ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่www.tnews.co.th

ประวัติ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ วัดชนแดน (วัดช้างเผือก)

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ วัดช้างเผือก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ พระเกจิชื่อดังและเป็นพระนักพัฒนาที่มีคุณูปการต่อกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นอย่างมาก ท่านได้สร้างสมคุณงามความดีเอาไว้ทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นอเนกอนันต์ให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีไปอีกนานแสนนาน

หลังมรณภาพเมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา คณะศิษยานุศิษย์ ได้นำศพหลวงพ่อไปบรรจุไว้ในโลงแก้ว ตามคำสั่งสุดท้าย ก่อนมรณภาพที่สั่งไว้ว่า "ห้ามนำร่างกายกูไปเผา ต่อไปในวันข้างหน้า ร่างกายนี้จะมีคุณประโยชน์ต่อวัด"

อัตโนประวัติ เกิดในสกุล ม่วงดี ที่บ้านยางหัวลม ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2424 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเผือกและนางอินทร์ ม่วงดี ในช่วงวัยเยาว์ เกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี จึงไม่ค่อยเดือดร้อนและลำบากเท่าใด

เมื่ออายุได้ 16 ปี โยมบิดา ได้นำไปฝากให้พระอาจารย์สี วัดช้างเผือก ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ให้บวชเป็นสามเณร ได้ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยและวิทยาคมจนแตกฉานจากพระอาจารย์สี

พ.ศ.2445 เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดศิลาโมง ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ มีพระครูเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ธัมมปัญโญ หมายถึง ผู้มีความรู้ในพระธรรม

หลังอุปสมบท ท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก เพื่อศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมจากพระอาจารย์ปาน จนมีความเชี่ยวชาญ จากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ บำเพ็ญภาวนา แสวงหาสถานที่สัปปายะทำกัมมัฏฐาน ขณะเดียวกัน ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ต่างๆ

"หลวงพ่อทบ วัดชนแดน" อย่าเผาร่างกู ให้เก็บไว้!! จนกลายเป็นหิน!! แต่ละปีเปลี่ยนจีวร ศิษย์นำไปพกติดตัว ศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อมคลาย..

เช่าพระคลิ๊กที่นี่
สนใจคมแฝกคลิ๊ก

 

ในขณะออกท่องธุดงควัตร ได้มีโอกาสพบกับหลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต พระเกจิชื่อดัง โดยหลวงพ่อเขียนเป็นคนบ้านตะลิ่งชัน ต.ชอนไพร อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ แต่มีอายุและพรรษามากกว่า หลวงพ่อทบจึงเรียกขานหลวงพ่อเขียน ว่า "หลวงพี่" ทุกครั้งไป ทั้งสองท่าน เป็นสหายธรรม ที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด

ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อทบ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย อาทิ พระผง รูปหล่อ มากกว่า 200 พิมพ์ รูปหล่อหน้าฝรั่ง รูปหล่ออกซื่อ และรูปหล่อหัวไม้ขีด เป็นต้น ในส่วนของเครื่องราง คือ ตะกรุดโทน ถักด้าย ถือว่าเป็นที่นิยมมากที่สุดของบรรดาเซียนพระ มีพุทธคุณ แคล้ว คลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน

หลวงพ่อทบ ได้สร้างวัด ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถให้แก่วัดต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ ยังบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดที่ชำรุดทรุดโทรม

เมื่อท่านเดินธุดงค์ไปยังพื้นที่เขตอ.ชนแดน ญาติโยมได้พากันนิมนต์ให้ท่านสร้างวัดพระพุทธบาทเขาน้อย ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กแห่งหนึ่ง ท่านได้สร้างวัด สร้างกุฏิ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ จนเจริญรุ่งเรือง จนได้รับการยกฐานะให้เป็นวัดประจำอำเภอ

พ.ศ.2490 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2497 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอชนแดน และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูวิชิตพัชราจารย์ หลวงพ่อทบ ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2519 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 สิริอายุ 95 ปี

พระครูวิมลพัชรกิจ เจ้าอาวาสวัดช้างเผือก (ปัจจุบัน) ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงพ่อทบ บอกว่า ก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพ ท่านได้สั่งเป็นครั้งสุดท้ายว่า ห้ามไม่ให้เผาร่างของท่าน ด้วยในวันข้างหน้า ร่างของท่านจะมีคุณประโยชน์ต่อวัดอย่างมาก

"หลวงพ่อทบ วัดชนแดน" อย่าเผาร่างกู ให้เก็บไว้!! จนกลายเป็นหิน!! แต่ละปีเปลี่ยนจีวร ศิษย์นำไปพกติดตัว ศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อมคลาย..

 

ปัจจุบัน วัดช้างเผือกกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่ง ในแต่ ละวันจะมีประชาชนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดพากันมากราบสักการะร่างที่ไม่เน่าเปื่อยทุกวัน ร่างกายที่ไม่เน่าเปื่อยและกลายสภาพเป็นหิน นอนสงบนิ่งอยู่ภายในโลงครอบแก้ว เหมือนกับว่าท่านยังไม่มรณภาพ

ทุกปี วัดช้างเผือกจะเปลี่ยนผ้าไตรจีวรให้แก่ท่านเป็นประจำ และผ้าจีวรที่เปลี่ยนออกมา ชาวบ้านญาติโยมต่างพากันนำไปเป็นเครื่องราง กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อมคลาย แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานกว่า 35 ปี ส่วนวัตถุมงคลหลวงพ่อทบที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ รูปหล่อโบราณหน้าฝรั่งฐานสูง ปี 2505 เหรียญโดดร่ม เหรียญเพชรกรับ เป็นต้น

"หลวงพ่อทบ วัดชนแดน" อย่าเผาร่างกู ให้เก็บไว้!! จนกลายเป็นหิน!! แต่ละปีเปลี่ยนจีวร ศิษย์นำไปพกติดตัว ศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อมคลาย..

"หลวงพ่อทบ วัดชนแดน" อย่าเผาร่างกู ให้เก็บไว้!! จนกลายเป็นหิน!! แต่ละปีเปลี่ยนจีวร ศิษย์นำไปพกติดตัว ศักดิ์สิทธิ์ไม่เสื่อมคลาย..

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.itti-patihan.com