คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!
มีคำเก่าได้ยินมานานแล้วประโยคหนึ่ง คือที่พูดว่า “คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า” ความเชื่ออย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา และต้องระวังจะเป็นลัทธินิครนถ์ 
ที่พูดกันมาอย่างนั้น ความจริงก็คงประสงค์ดี คือมุ่งว่าถ้าเจอ เรื่องร้าย ก็อย่าไปซัดทอดคนอื่น และอย่าไปทำอะไรที่ชั่วร้ายให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยความโกรธแค้นเป็นต้น แต่ยังไม่ถูกหลักพระพุทธศาสนา และจะมีผลเสียมาก 
ลัทธินิครนถ์ ซึ่งก็มีผู้นับถือในสมัยพุทธกาลจนกระทั่งในอินเดียทุกวันนี้ เป็นลัทธิกรรมเก่าโดยตรง เขาสอนว่า คนเราจะได้สุข ได้ทุกข์อย่างไรก็เป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติปางก่อน และสอนต่อไปว่า ไม่ให้ทำกรรมใหม่ แต่ต้องทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ จึงจะสิ้นกรรมสิ้นทุกข์ นักบวชลัทธินี้จึงบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ คนที่พูดว่า เราอยู่ไปเพื่อใช้กรรมเก่านั้น ก็คล้ายกับพวกนิครนถ์นี่แหละ คิดว่าเมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าก็คงจะหมด ต่างแต่ว่า พวกนิครนถ์ไม่รอให้กรรมเก่าหมดไปเอง แต่เขาบำเพ็ญตบะเพื่อทำกรรมเก่าให้หมดไปด้วยความเพียรพยายามของเขาด้วย

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :"พระประยุทธ์ " พระสมเด็จราชาคณะสุดแสนจะสมถะเรียบง่าย เปิดกุฏิที่ไม่ต้องหรูหรากับแบบอย่าง"สันโดษในวัตถุแต่ไม่ถือสันโดษในกุศลธรรม" 

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!
มีคำถามที่น่าสังเกตว่า “ถ้าไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไปๆ กรรมเก่าจะหมดไปเองไหม”
เมื่อไม่ทำกรรมใหม่ อยู่ไป กรรมเก่าก็น่าจะหมดไปเอง แต่ไม่หมดหรอก ไม่ต้องอยู่เฉยๆ แม้แต่จะชดใช้กรรมเก่าไปเท่าไรๆ ก็ไม่มีทางหมดไปได้ เหตุผลง่ายๆ คือ 
๑. คนเรายังมีชีวิต ก็คือเป็นอยู่ ต้องกินอยู่ เคลื่อนไหวอิริยาบถ ทำโน่นทำนี่ เมื่อยังไม่ตาย ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ
๒. คนเหล่านี้เป็นมนุษย์ปุถุชน ก็มีโลภ โกรธ หลง โดยเฉพาะความหลง หรือโมหะนี้มีอยู่ประจำในใจตลอดเวลา เพราะยังไม่ได้รู้เข้าใจ ความจริงถึงสัจธรรม
เมื่อรวมทั้งสองข้อนี้ก็คือ คนที่อยู่เพื่อใช้กรรมนั้น เขาก็ทำกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลา แม้แต่โดยไม่รู้ตัว แม้จะไม่เป็นบาปกรรมที่ร้ายแรง แต่ก็เป็นการกระทำที่ประกอบด้วยโมหะ เช่นกรรมในรูปต่างๆ ของความประมาท ปล่อยชีวิตเรื่อยเปื่อย 
ถ้ามองลึกเข้าไปในใจ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ผุดโผล่ขึ้นมาในใจของเขาอยู่เรื่อยๆ ในลักษณะต่างๆ เช่น เศร้า ขุ่นมัว กังวล 
อยากโน่นอยากนี่ หงุดหงิด เหงา เบื่อหน่าย กังวล คับข้อง ฯลฯ 
นี่ก็คือทำกรรมอยู่ตลอดเวลา แถมเป็นอกุศลกรรมเสียด้วย เพราะฉะนั้นอย่างนี้จึงไม่มีทางสิ้นกรรม ชดใช้ไปเท่าไรก็ไม่รู้จักสิ้นสุด มีแต่เพิ่มกรรม

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :แค่คิดก็มันส์แล้ว!!จับตามหาเถรสมาคม หลัง “ปยุตโต” เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ผู้ที่ชี้ว่า ธรรมกายคือภัยแห่งพระพุทธศาสนา

คำถามคาใจ! “จริงไหม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่า?” วิธีที่ดีที่สุด สำหรับคนอยากชดใช้ให้ชีวิตหมดเวรหมดกรรม คลิกด่วน!!... #ธรรมะจากท่านปยุตฺโต!
“แล้วทำอย่างไรจะหมดกรรม ?” 
การที่จะหมดกรรม ก็คือ ไม่ทำกรรมชั่ว ทำกรรมดี และทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น คือแม้แต่กรรมดีก็เปลี่ยนให้ดีขึ้น จากระดับหนึ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง พูดเป็นภาษาพระว่า เปลี่ยนจากทำอกุศลกรรม เป็นทำกุศลกรรม และทำกุศลระดับสูงขึ้นไป จนถึงขั้นเป็นโลกุตตรกุศล ถ้าใช้ภาษาสมัยใหม่ ก็พูดว่า พัฒนากรรมให้ดียิ่งขึ้น เราก็จะมีศีล มีจิตใจ มีปัญญา ดีขึ้นๆ ในที่สุดก็จะพ้นกรรมพูดสั้นๆ ว่า กรรมไม่หมดไปด้วยการชดใช้กรรม แต่หมดกรรมด้วย การพัฒนากรรม คือปรับปรุงตัวให้ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นๆ จนพ้นขั้นของกรรมไป ถึงขั้นทำ แต่ไม่เป็นกรรม คือทำด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกครอบงำหรือชักจูงด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จึงจะเรียกว่า พ้นกรรม 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ที่มา FB: เพจวัดป่า @watpah
ติดตามข่าวเพิ่มเติมที่ :เปิดประวัติ "พระประยุทธ์ ปยุตโต" พระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อยู่แบบสมถะ ไม่ต้องหรูหรา (ข้อมูล)
ข่าวโดย :  กิตติ จิตรพรหม ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์