ตอกหน้าหงาย!!!“อัยการ”รู้ทัน“ยิ่งลักษณ์”ส่งศาลตีความคดีข้าวแค่ประวิงเวลา ลุยยื่นค้านจำเลย พบเคยยื่นศาลวินิจฉัยแล้วโดนยกคำร้อง???

http://deeps.tnews.co.th

จากกรณีทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลยในคดีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว ที่อัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่งประเด็นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า บทบัญญัติมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 และตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เกี่ยวกับการยึดสำนวนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นหลักว่า จะขัดหรือไม่ขัดกับมาตรา 235 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีวรรคท้ายว่า ให้ยึดสำนวน ป.ป.ช. เป็นหลัก แต่ให้ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้นั้น

       ทั้งนี้ได้มีรายงานว่า พนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ คัดค้านคำร้องของทนายฝ่ายจำเลยแล้ว ว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 235 และรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 277 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ให้ศาลฎีกาฯ ไต่สวนพยานหลักฐานโดยนำสำนวนการไต่สวนของ ป.ป.ช. เป็นหลักในการพิจารณา และให้ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ แม้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับจะแตกต่างกัน แต่มีความหมายเช่นเดียวกัน โดยให้ศาลมีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้

 

       การที่ศาลอนุญาตให้คู่ความทั้งโจทก์และจำเลยระบุพยานและส่งพยานเอกสารเพิ่มเติมต่อศาล ล้วนแล้วเป็นกระบวนการไต่สวนของศาลเพื่อให้ได้ ‘ความจริง’ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรคสาม คือ “วิธีพิจารณาคดีอาญาของศาลฎีกาด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ซึ่งปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 5 ดังนั้นการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลจึงชอบด้วยกฏหมายแล้ว

 

       การที่จำเลยโต้แย้งว่า ศาลใช้ดุลยพินิจให้โจทก์ระบุพยาน และส่งเอกสารหลักฐานต่อศาลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียวนั้นไม่ถูกต้อง เพราะศาลได้อนุญาตให้ทั้งโจทก์และจำเลย ระบุอ้างพยานหลักฐานได้ทั้ง 2 ฝ่าย จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว การที่ศาลจะส่งคำโต้แย้งของจำเลยไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของศาลโดยเฉพาะ อีกทั้งจำเลยเคยยื่นคำร้องลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดยกคำร้อง ดังนั้นการยื่นคำร้องของจำเลยในครั้งนี้จึงเป็นการประวิงการพิจารณาคดีของศาลเท่านั้น จึงขอประทานศาลยกคำร้องดังกล่าวของจำเลย

ตอกหน้าหงาย!!!“อัยการ”รู้ทัน“ยิ่งลักษณ์”ส่งศาลตีความคดีข้าวแค่ประวิงเวลา ลุยยื่นค้านจำเลย พบเคยยื่นศาลวินิจฉัยแล้วโดนยกคำร้อง???

       ก่อนหน้านี้นายวิม รุ่งวัฒนจินดา อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาคดีโครงการรับจำนำข้าวของทีมกฏหมายของนางสาวยิ่งลักษณ์ ว่ากระบวนพิจารณาคดีที่ผ่านมาตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 นั้น เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่บัญญัติไว้ว่า การพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นให้ยึดสำนวนของ ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณาคดีและให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติ่มได้นั้น

 

       “ขณะนี้การประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ได้มีบทบัญญัติใหม่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯให้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ที่ระบุตอนท้ายว่า การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ให้นําสํานวนการไต่สวนของ ป.ป.ช.เป็นหลักในการพิจารณา และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้ศาลมีอํานาจไต่สวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ ดังนั้นการยื่นคำร้องของทนายฝ่ายจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า การพิจารณาตามกระบวนการเดิมเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นการร้องขอความเป็นธรรมต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้ต่อสู้คดีและพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองอย่างเต็มที่ เนื่องจากที่ต่อสู้คดีของจำเลยที่ผ่านมา อัยการฝ่ายโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ โดยไม่มีการไต่สวนไว้ในรายงาน และสำนวนของ ป.ป.ช.เอกสารบางเรื่องเป็นเอกสารใหม่ในคดีที่กล่าวหาบุคคลอื่น และไม่ได้อยู่ในสำนวน ของ ป.ป.ช.มาตั้งแต่ต้น ซึ่งจำเลยได้ร้องคัดค้านเพราะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี และองค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาแล้วยกคำร้อง”  อย่างไรก็ตามองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาฯที่รับผิดชอบสำนวนคดีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว จะไต่สวนพยานฝ่ายจำเลยนัดสุดท้ายในวันที่ 21 ก.ค. 2560 ก่อนพิจารณาว่า จะส่งคำร้องของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่

ตอกหน้าหงาย!!!“อัยการ”รู้ทัน“ยิ่งลักษณ์”ส่งศาลตีความคดีข้าวแค่ประวิงเวลา ลุยยื่นค้านจำเลย พบเคยยื่นศาลวินิจฉัยแล้วโดนยกคำร้อง???

 

 

 

 

ขอบคุณ : สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org