ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เปิดตำนานเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก


ตำนานพระราชพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระนางสร้อยดอกหมากไว้ว่า พระเจ้ากรุงจีน ทรงมีบุตรบุญธรรมจากจั่นหมากชื่อว่า สร้อยดอกหมาก ครั้นนางจำเริญวัยเป็นสาวแรกรุ่น โหรหลวงทำนายว่าจะได้กษัตริย์กรุงไทยเป็นพระสวามี พระเจ้ากรุงจีนจึงทรงมีพระราชสาสน์มาถวายพระเจ้าสายน้ำผึ้ง


แต่บ้างก็ว่า  "พระเจ้าสายน้ำผึ้ง" ได้ตัดสินพระทัยเสด็จโดยเรือเพียงลำเดียว เพื่อเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ และด้วยกุศลที่สร้างมาแต่ปางหลัง จึงทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปลอดภัยจนกระทั่งถึงกรุงจีน

เปิดตำนานรักไทยจีน “พระนางสร้อยดอกหมาก” กับเจ้าชายไทย ที่ลงเอยด้วยความเสียใจ กลายเป็นโศกนาฏกรรม เพราะ "ความแง่งอน"

เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งก็เสด็จไปกรุงจีน  ด้วยพระบารมีพระราชกุศลที่สั่งสมมาแต่ปางหลังนำพาให้พระองค์ฝ่าภยันตรายไปถึงกรุงจีนด้วยความปลอดภัย พระเจ้ากรุงจีนทรงโสมนัสเป็นยิ่งนัก จึงมีรับสั่งให้จัดกระบวนแห่ออกไปรับพระเจ้าสายน้ำผึ้งเข้ามาภายในพระราชวัง และให้ราชาภิเษกพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง

 

จำเนียรกาลผ่านไป พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงกราบถวายบังคมลาพระเจ้ากรุงจีนกลับพระนคร พระเจ้ากรุงจีนจึงพระราชทานเรือสำเภา ๕ ลำ กับชาวจีนที่มีฝีมือในการช่างสาขาต่างๆ จำนวน ๕๐๐ คน ให้เดินทางกลับสู่กรุงอโยธา    

 

เมื่อเดินทางถึงปากน้ำแม่เบี้ย ใกล้แหลมบางกะจะ (บริเวณวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน) พระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จเข้าพระนครก่อน เพื่อจัดเตรียมตำหนักซ้ายขวาต้อนรับพระนางสร้อยดอกหมาก ครั้นรุ่งเช้าก็จัดขบวนต้อนรับโดยให้เสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่มาอัญเชิญพระนางสร้อยดอกหมากเข้าเมืองโดยพระองค์ไม่ได้เสด็จไปด้วย พระนางสร้อยดอกหมากไม่เห็นพระเจ้าสายน้ำผึ้งมารับก็เกิดความน้อยพระทัย จึงไม่ยอมเสด็จขึ้นจากเรือ กล่าวว่า


“มาด้วยพระองค์โดยยาก เมื่อมาถึงพระราชวังแล้วเป็นไฉนพระองค์จึงไม่มารับ ถ้าพระองค์ไม่เสด็จมารับ ก็จะไม่ไป”

เสนาบดีนำความขึ้นกราบทูล พระเจ้าสายน้ำผึ้งคิดว่านางหยอกเล่น จึงกล่าวสัพยอกว่า


 “เมื่อมาถึงแล้ว จะอยู่ที่นั่นก็ตามใจเถิด”

   ครั้นรุ่งขึ้น พระเจ้าสายน้ำผึ้งเสด็จมารับด้วยพระองค์เอง เมื่อเสด็จขึ้นไปบนเรือสำเภา พระนางสร้อยดอกหมากจึงตัดพ้อต่อว่ามากมาย พระเจ้าสายน้ำผึ้งจึงทรงสัพยอกอีกว่า


 “เมื่อไม่อยากขึ้นก็จงอยู่ที่นี่เถิด”

ฝ่ายพระนางสร้อยดอกหมากได้ฟังดังนั้น เข้าพระทัยผิดคิดว่าตรัสเช่นนั้นจริงๆ ก็เสียพระทัยยิ่งนัก จึงกลั้นพระหฤทัยจนถึงแก่ทิวงคต ณ บนสำเภาเรือพระที่นั่ง ที่ท่าปากน้ำแม่เบี้ยนั่นเอง ครั้นปีมะโรง จุลศักราช ๔๐๖ ฉอศก จึงอัญเชิญพระศพมาพระราชทานเพลิงที่แหลมบางกะจะ และสถาปนาบริเวณนั้นเป็นพระอารามนามว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” หรือ “พแนงเชิง”  ซึ่งแปลว่า “พระนางผู้มีแง่งอน”  

เปิดตำนานรักไทยจีน “พระนางสร้อยดอกหมาก” กับเจ้าชายไทย ที่ลงเอยด้วยความเสียใจ กลายเป็นโศกนาฏกรรม เพราะ "ความแง่งอน"

 

เปิดตำนานรักไทยจีน “พระนางสร้อยดอกหมาก” กับเจ้าชายไทย ที่ลงเอยด้วยความเสียใจ กลายเป็นโศกนาฏกรรม เพราะ "ความแง่งอน"

 

ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ข้างพระวิหารหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง ภายในศาลเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากที่แต่งองค์แบบจีน ชาวจีนให้ความเคารพนับถือมาก แทบทุกคนเมื่อมาปิดทองหลวงพ่อโตในพระวิหารแล้วจะต้องแวะมาสักการะองค์เจ้าแม่สร้อยดอกหมากด้วย

ความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารของเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก มีผู้กล่าวขานมาเนิ่นนาน ว่ากันว่าท่านเป็นผู้ถือพระองค์ และมีรักเดียวใจเดียวต่อพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ไม่โปรดให้ผู้ชายเข้าไปแตะต้องพระรูปของท่านไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น  

 

เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่ ปรากฏว่า เมื่อชายผู้นั้นกลับไปบ้านก็เกิดเจ็บอย่างกะทันหันและถึงแก่ความตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ และหากย้อนหลังไปอีก เหตุการณ์เช่นกรณีนี้ก็เคยมีผู้ชายเข้าไปทำความสะอาดพระรูปเจ้าแม่แล้วถึงแก่ความตายถึง ๒ คน และเป็นความตายโดยฉับพลันทั้งสิ้นจึงเป็นที่รู้กันว่า เจ้าแม่ไม่ยินดีและไม่ยอมให้ชายคนใดถูกพระวรกายของท่าน

 

 

ที่มา : kapook.com / sookjai.com