ไพรมารี่โหวต!!!ดัดหลัง"นักการเมือง"คืนอำนาจปชช.!?! มติกมธ.ให้สมาชิกพรรคเป็นผู้เสนอชื่อคนลงส.ส.ทั้งแบบเขต-ปาร์ตี้ลิสต์คงค่าสมาชิก100

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/

จากกรณีนักการเมืองไม่ว่าพรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ต่างดาหน้าออกมารุมต่อต้านข้อเสนอของ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ที่ระบุว่าร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ให้เรียกเก็บเงินจากสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่าปีละ 100 บาท รวมทั้งการได้มาซึ่งส.ส.ทั้งระบบเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ จากนั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพรป.ดังกล่าวว่ามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไรบ้างนั้น

       ล่าสุดวันนี้(1มิย.60)นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... ได้ออกมาแถลงถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้มีการลงมติในประเด็นที่สำคัญ 4 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง โดยให้มีตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพิ่มเติมจากที่กำหนดมีเพียงหัวหน้าพรรค เหรัญญิก และนายทะเบียน เรื่องทุนประเดิมพรรคการเมืองที่กำหนดไว้ 1,000,000 บาท ได้แก้ไขให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งให้อยู่ภายใต้การใช้จ่ายงบประมาณในการเลือกตั้งที่ผ่านมา สำหรับเรื่องการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิกพรรคการเมือง คณะกรรมาธิการฯ เห็นควรให้คงไว้ตามร่างเดิม คือ จัดเก็บไม่น้อยกว่า 100 บาท โดยในปีแรกไม่น้อยกว่า 50 บาท และเรื่องการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เห็นควรให้มาจากสมาชิกพรรคเป็นผู้เสนอรายชื่อ ส่วนแบบบัญชีรายชื่อมาจากการรวบรวมรายชื่อของคณะกรรมการสรรหา จากรายชื่อจากผู้สมัคร เรียงลำดับรายชื่อและให้สมาชิกคัดเลือก

ไพรมารี่โหวต!!!ดัดหลัง"นักการเมือง"คืนอำนาจปชช.!?! มติกมธ.ให้สมาชิกพรรคเป็นผู้เสนอชื่อคนลงส.ส.ทั้งแบบเขต-ปาร์ตี้ลิสต์คงค่าสมาชิก100

       ขณะที่นายแสวง บุญมี รองเลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ในฐานะผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามร่างเดิมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ให้อำนาจเป็นของคณะกรรมการบริหารพรรคและคณะกรรมการสรรหา ซึ่งเมื่อคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาแล้ว จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่เพื่อที่จะให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดย ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นอำนาจของสมาชิกพรรคในการส่งรายชื่อ ลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 แล้วส่งให้คณะกรรมการสรรหา หากคณะกรรมการสรรหาไม่เลือกรายชื่อในลำดับที่ 1 ต้องมีเหตุผลชี้แจงต่อสมาชิก สำหรับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีทั้งหมด 150 คน ซึ่งจะมีการประกาศรับสมัคร และให้คณะกรรมการสรรหา จัดทำบัญชีรายชื่อทั้งหมด 150 คน ลำดับแรกคือหัวหน้าพรรคจะได้รับการยกเว้น แล้วจัดส่งรายชื่อให้สาขาหรือตัวแทนประจำจังหวัด จากนั้นให้สมาชิกพรรคเลือกคนละ 15 รายชื่อ พรรคก็จะจัดลำดับตามที่สมาชิกลงคะแนน แต่หากมีคะแนนเท่ากัน คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาว่าจะให้รายชื่อใดมาลำดับก่อนหรือหลัง

ไพรมารี่โหวต!!!ดัดหลัง"นักการเมือง"คืนอำนาจปชช.!?! มติกมธ.ให้สมาชิกพรรคเป็นผู้เสนอชื่อคนลงส.ส.ทั้งแบบเขต-ปาร์ตี้ลิสต์คงค่าสมาชิก100