"เวียงสาโมเดล" สัมฤทธิ์ผล "กรมป่าไม้" ยกชูเป็นต้นแบบฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 13 จังหวัดภาคเหนือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน!!!

ติดตามข่าวเพิ่มเติม http://www.tnews.co.th

กรมป่าไม้นำเวียงสาโมเดลเป็นพื้นที่ต้นแบบการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 13 จังหวัดภาคเหนือ หลังพบผลสัมฤทธิ์จริง คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน พร้อมเร่งขยายผลการฟื้นฟูป่าต้นน้ำทั่วประเทศ

นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่าในอดีตที่ผ่านมาผืนป่าจังหวัดน่านถูกบุกรุกจับจองเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ส่งผลกระทบให้ระบบนิเวศป่าไม้เสียหาย พื้นที่ป่ากลายสภาพเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม จากปัญหาเหล่านี้ กรมป่าไม้จึงต้องดำเนินการเชิงรุกในการบังคับใช้กฎหมายตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64 และ 66 /2557 ตามนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพลในการทวงคืนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกเพื่อนำกลับมาฟื้นฟูให้กลับคืนเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม

 

"เวียงสาโมเดล" สัมฤทธิ์ผล "กรมป่าไม้" ยกชูเป็นต้นแบบฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 13 จังหวัดภาคเหนือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน!!!

อธิบดีกรมป่าไม้ เผยต่อว่า กรมป่าไม้ได้นำพื้นที่ใน อ.เวียงสา จ.น่านที่ทวงคืนมาแล้ว จำนวน 227 ไร่ ดำเนินการปลูกฟื้นฟูตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน 2559   ด้วยวิธีการจำแนกพื้นที่ปลูก โดยนำป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 3, 4  และ 5  ซึ่งผู้ยากไร้อาศัยทำกิน  มาปลูกฟื้นฟูตามแนวพระราชดำริ “สร้างป่า สร้างรายได้” ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  โดยใช้พันธุ์ไม้ยืนต้นประจำถิ่น เช่น ไม้สัก พะยูง มะค่า ปลูกควบคู่ไปกับไม้ผลกินได้ ไม้ใช้สอย พืชสมุนไพร เช่น ปลูกถั่วมะแฮะเพื่อปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้ผ่านมา 1 ปี  ได้ปรากฏผลสัมฤทธิ์แห่งความสำเร็จดังกล่าว  เนื่องจากชาวบ้านได้ใช้สอยไม้ผลที่เจริญเติบโต  ทำให้ช่วยลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม 
 

"เวียงสาโมเดล" สัมฤทธิ์ผล "กรมป่าไม้" ยกชูเป็นต้นแบบฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 13 จังหวัดภาคเหนือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน!!!

ส่วนพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ซึ่งบางส่วนได้เจรจาขอคืนพื้นที่มาแล้ว  แต่บางส่วนที่มีราษฎรผู้ยากไร้อาศัยทำกิน  และไม่สามารถนำคนเหล่านั้นออกจากป่าได้ ตามคำสั่ง คสช.  ที่ 66/2557  กรมป่าไม้ได้ใช้แนวทางให้คนอยู่ร่วมกับป่าโดยไม่กระทบต่อระบบนิเวศด้วยการปลูกป่าแบบ “วนประชารัฐ” ที่เน้นให้ชาวบ้านปลูกป่าคู่กับไม้ผลเพื่อช่วยเพิ่มรายได้  พร้อมกับสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่า  โดยให้คนในชุมชนสามารถเก็บผลผลิตจากป่าในพื้นที่ได้ภายใต้มาตรการและเงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด เช่น การใช้วิธีการปลูกต้นไม้เป็นแนวยาวไปตามเส้นชั้นความสูง  สลับการปลูกแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน เป็นต้น 

 

"เวียงสาโมเดล" สัมฤทธิ์ผล "กรมป่าไม้" ยกชูเป็นต้นแบบฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 13 จังหวัดภาคเหนือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน!!!

 

“นอกจากนี้  กรมป่าไม้ได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่ป่าที่ทวงคืนมาตามแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งสร้างเครือข่ายการรักษาป่าและฟื้นฟูป่า อย่างในพื้นที่ อ.สันติสุข จ.น่าน ที่กรมป่าไม้ทวงคืนพื้นที่ป่ามาได้ 1,950 ไร่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่ป่าต้นน้ำแห่งอื่น  ซึ่งปัจจุบันกรมป่าไม้ได้จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำไปแล้วประมาณ 20 แห่งใน 13 จังหวัดภาคเหนือ ผมเชื่อว่าจากนี้ไปพื้นที่บริเวณป่าต้นน้ำ จะไม่เห็นการปลูกพืชเดี่ยวอีก  แต่เราจะเห็นผืนป่าที่เขียวขจี พื้นที่ที่คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวปิดท้าย