หยุดเสียงปชช.ไม่ได้!! “บอร์ดการบินไทย+ก.คลัง”จะทำอย่างไร ถ้าผู้ถือหุ้นฮือต้านคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ลุกทวงสิทธิ์ขายหุ้น “NOK” ให้ “จุฬางกูร"?

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th/

ถือเป็นประเด็นร้อนคาบเกี่ยวกับอนาคตธุรกิจการบินระดับประเทศ  ภายหลังจากบอร์ดบมจ.การบินไทย  ตัดสินใจไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบมจ.นกแอร์  ส่งผลให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของบมจ.นกแอร์เปลี่ยนไปจากการที่บมจ.การบินไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  กลายเป็นคนในตระกูล “จุฬางกูร”   โดยสมบูรณ์  จากสัดส่วนหุ้นถือครองรวม  28.93%  ตามรายงานข่าวที่นำเสนอไปก่อนหน้า

หยุดเสียงปชช.ไม่ได้!! “บอร์ดการบินไทย+ก.คลัง”จะทำอย่างไร ถ้าผู้ถือหุ้นฮือต้านคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ลุกทวงสิทธิ์ขายหุ้น “NOK” ให้ “จุฬางกูร"?

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ตอกย้ำ..ตราบาปประเทศ!! เปิดชัดๆ กลุ่มทุน “จุฬางกูร” เป็นใคร วันนี้ยึด “นกแอร์” เบ็ดเสร็จหลัง “บอร์ดการบินไทย” จัดดีลพิเศษเปิดทางโล่ง??

 

 

ต่อมาบนหน้าเว็บไซด์ของ   “ฐานเศรษฐกิจ”  ได้รายงานข้อมูลเพิ่มเติม  ระบุความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างผู้ถือหุ้น บมจ.นกแอร์ อีกครั้ง ว่า    สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับแบบรายงานการได้มา/จำหน่ายหลักทรัพย์ของกิจการ (แบบ 246-2)  จากนาย ณัฐพล จุฬางกูร   ได้มาหุ้นของบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK เมื่อวันที่ 5  มิ.ย. 2560   จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มาคิดเป็น 0.66% ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ   ส่งผลให้จำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มาคิดเป็น  15.16 %  ของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ

หยุดเสียงปชช.ไม่ได้!! “บอร์ดการบินไทย+ก.คลัง”จะทำอย่างไร ถ้าผู้ถือหุ้นฮือต้านคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ลุกทวงสิทธิ์ขายหุ้น “NOK” ให้ “จุฬางกูร"?

หยุดเสียงปชช.ไม่ได้!! “บอร์ดการบินไทย+ก.คลัง”จะทำอย่างไร ถ้าผู้ถือหุ้นฮือต้านคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ลุกทวงสิทธิ์ขายหุ้น “NOK” ให้ “จุฬางกูร"?

 

 

ขณะเดียวกันถ้าย้อนกลับไปดูหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบมจ.นกแอร์  เมื่อวันที่  29  พ.ค.2560    พบว่ามีการแจ้งสัดส่วนการถือครองหุ้นในส่วนของ    นายทวีฉัตร จุฬางกูร ไว้ที่  177,651,800  หุ้น    หรือ    คิดเป็น   15.61  %    ตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ์ออกเสียง  จำนวน   1,135,999,882   หุ้น      ส่วนนายณัฐพล  จุฬางกูร   มีจำนวนหุ้นถือครองจำนวน  151,000,000  หุ้น  หรือ   คิดเป็น  13.29 % ดังนั้นถ้าสัดส่วนการถือครองหุ้นบมจ.นกแอร์  ของนายณัฐพล  มีจำนวนเพิ่มเป็น  15.16 %   จะทำให้จำนวนสัดส่วนการถือครองหุ้น  บมจ.นกแอร์ของตระกูล “ จุฬางกูร”   เพิ่มเป็น  30.80 %   ในขณะที่บมจ.การบินไทยยังคงอยู่ที่  21.57 %

 

ขณะเดียวกันจากปมซับซ้อนซ้อนเงื่อน   ในการขายหุ้นเพิ่มทุนโดยบอร์ดการบินไทย  ตัดสินใจไม่เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคา 2.40 บาทต่อหุ้น  แม้ราคาในตลาดจะยืนอยู่ที่ 4.80 บาท  ทำให้ประเด็นนี้ยังคงกลายเป็นจุดเคลือบแคลงสงสัย  ว่ามีเงื่อนปมอะไรมากกว่าข้ออ้างเรื่องความ คุ้มค่าหรือไม่  ?? 

 

 

หยุดเสียงปชช.ไม่ได้!! “บอร์ดการบินไทย+ก.คลัง”จะทำอย่างไร ถ้าผู้ถือหุ้นฮือต้านคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ลุกทวงสิทธิ์ขายหุ้น “NOK” ให้ “จุฬางกูร"?

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เจาะลึกเงื่อนงำ..ปล้นสมบัติชาติ!!ถอดรหัส“บอร์ดการบินไทย” เมินหุ้นเพิ่มทุน“นกแอร์”สนั่นลั่นครหา“คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย”ปล่อยไอ้โม่งสวาปามผลประโยชน์?

 

 

ล่าสุดในคอลัมน์  “พอเพียงอย่างพอใจ”  ของหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ   ได้มีการนำเสนอบทความของ “ฉาย บุนนาค”  ซึ่งเป็นภาคต่อจากการเปิดประเด็นเรื่องการตั้งข้อสังเกตุ  ว่าทำไม บอร์ดบมจ.การบินไทย   ตัดสินใจไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.นกแอร์  ทั้ง ๆ ที่มียอดผลกำไรอย่างชัดเจน  อีกหนึ่งตอนต่อเนื่อง  ในหัวข้อ   “ ทุนใหม่” ควรทำTender นกแอร์ที่ 7.85 บาท  โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

“ สืบเนื่องจากตอนก่อน...การปล่อยให้  “การบินไทย”  รัฐวิสาหกิจมีชื่อเสียประโยชน์และอำนาจควบคุมในบริษัทสายการบินนกแอร์ ให้กลุ่มทุนใหม่ ผ่านการสละสิทธิ์เพิ่มทุนในราคาถูก คือ "การทุจริตเชิงนโยบาย" ที่แยบยลและวางแผนล่วงหน้า

แม้การขายหุ้น NOK เป็นสิ่งที่การบินไทยควรตัดสินใจทำก่อนหน้านี้ ดังเช่น คุณพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ที่ทยอยขายหุ้นตั้งแต่ 16 บาทกว่า และดังเช่นหุ้นส่วนต่างชาติรายอื่นๆ ที่ทยอยขายตั้งแต่ 26 บาท ...อดีตเป็นเรื่องแก้ไขไม่ได้ แต่ปัจจุบันคุณเลือกได้ที่จะทำเพื่อสิ่งที่สมควรในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติ...


วันนี้การมาถือครองหุ้น NOK ของกลุ่ม "จุฬางกูร" ผ่านชื่อคุณทวีฉัตร จุฬางกูร และคุณณัฐพล จุฬางกูร จากการซื้อในกระดานและผ่านการใช้สิทธิ์เพิ่มทุนที่เกินสิทธิ์ จนสัดส่วนรวมกันเกือบ 30% (มากกว่าการบินไทย 9%) ซึ่งตามกฏหมายระบุว่าต้องทำคำเสนอซื้อให้ผู้ถือหุ้น NOK ทุกรายรวมทั้งการบินไทย ในราคาสูงสุดที่ได้มาซึ่งหลักทรัพย์ใน 90 วัน ซึ่งคือ ราคา “7.85” บาท


ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ค้นหาได้ใน  website  ของก.ล.ต. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หากการบังคับใช้กฏหมายมีมาตรฐานที่เท่าเทียมและมีการทำคำเสนอซื้อหุ้น NOK การบินไทยจะได้รับเงินสดกลับไปบริหารจำนวน 1,923.25 ล้านบาท (ราคา 7.85 คูณ 245 ล้านหุ้นที่ถือโดยการบินไทย)... ซึ่งเทียบเท่ากับ 5% เพิ่มขึ้นในส่วนของผู้ถือหุ้นการบินไทย


สิทธิ์นี้เป็นสิทธิ์ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถือหุ้น NOK ทุกรายที่จะมีสิทธิ์ขายให้กลุ่ม “จุฬางกูร”  ในราคา 7.85 บาท หรือ เกือบ 100% จากราคาตลาดปัจจุบัน...


สิทธิ์นี้เป็นสิทธิ์ที่ผู้ถือหุ้นการบินไทยควรเรียกร้องเพื่อเยียวยาความเสียหายจากการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายของคณะกรรมการการบินไทย


สิทธิ์นี้คือสิทธิ์ของประชาชนคนไทยที่ควรทวงถามจากกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของการบินไทย


หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฏหมายโดยตรงคือ "ก.ล.ต." หน่วยงานซึ่งมีภารกิจหลักในการ “กำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ"


หากดูในกรณีศึกษาของการบังคับใช้กฎหมายข้อนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ก.ล.ต. เลือกปฏิบัติ?
กฏหมายบังคับใช้กับนายหมู นายหมา เท่านั้นหรือ? คำชี้แจงของ “นายปริย เตชะมวลไววิทย์”  เป็นสิ่งที่รับฟังไม่ได้และขาดการตรวจสอบที่ชัดเจน


ขอโปรดรับฟังอีกมุมหนึ่งของสังคมว่ามีคนอีกมากมายที่ต้องการทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่คงเป็นไปได้ยากหากการบังคับใช้ไม่เป็นธรรม...

จงอย่าลืมตราสัญลักษณ์ของ ก.ล.ต.
สีเขียวเข้ม คือ ความเที่ยงตรงและบรรทัดฐานที่ดี
สีน้ำเงิน สื่อถึงชาติและการเกื้อหนุนเศรษฐกิจและศรัทธา
สีเขียวอ่อนล้อมวงกลม คือ การรับฟังและร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาตลาดทุน
วันนี้สมบัติชาติกำลังถูกเบียดบัง ... วันนี้ความเป็นธรรมเป็นสิ่งที่คนไทยโหยหา
หากชาติจะมั่นคงต้องมีประชาศรัทธา... อย่าให้ถูกกล่าวหาเอื้อประโยชน์เฉพาะคนรวย??

 


ที่มาคอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ