"สนธิญาณ" ชี้ ! จะปฏิวัติประชาธิปไตยได้อย่างไร?? 25 ปี ที่คณะราษฎรปกครองบ้านเมืองมีรัฐบาล 26 ชุด แต่มีเพียง 3-4 ชุด ที่มาจากสภาผู้แทน !!

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tnews.co.th


ยุคล : สวัสดีครับท่านผู้ชมกลับเข้ามาในช่วงเวลาของรายการยุคลถามตรงสนธิญาณฟันธงตอบ ชัดเจนครับว่าสัปดาห์นี้ตามต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว จากที่คุณสนธิญาณได้เรียบเรียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ซึ่งมาพร้อมกับหัวข้อที่ตั้งเอาไว้ก็คือว่าเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เผด็จการหรือว่า ประชาธิปไตย ทบทวนความสั้นๆให้ท่านผู้ชมได้รับทราบคุณสนธิญาณได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยกลุ่มของคณะราษฎรที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกันนั่นก็คือ 1.กลุ่มสี่ทหารเสือ 2.กลุ่มที่นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 3.กลุ่มอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คุณสนธิญาณกำลังจะฉายภาพ ให้เห็นนะครับว่าเมื่ออำนาจมาอยู่ในมือของคณะราษฎร ปรากฏว่า ได้เกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างการขึ้นและสร้างความเสียหายสร้างความบอบช้ำให้กับประเทศชาติของเรา ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวไปพบกับคุณสนธิญาณกันอีกรอบในนะครับ สวัสดีครับคุณสนธิญาณครับ
 
สนธิญาณ : สวัสดีครับคุณยุคลครับ สวัสดีครับท่านผู้ชมสปริงนิวส์ และแฟนข่าวทีนิวส์ทุกท่าน
 
ยุคล : เป็นอย่างไรบ้างครับหลังจากอำนาจมาอยู่ในมือของคณะราษฎร ที่บอกว่าเกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันอย่างรุนแรง
 
สนธิญาณ : ก่อนจะไปถึงคณะราษฎรเป็นอย่างไรต่อ เอาเรื่องของเราก่อนนะครับกระแสเสียงต่างๆ ที่เข้ามา ผมก็เรียนย้ำว่าการที่หรือเปิดประวัติศาสตร์ช่วงนี้ขึ้นก็ต้องการให้กลุ่มซ้ายไดโนเสาร์ ซ้ายปัญญาอ่อน ซ้ายไม่มีความคิดติดอยู่กับเรื่องวัตถุติด อยู่กับเรื่องสัญลักษณ์ ติดอยู่กับความรู้สึกว่าเป็นแบบนี้เลือกตั้งแล้ว จะเห็นความก้าวหน้านั่นคือประชาธิปไตย นั่นคือทิศทางบ้านเมือง และไม่เคยศึกษาการเปลี่ยนแปลง 2475 ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมสำหรับซ้ายไร้เดียงสา หรือแก่จนเหนียงยานแล้วยังไม่เพิ่มพูนสติปัญญาตัวเองในการที่ไปศึกษาข้อเท็จจริง ยังคาดหวังกับผลประโยชน์ทางการเมือง ถือเป็นเรื่องที่เราต้องมาพูดกันต่อ ก็ไล่เรียงแบบนี้นะครับไล่เรียงมาว่าเมื่อถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองสรุปย้อนหลังไปนิดนึงว่า คณะราษฎรไม่กล้าบริหารประเทศเองเพราะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างระดับบน โครงสร้างของคนไทยชั้นต่างๆ ยังมีการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์อยู่ สิ่งที่จัดการไปคือ พระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูง ไปยึดวังของพระองค์ท่านเนรเทศพระองค์ท่านไปแต่ต้องประนีประนอมกับข้าราชการที่บริหารอยู่ และท้ายที่สุดก็นำพามาสู่การแตกแยกของคณะราษฎรเอง คณะราษฎรไปเชิญพระยามโนปกรณ์ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์ก็เป็นคนที่มีความจงรักภักดีและอยู่ในเครือข่ายของตัวเองจำนวนหนึ่งมาเป็นรัฐมนตรี ปรากฏว่า อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ กลายเป็นเงื่อนไขความแตกแยกของสี่ทหารเสือ คือพระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช  พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ เกิดความแตกแยกกัน พระยาพหลพลพยุหเสนาแยกออกมาคนเดียวจับคู่กับจอมพล ป. ส่วนพระยาทรงสุรเดช  พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ แยกกันมาอีกกลุ่มต่อสู้กัน สามคนหลังไปจับมือกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหารเงียบด้วยวิธีการประกาศเลิกใช้รัฐธรรมนูญ แล้วเนรเทศอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ให้ไปอยู่ฝรั่งเศส เอาล่ะครับทีนี้ทำอย่างไรพระยาพหลพลพยุหเสนากับจอมพล ป. และทหารหนุ่มจำนวนหนึ่ง ถึงเวลาจัดการรัฐประหารซึ่งเป็นประชาธิปไตยแบบไหนล่ะครับ มาปีเดียวก็รัฐประหารกันแล้วยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์มา  ตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลบริหารไปได้เพียง 3 ชุดก็เรียบร้อยครับรัฐประหารกันอีกแล้วซึ่งเป็นประชาธิปไตยอย่างไรครับ ถ้าการปฏิวัติต้องมีโครงสร้างการยึดโยงผู้คนเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจไม่ได้แต่ไม่ใช่ครับนี่คือการชิงอำนาจกัน พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ ก็ถูกการออกนอกอำนาจไปหลังจากนั้นไม่กี่วันเกิดกบฏที่เรียกว่ากบฏบวรเดช ในเดือนตุลาคม 2476 กบฏบวรเดชก็พ่ายแพ้ไป แต่ภายใต้ความพ่ายแพ้ของกบฏบวรเดชมีการพูดกันว่าพระยาทรงสุรเดชเปิดไฟเขียวสนับสนุนการเอาไว้ในใจของคณะราษฎร ซึ่งวันนั้นประกอบไปด้วยพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป. และท่านอาจารย์ปรีดีที่กลับมาหลังจากที่มีการรัฐประหารเสร็จ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 3 ทหารเสือก็หมายความว่าขับเคลื่อนนาวาของคณะราษฎรต่อไป จนมาถึงปี 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนารู้สึกว่าทำงานมาพอสมควรแล้วจึงมีการยุบสภาจบเลือกตั้งกันใหม่ ก่อนหน้านั้น ในวันที่ 29 มกราคม 2481 ก่อนที่จะสิ้นรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาได้มีการจับกบฏขึ้นมาชุดหนึ่ง แต่ยังไม่ทันได้ก่อการนะครับกบฏชุดนี้เรียกว่ากบฏพระยาทรงสุรเดช นั่นล่ะครับจัดการแล้ว จอมพล ป. คุมอำนาจอยู่อย่างเต็มที่พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกจัดการ เที่ยวนี้ในการจับกุมในกบฏพระยาทรงสุรเดชยังไม่มีการก่อการกันนะครับ คิดว่ามีการล้มล้าง แบบนี้นะครับประชาธิปไตยแบบไหนตั้งศาลพิเศษขึ้นมา 1 ศาล ไม่ไปใช้ระบบศาลปกติพวกที่เชียร์ทักษิณลิเบอร่านทั้งหลายเสื้อแดงทั้งหลายที่บอกว่า คมช. รัฐประหารแล้วมาตั้งชุด คตส. มาตรวจสอบนู่นนี่นั่นเมื่อ คตส. ทำงานเสร็จ เรียกว่าดันขึ้นไปให้ศาลตัดสินวินิจฉัยเสียด้วยซ้ำไป ปรากฏว่าในขณะนี้มีผู้ที่ถูกจับด้วย 1 คน 1 พระองค์ที่เรียกว่าเกิดรุนแรงมากคือพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อันนี้ต้องเอ่ยพระนามพระองค์ว่าจับแล้วก็สั่งประหารชีวิตซึ่งยังไม่ทันก่อนนะครับ แต่พวกกันเองคือพระยาทรงสุรเดชถูกเนรเทศให้ไปต่างประเทศมีประชาธิปไตยแบบไหนครับนี่มันเผด็จการชัดๆ ซึ่งก็มีการตั้งศาลพิเศษขึ้นมาตัดสินประหารชีวิตไป 18 คน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดกบฏขึ้นพระองค์ท่านยังไม่สั่งประหาร ต้องมาพบทวนดูกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนอันนี้ใช้ศาลพิเศษดำเนินการพระเจ้าพระบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 พระองค์นี้สำคัญเป็นพระราชโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าหรือญาติของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เรียกว่ากระทำกันอย่างรุนแรงมากในปี 2481 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติแล้วรัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์ เป็นหลานของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทำกันแบบนี้กระทบกระเทือนใจพระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างยิ่งก็คิดว่าอะลุ่มอล่วย จับขังคุกถอดพระยศออกให้กลายเป็นคนธรรมดา ต่อมาพระองค์นี้ได้คืนพระยศกลับมาและกลายมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นั่นเอง ให้เห็นก่อนว่าพวกตัวเองไม่ฆ่าพวกตัวเองปล่อยเนรเทศ แต่นี่คือเหตุการณ์ครั้งแรกหลังจากนั้นจอมพล ป. ก็ครองอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีเองมาอย่างยาวนานตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2481 จนถึง 2487 และผู้ที่เคยทำงานร่วมกันผู้เป็นมันสมองเป็นคนที่ทำให้คณะราษฎรยังมีความหมายมีคุณค่าอย่างท่านอาจารย์ปรีดี ก็ต้องแยกทางกับ จอมพล ป. ฟาดฟันห้ำหั่นจนจะเป็นจะตาย ต้องใช้กำลังทหารมาโค่นล้มการในบั้นปลายเสียด้วยซ้ำ เรื่องราวเป็นแบบนี้ครับเดี๋ยวจะขยายให้ฟังต่อ
 
ยุคล : วันนี้เห็นภาพชัดนะครับในเรื่องของการแก่งแย่งต่อสู้เอากำลังมาแย่งชิงอำนาจกันอย่างนี้คงตอบได้แล้วล่ะครับเรื่องของหัวข้อที่คุณสนธิญาณบอกว่าเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เผด็จการหรือว่าประชาธิปไตยผมยังไม่เห็นเลยว่ามีการเป็นประชาธิปไตยเกิดขึ้น
 
สนธิญาณ : ไม่มีครับประชาธิปไตยไปเกิดในปี 2489 ครับ
 
ยุคล : เดี๋ยวมาตามกันต่อว่าจะเกิดขึ้นมาอย่างไร และเกิดขึ้นยาวนานขนาดไหนช่วงนี้พักกันก่อนสักครู่เดียวครับ (พักช่วง) เอาล่ะครับกลับเข้ามาในช่วงนี้ว่ากันต่อประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงปกครองอำนาจที่อยู่ในมือของคณะราษฎร ที่คุณสนธิญาณพยายามจะไล่ลำดับความวัน เดือน ปี ให้เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงกันอย่างชัดเจนเดี๋ยวเชิญคุณสนธิญาณต่อเลยครับ
 


สนธิญาณ : ตามหัวข้อที่ตั้งไว้ตั้งว่าอย่างไรครับคุณยุคล
 
ยุคล : เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เผด็จการหรือประชาธิปไตย
 
สนธิญาณ : เมื่อผมย้ำว่าเป็นการรัฐประหาร ประชาชนไม่มีความพร้อม อย่าว่าแต่เรื่องจะความพร้อมที่จะเข้าการปฏิวัติเลยครับตอนที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาชนทั้งหลายยังงงอยู่เลยผมเรียนนะครับ 25 ปีที่คณะราษฎรปกครองบ้านเมืองมีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 6 ฉบับบางฉบับเผด็จการสุดๆ เอามาแอบไว้ใต้ตุ่ม
 
ยุคล :อย่างไรครับ
 
สนธิญาณ : คือเขียนรัฐธรรมนูญเตรียมไว้ก่อนเดี๋ยวไม่พอใจรัฐบาลจะนำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจ แล้วก็ประกาศรัฐธรรมนูญใช้เลยนี่ เขาเรียกว่าอะไรนะธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มกลัวเดี๋ยวความจะแตก 25 ปีที่คณะราษฎรปกครองบ้านเมืองมีรัฐบาล 26 ชุดเป็นประชาธิปไตยแบบไหนครับ มีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ เพียงแค่ 3-4 ชุดเอง ที่เหลืออยู่ภายใต้อำนาจการปกการของกองทัพของคณะราษฎรของคนที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรทั้งสิ้น มาต่อกันครับ เราก็มาถึงว่าจัดการพระยาทรงสุรเดชออกจากเส้นสายอำนาจไปแล้วเมื่อจัดการ พระยาทรงสุรเดช ออกจากเส้นสายอำนาจไปแล้ว อำนาจก็อยู่ในมือจอมพล ป. อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะพระยาพหลพลพยุหเสนาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็เป็นที่ปรึกษาเป็นผู้ใหญ่ที่ให้การปรึกษาอำนาจทั้งหลายอยู่ที่จอมพล ป. ซึ่ง จอมพล ป. เป็นคนคลั่งชาติจะเรียกว่า รักชาติอะไรยังไงก็ตามแต่ เขาเจ็บใจมากว่าฝรั่งเศสบุกยึดเอาดินแดนเราไป เราต้องเสียดินแดนให้กับพวกฝรั่งเศส จอมพล ป. ก็สร้างกระบวนการที่เรียกว่าชาตินิยมขึ้นมาปลุกเราคนไทย แต่ทำแล้วไม่เคยเข้าใจวิถีทาง วิถีชีวิตคนไทย ไปสั่งให้เลิกกินหมากให้ใส่หมวกจะได้ดูทันสมัยแบบฝรั่งในทางลึกๆ ปรากฏว่า จอมพล ป. ได้มีการประสานกับญี่ปุ่นซึ่งตอนนั้นก็คิดการใหญ่ในการที่จะก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับฝ่ายอักษะ คือเยอรมนี แล้วญี่ปุ่นจะตีออกทางด้านเอเชียไปยึดครองทางฝั่งเอเชียไว้เยอรมนีที่ออกมาจากยุโรป แล้วเข้าตะวันออกกลางมาบรรจบกันทีเดียว จัดการฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมให้จบสิ้น จอมพล ป. ก็ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็มาแสดงบทบาทนอกเหนือจากส่งสายลับมาประจำอยู่ในประเทศไทยตามจุดต่างๆ แล้ว จอมพล ป.ก็ต่อสู้กับฝรั่งเศสประกาศปลุกเร้ายุนักศึกษาให้มีการประท้วงเดินขบวนเรียก ประชาชน ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเรียกว่า สงครามอินโดจีน เรารบได้ดินแดนคืนมาแม่น้ำโขงฝั่งของประเทศลาว ฝั่งของกัมพูชาบางส่วน แบบฝรั่งเศสถอยกำลังเพราะติดพันสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในยุโรปตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี 2482 หลังจากจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรีไปพักหนึ่ง ประเทศไทยชนะ สิ่งที่เห็นเป็นสัญลักษณ์ในปัจจุบันคืออะไรครับคืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั่นแหละครับที่ผมต้องหยิบยกประวัติศาสตร์อันนี้มาให้เห็น เพราะเกี่ยวข้องกันวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกพร้อมๆ กับโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ตามหนังที่ได้ดูกันในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา ประกาศสงครามกับสัมพันธมิตรโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์พร้อมกับยกพลขึ้นบกในทุกพื้นที่ในเอเชีย ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ได้ยิงกัน ได้มีวีรบุรุษที่ตายเพราะรักษาดินแดนจำนวนหนึ่ง จอมพล ป. ได้เจรจายินยอมกับญี่ปุ่น ตรงนี้สำคัญครับในความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคณะราษฎร และสิ่งที่เราได้เห็นความเป็นรัฐบุรุษของท่านอาจารย์ปรีดีได้กลับมาหลังจากถูกเนรเทศไปฝรั่งเศส มาเป็นรัฐมนตรีอยู่กับพระยาพหลพลพยุหเสนา และจอมพล ป. ทุกชุด เพราะไม่ใช่เป็นผู้ครองอำนาจ แต่เป็นผู้มีมันสมองระดับปราดเปรื่องทุกเรื่อง เสนอในการเปลี่ยนแปลงสร้างรากฐานให้กับสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การปฏิรูปโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เปลี่ยน เวียง วัง คลัง นา มาเป็นกระทรวง ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยท่านอาจารย์ปรีดี เมื่อมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จัดการมีการปฏิรูปการราชการบริหารแผ่นดิน ต่อมาจากรัฐมนตรีมหาดไทยมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ และมาเป็นรัฐมนตรีคลัง ซึ่งต่อเป็นรัฐมนตรีคลังเป็นตอนที่ญี่ปุ่นขึ้นมาพอดีซึ่งมีปัญหา ปัญหาเนื่องจากว่า จอมพล ป. เดิมอยู่กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องการที่จะพิมพ์เงินบาทไทยออกมาใช้ อาจารย์ปรีดีไม่ยินยอมจึงเป็นเหตุให้อาจารย์ปรีดีถูกบีบเสมือนหนึ่งลาออกจากการเป็นคณะรัฐมนตรีของจอมพล ป. ในการทำงานมาอย่างยาวนานปรากฏว่าในฐานะรัฐมนตรีคลัง ในรัฐบาลชุดที่ 9 ตอนที่จอมพลปอเป็นนายกรัฐมนตรีอาจารย์ปรีดีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนในวันที่ 16 ธันวาคม 2484 หลังจากญี่ปุ่นยกพลขึ้นบนมาเพียง 8 วัน ที่อาจารย์ปรีดีมาเป็นผู้สำเร็จรายการแทน ก่อให้เกิดคุณประโยชน์กับแผ่นดินนั่นก็คือ ได้มีการประกาศของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นทูตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่ยอมรับในการประกาศสงครามของจอมพล ป. กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ตั้งคณะเสรีไทยขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ในยุโรปก็มีการตั้งเสรีไทยขึ้น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินีของรัชกาลที่ 7 ก็ร่วมอยู่ในเสรีไทยด้วย ส่งกำลังทหารจากอังกฤษมาโดดร่ม ชื่อเสียงที่เรารู้จักกันดีคือท่านอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หลังจากนั้นอาจารย์ปรีดีและบรรดามิตรสหายก็ก่อตั้งเสรีไทยขึ้น อันเป็นคุณูปการกับประเทศไทย เดินคนละทางกับจอมพล ป. เสรีไทยในการดูแลของอาจารย์ปรีดีซึ่งมีชื่อรหัสว่ารูท มีสถานะในฐานะผู้สำเร็จราชการไทยคุ้มครองอยู่ ก็ป้องกันการคุกคามจากญี่ปุ่นได้ เสรีไทยก็เริ่มสะสมกำลังอาวุธ สหรัฐอเมริกาและสัมพันธมิตรซึ่งทุกที่ทุกแห่งที่มีสงครามจะมีการจัดตั้งกองกำลังใต้ดิน เพื่อต่อสู้กับเยอรมนีกับอักษะอยู่เสมอ ในประเทศไทยก็เตรียมกองกำลังใต้ดินในการที่จะลุกฮือ โดยเสรีไทยในประเทศ และเชื่อมโยงกับสัมพันธมิตรซึ่งระบบสื่อสารไม่ได้ง่ายดายเหมือนปัจจุบัน เสรีไทยจะต้องส่งคนเดินทางไปประเทศจีน เดินทางไปล้มตายเสียกลางคัน เป็นวีรบุรุษที่ปิดทองหลังพระก็มากมายหลายคน ท้ายที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงคราม การเมืองก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพราะจอมพล ป. หมดสิ้นอำนาจลง ในระหว่างที่จอมพล ป. กำลังจะหมดสิ้นอำนาจลงในประวัติศาสตร์บางส่วนบอกว่า จอมพล ป. ก็เตรียมจะต่อสู้กับญี่ปุ่นเช่นกัน เตรียมจะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพมหานครไปอยู่เพชรบูรณ์บ้านเกิดของ จอมพล ป. เสนอกฎหมายขึ้นมาในการที่จะจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองหลวงแต่ก็ตกไป จอมพล ป. ลาออก นายควง อภัยวงศ์ จึงขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน จอมพล ป. นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ได้ประมาณ 1 ปี สงครามจบลง ประเทศไทยมีส่วนจะต้องเกี่ยวพันกับนานาชาติแล้ว โดยเฉพาะเราจะถูกจัดให้เป็นประเทศแพ้สงคราม ก็มีการปรับกัน ก็เป็นคุณูปการของอาจารย์ปรีดี มีการประสานจัดการกัน คุณูปการของอาจารย์เสนีย์ภายในประเทศเตรียมการให้อาจารย์เสนีย์มาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ประกาศไม่ยอมรับในการต่อสู้กับสัมพันธมิตร เป็นเอกอัครราชทูตที่อยู่สหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอเมริกา ปรากฏว่า อาจารย์เสนีย์เดินทางไม่ทันประเทศว่างเว้นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ตั้งนายทวี บุญยเกตุ ซึ่งเป็นคนของอาจารย์ปรีดี เป็นนายกรัฐมนตรีขั้นไว้ 17 วัน เมื่ออาจารย์เสนีย์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำการเจรจากับฝรั่ง บรรยากาศประชาธิปไตยเริ่มมา เพราะเผด็จการที่ชื่อว่า จอมพล ป. ถูกกันออกไป เป็นอย่างไรล่ะครับ หลังจากนั้นอาจารย์เสนีย์ยุบสภา เกิดการเลือกตั้ง รัฐบาลประชาธิปไตยเกิดขึ้นครั้งแรกในตอนนั้นครับ เป็นรัฐบาลที่ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้ง เลือกขึ้นมาเอง

ยุคล : กว่าจะมีประชาธิปไตยต้องใช้คำว่าแบบนั้นเลย
 
สนธิญาณ :  2489 นับไป 45 ปีที่ผ่านมาอยู่ในมือจอมพล ป. มาโดยตลอด
 
ยุคล : แสดงว่าตอนที่เปลี่ยนและเกิดเหตุฉุกละหุกตามที่คุณสนธิญาณกล่าว เปลี่ยนภายใต้เงื่อนไขของความไม่พร้อมสิครับ
 
สนธิญาณ : ก็ไม่ครับ ก็พร้อมแต่ข้างบน ช่วงชิงกันที่เขาเรียกว่าชิงสุกก่อนห่าม  แต่เราก็ไม่ทราบว่าถ้าไม่เปลี่ยนแล้วอะไรจะเป็นอย่างไร ประวัติศาสตร์ย้อนกลับไม่ได้ ถึงได้พูดกันว่าใครดี ใครเลว ทุกอย่างมีขาว มีดำ มีเงา มีเทา แต่ขอให้เราตั้งใจศึกษาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงกัน
 
ยุคล : ภายหลังจากที่ใช้คำว่ามีประชาธิปไตยอย่างน้อยก็การที่คุณสนธิญาณเอาไว้เมื่อสักครู่ หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นอีกครับ
 
สนธิญาณ : ไม่นานก็เกิดรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่มขึ้นเลยครับ และเกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญคนไทยทั้งประเทศ
 
ยุคล : เอาล่ะครับ ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวมาตามกันต่อในเบรกหน้า (พักช่วง)  เอาล่ะครับกลับเข้ามายังเบรกสุดท้ายของยุคลถามตรงสนธิญาณฟันธงตอบ ย้ำกับคุณผู้ชมนะครับนี่เป็นสัปดาห์ที่สองและเข้าสู่เบรกสุดท้าย จากหัวข้อที่เราตั้งเอาไว้ก็คือเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เผด็จการหรือประชาธิปไตย มาจนถึงช่วงสุดท้ายของเนื้อหาที่คุณสนธิญาณได้ไล่เรียงมาโดยตลอด ผมเชื่อว่าคุณผู้ชมก็น่าจะมีคำตอบในระดับหนึ่งแล้ว ว่าการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น ท้ายที่สุดนำพามาสู่เผด็จการหรือว่าประชาธิปไตย ฉะนั้นตอนจบเราไปดู คุณสนธิญาณจะได้ไล่เรียงบทสรุปเหล่านี้ให้พวกเราได้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

สนธิญาณ : ประชาธิปไตยเริ่มมาแล้ว หลังจากที่อาจารย์เสนีย์เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี จัดการบริหารบ้านเมืองไม่ให้เราเป็นประเทศแพ้สงคราม แต่ก็อ่วมหนักหนาเช่นกัน จอมพล ป. ถูกตั้งเป็นอาชญากรสงคราม แต่ท่านอาจารย์ปรีดีก็ได้ช่วยไว้ โดยการออกกฎหมายอาชญากรสงครามของประเทศไทยเอง ไม่ถูกนำไปขึ้นสู่ระดับสากล จัดการกันภายในประเทศด้วยการอะลุ่มอล่วยด้วยการดูแลกัน หลังจากนั้นบรรยากาศประชาธิปไตยก็เริ่มเกิด มาเลยครับเลือกตั้งเสร็จ นายควง อภัยวงศ์ ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ที่พรรคประชาธิปัตย์พูดกันว่า เขาตั้งกันมา 80 ปี ในปี 2489 มีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค เลือกตั้งเสร็จปรากฏว่านายควง ซึ่งเป็นคณะราษฎรเหมือนกัน แยกขั้วจากทางฝั่งอาจารย์ปรีดีแล้ว ทางฝั่งอาจารย์ปรีดีมี ดร.เดือน บุนนาค มีบรรดา ส.ส. จากฝั่งอีสานให้การสนับสนุนก็สู้กัน นายควงตั้งรัฐบาลได้ เสียง ส.ส. ส่วนใหญ่ประชาธิปไตยที่ไม่พร้อม ต้องถือว่านายควงตั้งรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยชุดแรกที่ไม่ได้มีอำนาจทางทหารมาบังคับ หรืออำนาจรัฐบาลบังคับ ส.ส. โหวตกันเป็นอยู่ได้ 2 เดือนครับ 13 มกราคม 2489 – 24 มิถุนายน 2489 ก็ไปเลยครับ โหวตแพ้ในสภา สภาจึงเลือกอาจารย์ปรีดีขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีเอง ชะตากรรมมนุษย์แม้จะเป็นรัฐบุรุษ แต่ช่วงจังหวะเวลาที่จะทำให้เผชิญกับปัญหา ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี มีฝั่งของจอมพล ป. เป็นฝั่งตรงกันข้าม จอมพล ป. ในขณะนั้นบรรดาทหารที่ถูกส่งไปรบที่เชียงตุง ในการไปยันกองทัพและเมื่อเราแพ้สงคราม บรรดาทหารถูกปลดก็กลับมาคบคิดในการที่จะนำพาจอมพล ป. กลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง อาจารย์ปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน 2489 ไม่เท่านั้นหลังจากอาจารย์ปรีดีลาออก คณะของอาจารย์ปรีดีก็ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี คือ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มาดำรงตำแหน่งอยู่ได้ 1 ปี วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ในขณะนั้นยศเป็น พล.ท.ผิน ซึ่งเป็นบิดาของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ลูกน้องคนสนิทของจอมพล ป. ทำการยึดอำนาจ แต่ยึดเสร็จต้องการที่จะอำพรางตัวเอง ไปเชิญนายควงมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการยอมรับ จอมพล ป. แพ้สงครามมานั้นมาเป็นไม่ได้ ต้องให้นายควงมาเป็นนายกรัฐมนตรี นายควงก็ได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ 5 เดือน ก็ได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับใต้ตุ่ม นำมาประกาศใช้เลย โดยพล.อ.ท. กาจ กาจสงคราม หรือเรียกว่า หลวงกาจสงคราม เป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมกับจอมพลผิน ปรากฏว่าต่อมา หลวงกาจสงครามกับจอมพลผินขัดแย้งกันเองอีก ...