มติเอกฉันท์!! “สนช.” 190 เสียง รับหลักการ พ.ร.บ.กสม.เซตซีโร่ตามคาด พร้อมตั้งกมธ.3ฝ่าย ถกร่างกฏหมายกกต.

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

วันนี้ 30 มิ.ย. 60 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธาน โดยได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งที่ประชุมมีมติ 190 คะแนนรับหลักการในวาระที่ 1 ของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้เสนอ พร้อมกับตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 24 คนเพื่อพิจารณาในรายละเอียด มีกำหนดเวลาในการทำงานให้เสร็จภายใน 45 วันก่อนส่งกลับมายังที่ประชุม สนช.เห็นชอบอีกครั้ง สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ การกำหนดให้มี กสม.จำนวน 7 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
        มติเอกฉันท์!! “สนช.” 190 เสียง รับหลักการ พ.ร.บ.กสม.เซตซีโร่ตามคาด พร้อมตั้งกมธ.3ฝ่าย ถกร่างกฏหมายกกต.

ทั้งนี้ กสม.จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ในด้านต่างๆ จํานวน 5 ด้าน อย่างน้อยด้านละ 1 คนแต่จะเกินด้านละ 2 คนไม่ได้ ได้แก่ 1. ด้านสิทธิมนุษยชนต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี 2. ด้านการสอนหรือทํางานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในระดับอุดมศึกษามาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี 3. ด้านกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ 4. ด้านการบริหารงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และ 5. ด้านปรัชญา วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของไทยเป็นที่ประจักษ์ที่จะยังประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี

มติเอกฉันท์!! “สนช.” 190 เสียง รับหลักการ พ.ร.บ.กสม.เซตซีโร่ตามคาด พร้อมตั้งกมธ.3ฝ่าย ถกร่างกฏหมายกกต.

ในส่วนอำนาจหน้าที่ของ กสม.นั้น มาตรา 34 กำหนดให้เมื่อความปรากฏต่อกสม.ไม่ว่าโดยทางใด ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งหรือผู้ร้องเรียนหรือไม่ก็ตามว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นให้คณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและทําความจริงให้ปรากฏโดยไม่ล่าช้า และต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ทราบถึงสาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นที่จะแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องนั้นหรือลักษณะเดียวกันนั้นขึ้นอีก

ทั้งนี้ สนช.ได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมกัน 3 ฝ่าย ระหว่าง สนช. กรธ. และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 11 คน เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต. ภายหลัง กกต.มีความเห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีข้อความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 11 คน ประกอบด้วย 1. นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. 2. นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ 3. นายตวง อันทะไชย 4. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. 5.นายสมชาย แสวงการ 6.พล.อ.ศุภวุฒิ อุตมะ 7. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. 8. นายประพันธ์ นัยโกวิท 9. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ 10. นายภัทระ คำพิทักษ์ และ 11. นายศุภชัย ยาวะประภาษ ซึ่งมีกำหนดประชุนัดแรกในวันที่ 4 ก.ค. .เวลา 09.30 น.

มติเอกฉันท์!! “สนช.” 190 เสียง รับหลักการ พ.ร.บ.กสม.เซตซีโร่ตามคาด พร้อมตั้งกมธ.3ฝ่าย ถกร่างกฏหมายกกต.