เห็นด้วยอย่างแรง!!!“กรธ.”เอาจริงนักการเมืองขี้โกงให้“ศาลฎีกา”พิจารณาคดีลับหลังตัดสินจำคุก-ยึดทรัพย์ได้เลยดัดหลังทำผิดไม่ยอมรับหนีเสวยสุขตปท.

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

จากกรณีมีการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ทำหน้าที่เป็นประธาน ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบ (พ.ร.ป.) รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีการเชิญตัวแทนศาลยุติธรรมจำนวน 6 คน นำโดยนายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม มาร่วมหารือแสดงความคิดเห็นถึงร่าง พ.ร.ป.ฉบับดังกล่าว ที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันในประเด็นสำคัญ ที่กรธ.และอนุกรรมการยกร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวยกร่างมาและเตรียมส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณา

       นายอุดม รัฐอมฤต กรธ.ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ... กล่าวว่ายังมีประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกันระหว่างฝ่ายยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวกับศาลอยู่บางประเด็น เช่นเรื่องการยื่นฟ้อง ที่ศาลเห็นว่าในคดีอาญา หากโจทก์คืออัยการไม่สามารถนำตัวผู้ถูกกล่าวหามาฟ้องคดีต่อศาลได้ ศาลก็จะไม่รับฟ้อง แต่ กรธ.เห็นว่าการที่นักการเมืองถูกกล่าวหา จนถูกสั่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้นเรื่องไม่ได้มาจากศาล แต่มีกระบวนการมาตั้งแต่ชั้น ป.ป.ช.มีการแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน ดังนั้นเรื่องที่ไปยื่นฟ้องต่อศาลจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการไต่สวนมาตั้งแต่ชั้นองค์กรอิสระคือ ป.ป.ช.จนส่งไปที่อัยการ

 

       นอกจากนี้ นายอุดม ยังกล่าวอีกว่า กรธ.ก็ต้องนำข้อคิดเห็นดังกล่าวมาหารือกันว่าจะทำอย่างไร จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ โดยน่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ แต่คดีเหล่านี้ไม่ใช่คดีที่สาธารณชนไม่เคยรับรู้รับทราบ ทุกอย่างที่ไปที่ศาลแม้จะมีการสืบพยานฝ่ายเดียว ก็ต้องมีพยานหลักฐานไม่ใช่อยู่ๆ ก็ตัดสินเลย อีกทั้งแม้คดีตัดสินไปแล้ว ก็ยังสามารถมาใช้สิทธิ์รื้อฟื้นคดี อุทธรณ์คดีได้ตามกฎหมาย และต้องเข้าใจว่านักการเมืองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะกลับมาต่อสู้ เช่นมีหมายแจ้งข้อกล่าวหา มีหมายส่งไปให้รับรู้รับทราบ ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าเขาไม่ได้หายไปเลย โดยเราไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน แต่ไปปรากฏตัวอยู่ต่างประเทศ ไม่ยอมมาเข้ากระบวนการยุติธรรม และนอกจากจะให้การยื่นฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องนำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาล ซึ่งศาลสามารถรับฟ้องคดีได้เลยแล้ว กรธ.มีแนวคิดที่จะเขียนไว้ในร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาฯไว้อีกว่า หากผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีคดี ก็จะให้ศาลทำหน้าที่ต่อไปได้โดยไม่ต้องรอให้ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหา

เห็นด้วยอย่างแรง!!!“กรธ.”เอาจริงนักการเมืองขี้โกงให้“ศาลฎีกา”พิจารณาคดีลับหลังตัดสินจำคุก-ยึดทรัพย์ได้เลยดัดหลังทำผิดไม่ยอมรับหนีเสวยสุขตปท.

       “ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ สามารถพิจารณาคดีได้ แม้จะไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งเป็นประเด็นที่จะแตกต่างจากอดีต คือจากเดิมโจทก์สามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องมีตัวผู้ถูกกล่าวหามายื่นฟ้องต่อศาล ซึ่งหลักการนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการใช้มาตั้งแต่ใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ตั้งแต่ปี 2542 แต่หลังจากฟ้องแล้ว ศาลจะพิจารณาต่อไปได้ต่อเมื่อได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามาศาลอย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ที่แตกต่างไปในครั้งนี้ ในการยกร่าง พ.ร.บ.ที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ เห็นว่าจากบทเรียนที่ผู้ถูกกล่าวหามักจะหลบหนี ก็จะเขียนว่าการฟ้องคดี สามารถฟ้องคดีได้แม้โจทก์หรืออัยการไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหามายื่นฟ้อง โดยศาลก็รับฟ้องได้ และแม้จะไม่สามารถได้ตัวจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหามาในวันพิจารณาคดีของศาล ก็ให้ศาลสามารถพิจารณาคดีต่อไปได้”

 

       อย่างไรก็ตาม นายอุดม กล่าวต่ออีกว่า คดีพวกนี้ที่เป็นคดีนักการเมือง มีการตรวจสอบคดีมาตั้งแต่ชั้น ป.ป.ช.และอัยการแล้ว และเป็นการดำเนินคดีกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่คนเหล่านี้รู้ทั้งสิทธิ์ รู้ข้อเท็จจริง และคนเหล่านี้ไม่ใช่คนยากจน และใช้โอกาสที่เป็นคนชั้นสูงหลบหนีออกนอกประเทศ ที่มันแตกต่างจากอดีตอย่างชัดเจน ในอดีตการที่ไม่สามารถนำตัวคนมาดำเนินคดีได้ คนหนีคดีจะไปหนีคดีในป่าเขา แต่ปัจจุบันเขาไม่ได้หนีคดีไปอยู่ในป่าเขา แต่ไปดำเนินชีวิตอย่างสุขสบายในต่างประเทศ เรื่องนี้สังคมต้องกลับมาคิดกันว่า คนที่เคยดำรงตำแหน่งในสังคมระดับสูงแต่กลับไม่ยอมรับกฎหมายและ กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถไปทำอะไรกับคนระดับสูงได้

 

       “กระบวนการที่จะเขียนแบบนี้ก็คือการจะให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ สามารถพิจารณาคดีลับหลังได้ แต่เราไม่ได้ไปบังคับให้เขาหนี มันเป็นเรื่องเขาตัดสินใจเขาเอง อย่างพวกเราชาวบ้านเวลาศาลเรียกเราจะหนีไปไหน แต่พวกนักการเมืองเขาหนี มันมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่เราเห็น อย่างคดีที่มีการฟ้องอดีตนายกฯว่ามีการทำผิด เช่นคดีแปลงสัญญาโทรคมนาคม พอยื่นฟ้องไปแม้จะไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหาไปส่งตัวต่อศาลฎีกาฯ แล้วศาลรับฟ้อง มีการตั้งองค์คณะฯ แต่สุดท้ายศาลฎีกาฯก็ต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบแม้จะรับฟ้องไปแล้ว เพราะจำเลยไม่เคยมาศาลแม้แต่ครั้งเดียว นายอุดมกล่าวตอบว่า ในร่างที่เขียนอยู่ก็จะไม่มีแล้วแบบนี้”

เห็นด้วยอย่างแรง!!!“กรธ.”เอาจริงนักการเมืองขี้โกงให้“ศาลฎีกา”พิจารณาคดีลับหลังตัดสินจำคุก-ยึดทรัพย์ได้เลยดัดหลังทำผิดไม่ยอมรับหนีเสวยสุขตปท.