เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/

จากกระแสข่าวคดีฆ่าหั่นศพ "น้องแอ๋ม" ทำให้สังคมและโลกโซเชียลมีการพูดถึงบทลงโทษทางกฎหมายกับผู้ก่อเหตุอย่าง "เปรี้ยว" และแก๊งเพื่อนที่ร่วมกันวางแผนฆาตกรรมอย่างดุเดือดว่ากรณีก่อเหตุโหดเหี้ยมเช่นนี้ ไม่พ้นต้องลงโทษประหารชีวิตสถานเดียว และที่เป็นประเด็นให้ถกเถียงกันไม่จบไม่สิ้นเมื่อพี่สาวของ "เปรี้ยว"  ได้พูดกับน้องสาวว่าให้ยอมมอบตัวกับตำรวจ และบอกว่าโทษประหารไม่มีอยู่จริง งานนี้เล่นเอาสังคมงงไปตามๆ กัน และโจมตีถึงคำพูดของเจ้าตัว  ตกลงประเทศไทยเรายังมีกฎหมายลงโทษประหารชีวิตอยู่หรือไม่?? 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเผยถึงกรณีโทษการประหารชีวิตว่า โทษประหารชีวิตมีอยู่ในกฎหมาย แต่ทางเราได้รับปากที่ประชุมกรรมการสิทธิมนุษยชนที่กรุงเจนีวาซึ่งขอร้องให้ยกเลิกโทษดังกล่าว ว่ายังยกเลิกไม่ได้ ในความผิดใหม่จะไม่กำหนดโทษประหารชีวิต และจะทยอยเปลี่ยนจากโทษที่บังคับให้ประหารชีวิตอย่างเดียว ให้มีทางเลือกจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปีได้ และ 8-9 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีการบังคับใช้โทษประหารชีวิตจริง เนื่องจากมีการถวายฎีกาและต้องรอพระราชวินิจฉัย อีกทั้งตามมาตรฐานสหประชาชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนโลกถือว่า ในประเทศที่มีโทษประหารชีวิตแต่ไม่บังคับประหารใครจริงในระยะ 10 ปี ให้ถือว่าไม่มีโทษประหารชีวิต 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

ล่าสุด วันนี้ (3 มิ.ย.) นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงเหตุผลในการยกเลิกโทษประหารชีวิตว่า จากผลการวิจัยทั่วโลกการประหารชีวิตไม่ได้มีผลต่อการยับยั้งอาชญากรรมที่รุนแรง หรือทำให้สังคมปลอดภัยขึ้นได้ แต่ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสังคมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ จากความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาดได้ เนื่องจากไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรม สม่ำเสมอโดยที่ไม่มีข้อบกพร่องได้ แพะที่ถูกประหารชีวิตไปแล้ว ย่อมไม่อาจสามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้

 

 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

ขณะเดียวกัน ยังมีข้อค้นพบว่านักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และเป็นคนด้อยโอกาส ซึ่งไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างคดีให้กับตนเองได้ นอกจากนี้นักมนุษยวิทยาเห็นว่าการประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ การประหารชีวิตทุกวิธีก่อให้เกิดความทรมานต่อนักโทษอย่างแสนสาหัส ถึงแม้ว่าผู้กระทำผิดเหล่านี้จะได้ก่อเหตุรุนแรงมาแล้วก็ตาม ดังนั้นหลักของการลงโทษต้องไม่ควรเป็นไปเพื่อการแก้แค้นทดแทน แต่ต้องเป็นไปเพื่อการแก้ไขและเยียวยาทั้งตัวผู้กระทำความผิดและเหยื่อน่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม

 

 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

นายธวัชชัย รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า จากข้อมูลอ้างอิงถึงเดือนเม.ย. 2560 มีนักโทษต้องโทษประหารชีวิต ทั้งหมด 447 ราย จำแนกเป็น  1 คดียาเสพติดให้โทษ ระหว่างชั้นอุทธรณ์ เป็นนักโทษชาย 105 ราย หญิง 51 ราย, ชั้นฎีกา เป็นชาย 12 ราย หญิงไม่มี และในชั้นเด็ดขาดคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นชาย 55 ราย หญิง 13 ราย 2 คดีความผิดทั่วไป เช่นคดีฆ่าคนตาย อยู่ระหว่างชั้นอุทธรณ์ เป็นชาย 110 ราย หญิง 6 ราย, ชั้นฎีกาเป็นชาย 6 ราย ส่วนหญิงไม่มี และนักโทษชั้นเด็ดขาดคดีถึงที่สุดแล้ว เป็นชาย 85 ราย และหญิง 4 ราย จากสถิติดังกล่าวพบว่าโทษประหารชีวิตในคดีทั่วไปมีจำนวนมากกว่าคดียาเสพติดให้โทษ

 

 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

สำหรับนักโทษประหารจะถูกควบคุมจำแนกตามเรือนจำต่างๆ ดังนี้ เรือนจำกลางบางขวาง 275 คน เรือนจำกลางคลองเปรม 2 คน  เรือนจำกลางเขาบิน 19 คน เรือนจำกลางสงขลา 31 คน  เรือนจำกลางพิษณุโลก 6 คน เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช 46 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 57 คนทัณฑสถานหญิงนครราชสีมา 4 คน และทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ 7 คน

 

 

เอาไงดี..ทีนี้!! รองปลัดยธ.แจงไทยไร้ประหารชีวิตนานเกือบ 8 ปีแล้ว ถึงมีคนรอคิวอื้อ ตามกฎ UN ใกล้เป็นประเทศปลอดโทษนี้โดยปริยาย!?!

 

 

ทั้งนี้ การประหารชีวิตด้วยวิธีการยิงเป้านักโทษประหารชีวิตรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2545 จากนั้นกฎหมายใหม่เปลี่ยนมาให้ประหารชีวิตด้วยวิธีการฉีดสารพิษ มีนักโทษถูกประหารด้วยการฉีดสารพิษจำนวน 6 ราย เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2546 เป็นชาย 4 ราย นักโทษคดียาเสพติด 3 ราย คดีความผิดต่อชีวิต 1 ราย และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2552 เป็นนักโทษเด็ดขาดและต้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด 2 ราย หลังจากนั้น จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการประหารชีวิตอีกเลย รวมเวลา 7 ปี 9 เดือน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการประหารชีวิต 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็นจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต.