนกเนี่ยไปเป็นหัวหน้าพรรค ปรากฎว่าการเลือกตั้งในครั้งนั้นของพรรคมหาชนล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงนะครับ ตอนนี้มารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศ ถือว่าเหมาะสม เหมาะสมตรงที่เป็นนักวิชาการและมีประสบการณ์ทางการเมืองจริง ผู้ที่เข้าร่วมประชุมนะครับก็ประกอบด้วยตัวแทนพรรคการเมืองนะครับ คุณภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย คุณชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายนิกร จำนง พรรคชาติไทยพัฒนา นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แล้วก็ยังมีนักวิชาการนะครับ เป็นกรรมการเข้าร่วมประชุม ผมน่ะรู้สึกเหนื่อยนะครับ แล้วก็ท้อใจซักหน่อย สำหรับผลการประชุม หลังจากที่ประชุมกันแล้วนะครับ ดร.อเนกได้ออกแถลง พูดคุยกับผู้สื่อข่าวว่า เราคุยกันไป ไม่ได้มีอะไรขัดแย้ง แต่เห็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมกันอย่างเต็มที่ว่าไม่อยากให้มองพรรคการเมืองเป็นผู้ร้าย เป็นจำเลย แต่ต้องมองว่าพรรคการเมืองก็เหมือนกับองค์กรทั่วไปที่มีทั้งคนดี คนไม่ดี ทำถูกบ้าง ทำผิดบ้าง ทุกประเทศในโลกไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตยก็ล้วนมีพรรคการเมือง เราจะพัฒนาพรรคการเมืองกันอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย นั่นคือสิ่งที่เป็นเป้าหมายของทุกพรรคการเมืองอยู่แล้ว รวมทั้งเป้นเป้าหมายของคณะกรรมการชุดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะพยายามรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน จัดทำมาเป็นข้อเสนอแนะให้กับ กรธ.และ สนช. ผิดหวังตรงไหนล่ะครับ ผิดหวังตรง อาจารย์อเนกครับ ท่านบอกว่า ไม่อยากให้มองพรรคการเมืองเป็นผู้ร้าย เป็นจำเลย ผมผิดหวังอาจารย์อเนกนะครับ ท่านผู้ชมที่ดูรายการนี้นะครับรู้จักอาจารย์อเนกก็ฝากไปกราบเรียนท่านด้วย โดยส่วนตัวก็สนิทสนมกัน ผิดหวังยังไงครับ ในฐานะท่านเป็นนักวิชาการ พรรคการเมืองไม่ใช่องค์กรปกติทั่วไป พรรคการเมืองเป็นองค์กรอันสำคัญยิ่งองค์กรหนึ่งของประเทศ เพราะต้องเข้าไปควบคุมอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ เข้าไปควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ไปกำหนดทิศทางและอนาคตของประเทศ ไม่ใช่บริษัท ไม่ใช่สมาคม ไม่ใช่ห้างร้าน ไม่ใช่มูลนิธิครับ ทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น และเรามาดูพรรคการเมืองมีอยู่หลายยุคหลายสมัย พรรคการเมืองปี 2489 นะเกิดขึ้นใหม่ๆ นั่นก็หมายความว่าพรรคประชาธิปัตย์น่ะ เกิดขึ้นตั้งแต่โน่น 2489 ต่อสู้กันในยุคสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีนายควง อภัยวงศ์นะครับเป็นหัวหน้าพรรค ต่อสู้กับพรรคสหชีพนะ ซึ่งมี ดร.เดือน บุนนาค เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์นะ สู้กันมา แล้วก็ล้มหายตายจาก จัดตั้งมามีพรรคของจอมพล ป. นะครับ เสรีมนังคศิลา มาต่อเนื่องยาวนาน ให้เห็นว่าพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจ แก่งแย่งอำนาจกันทั้งสิ้น ไม่เคยเป็นพรรคของประชาชน ไม่ได้มีรากฐานเป็นของประชาชน สาระสำคัญพรรคการเมืองยุคสองนะครับ มาเกิดขึ้นหลังปี พ.ศ.2516 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา พวกอำนาจทางการเมืองที่ห่างหายไป พวกจอมพลผิน ชุณหะวัณ พวกซอยราชครู กลับมาตั้งพรรคชาติไทยขึ้นนะครับ ก็เป็นของซอยราชครู หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตั้งพรรคกิจสังคมขึ้น นี่ดูหลากหลายหน่อย ท่านไปรวบรวมนักการเมืองหลายหลากภาคส่วนมา แต่ก็ไม่ได้เป็นพรรคของประชาชนหรอกครับ พรรคยิบๆย่อยๆที่ตั้งขึ้นเฉพาะการที่จะรองรับอำนาจทางการเมืองก็ว่าไป จบกันไป นี่ยุคที่สองนะครับ มายุคที่ 3 หลังปี 2524 พรรคประชาธิปัตย์ก็ต่อเนื่องของเขามาตลอดนะครับ คนรุ่นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่เข้าไปต่อเนื่องก็คือนายชวน หลีกภัย นายอุทัย พิมพ์ใจชน สมัยการเลือกตั้งปี พ.ศ.2522 ซึ่งตอนนี้กลายเป็นผู้อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ มาจนถึงพรรคยุคใหม่ ชัดเจนมากครับ พรรคการเมืองเป็นของตัวบุคคล เป็นของตระกูล เป็นของครอบครัวหมด พรรคชาติไทยที่ต่อมาแปลงร่างเป็นชาติไทยพัฒนา นายบรรหาร ศิลปอาชาปฏิวัติ ถอย ดันเจ้าของเก่าที่เป็นเจ้านายในอดีตดั้งเดิม ซอยราชครูหล่นหายไป กลายมาเป็นเจ้าของพรรคแทน ยังจะเป็นเจ้าของจนถึงปัจจุบัน ตัวเองเสียชีวิตไปแล้ว กำลังเตรียมการมาใหม่ จับตาดูว่านายวราวุธ ศิลปอาชา ลูกนายบรรหารจะได้เป็นหัวหน้าพรรคหรือไม่ ประสบการณ์ทางการเมืองก็น้อยนิด คนแก่ๆเยอะๆมี กลับไปดูพรรคชาติพัฒนา ก็เป็นของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จะลงเลือกตั้งไม่ลงเลือกตั้ง จะหลบอยู่ข้างหน้า อยู่ออกหน้าหรือจะหลบอยู่ข้างหลังก็เป็นของนายสุวัจน์ที่สั่งการได้ พรรคภูมิใจไทย ยังไงก็เป็นของนายเนวินกับนายอนุทิน ไม่ต้องพูดถึงเรื่องพรรคเพื่อไทยเลยครับ นายภูมิธรรม เวชยชัย รู้อยู่แก่ใจว่าพรรคนี้ของทักษิณ นายภูมิธรรมไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนเจ้าของพรรค แต่เป็นตัวแทนของทักษิณ ชินวัตร ของบ้านจันทร์ส่องหล้า และพรรคการเมืองจะเป็นพรรคปกติธรรมดาได้อย่างไร เป็นองค์กรปกติธรรมดาได้อย่างไร แล้วที่บ้านเมืองวินาศสันตะโรมาถึงทุกวันนี้ ก็เพราะพรรคการเมืองเหล่านี้บริหารประเทศโดยคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวใช่หรือไม่ ไล่เรียงมาดู ผมยกตัวอย่างให้ดู พรรคนึงชัดๆเลย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติไทยที่นายบรรหารไปแย่งชิงมาจากซอยราชครูนี่แหละ หลังจากนายบรรหารคุมอำนาจเต็มที่ พรรคชาติไทยดูแลกระทรวงเกษตรมาโดยตลอด จัดตั้งรัฐบาล 4 หน พรรคชาติไทยของนายบรรหารก็เป็นรัฐบาลทุกหน แล้วก็ดูแลกระทรวงเกษตรต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงวาระสุดท้าย รัฐประหารเลิกกันไป ผลปรากฎอะไรครับ พรรคการเมืองพรรคหนึ่งดูแลกระทรวงๆหนึ่ง ข้าราชการทำยังไงคุณยุคล เอาอกเอาใจ รู้อยู่แล้วกระทรวงนี้เป็นของนายบรรหาร ทุกคนวิ่งเข้าบ้านนายบรรหารหมด การเลือกตำแหน่ง การจะทำโครงการอะไรอยู่ที่นายบรรหารหมด นายบรรหารจะถูกกีดกันทางการเมืองอะไรก็ตามแต่ จนท้ายที่สุดนะ เอาข้าราชการในกระทรวงเกษตรฯมาเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนาเสียด้วยซ้ำนะ ไม่ต้องกลับไปมองกระทรวงท่องเที่ยว พรรคไหนเข้าคุมกระทรวงไหน พยายามไม่เปลี่ยน เพื่ออะไร สร้างรากฐาน รากฐานไปทำอะไร หาเงิน เพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป วงจรอุบาทมันอยู่ตรงนี้ครับ อยู่ตรงการเลือกตั้งต้องใช้เงินจำนวนมาก พรรคการเมืองเมื่อเข้าไปบริหารราชการแผ่นดิน จึงคิดหาเงินจากการทุจริตคอรัปชั่น มันหาเงินโครงการใหญ่ๆมาเป็นพันล้านหมื่นล้านเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง และการหาเงินที่สะดวกที่ดีที่สุดก็คือการผูกเอาไว้ในกระทรวงนั้นๆโดยพรรคการเมืองนั้นๆ แต่ ดร.อเนกบอกว่าพรรคการเมืองไม่ใช่ผู้ร้าย มีคนดีคนเลว คนดีคนเลวแน่นอนครับปะปนกันอยู่ แต่โครงสร้าง สิ่งที่เป็นอยู่ กลไกของพรรคทั้งหลายมันเป็นเจ้าของของตัวบุคคล จะมาเริ่มให้ตั้งปฏิรูปการเมืองอะไร ด้วยความเคารพครับ อาจารย์อเนก รู้สึกเสียดาย ผิดหวัง ฐานะเป็นนักวิชาการ ฐานะเข้าไปอยู่ทางการเมือง รู้ลึกในมุมเช่นนั้นครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยนะครับ เรื่องนี้ปล่อยปะละเลย วงจรอุบาทมันก็กลับมาที่เดิมครับ ถ้าไม่เริ่มต้นที่พรรคการเมือง กรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ยกร่างไว้น่าสนใจแล้วนะ สมาชิกพรรคมีบทบาท ตัวแทนพรรคประจำจังหวัดมีบทบาท สาขาพรรคมีบทบาท เลือกตั้งหรือการจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต้องผ่านการพิจารณาของสมาชิกพรรคมาตรา 90 กำหนดไว้ เจตนารมณ์ชัดเจน แยกการได้มาของผู้สมัคร ส.ส.แบ่งเขต กับ ส.ส.บัญชีรายชื่อให้แตกต่างกัน เจตนาชัดเจน ถ้ามีปัญหาเรื่องเงินร้อยสองร้อย ไอ้ที่เรามีปัญหามา 85 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเนี่ยนะครับ เพราะประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง แต่มีส่วนร่วมทางการชุมนุมของ กปปส. ไม่ใช่ กปปส.ดีหรือไม่ดีหรอกครับ แต่นั่นเป็นเรื่องที่ประชาชนเขาออกมา เขารู้สึกอัดอั้นทางการเมือง คนเหล่านี้มีความคิดอ่าน มีสติปัญญา โลกในการสื่อสารปัจจุบันมันเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว ทำไมไม่ถือโอกาสปฏิรูป แล้วถ้าคณะกรรมการชุดที่ตั้ง เริ่มต้นตั้งแท่นแบบนี้นะครับ น่าเสียดาย ขอบคุณครับ