“จะทรงรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ที่พระราชทานไว้เสมอ” ย้อนวันทรงถวายสัตย์ปฏิญาณรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์

http://deeps.tnews.co.th

จากกรณีประกาศพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ วันที่ 28 ธันวาคม 2515 เล่นที่ 89 ตอนที่ 200 มีความตอนหนึ่งว่า

ก็โดยราชนีติอันมีมาในแผ่นดินนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมราชโอรสซึ่งจะทรงรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ทรงพระเจริญวัยสมควรแล้ว ย่อมโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระอิสริยยศ ตั้งแต่งไว้ในตำแหน่ง สมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร ในกาลปัจจุบันนี้ประชาชนทั้งหลายตลอดถึง ชาวต่างประเทศทั่วไปในโลกย่อมพากันนิยมยกย่องว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณทรงอยู่ในฐานะที่จะรับราชสมบัติปกครองราชอาณาจักรสืบสนองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเล่าก็ทรงพระเจริญพระชนมายุบรรลุนิติภาวะ ทรงพระวีรยภาพและพระสติปัญญาสามารถที่จะรับภาระของแผ่นดินตามพระอิสริยศักดิ์ได้ ถึงสมัยที่จะสถาปนาเป็นองค์รัชทายาท ควรทรงอนุวัตรให้เป็นไปตามธรรมนิยม และขัตติยราชประเพณี ตามความเห็นชอบเห็นดีของมหาชน และผู้บริหารประเทศทุกฝ่ายเฉลิมพระเกียรติยศขึ้นให้สมบูรณ์ตามตำแหน่งทุกประการ

 

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

“จะทรงรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ที่พระราชทานไว้เสมอ” ย้อนวันทรงถวายสัตย์ปฏิญาณรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์

อนึ่ง ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 มาตรา 4(1) บัญญัติ พระรัชทายาทคือ เจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์ พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมติขึ้น เพื่อเป็นผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป และ มาตรา 4(2) บัญญัติว่า สมเด็จพระยุพราชคือ พระรัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

 

ตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันที่ 28 ธันวาคม 2515  นั้น เป็นตำแหน่งเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของไทย เมื่อพ.ศ.2429  และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร  พระองค์ที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2437 ซึ่งต่อมา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร  ได้ทรงรับราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จึงเป็นตำแหน่งพระรัชทายาท ตามกฎมณเฑียรบาลดังกล่าว และตามที่รัฐธรรมนูญระบุถึง

“จะทรงรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ที่พระราชทานไว้เสมอ” ย้อนวันทรงถวายสัตย์ปฏิญาณรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์

       อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนไปในวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ที่ได้มีพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาลักษณ์กองประกาศิต สำนักนายกรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระบรมราชโองการสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ตมาที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพวรางกูร สิริกิติยสมบูรณ์สวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรันเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร มุสิกนาม และประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง พระราชครูวามเทพมุนีประกอบพิธีแช่งน้ำ ด้วยการร่ายพระเวท อ่านโองการแช่น้ำ เชิญพระแสงศร พระแสงราชศัตราวุธสำคัญ พระแสงประจำรัชกาล แทงน้ำในขันพระสาคร หลังจากจบพิธีแช่งน้ำ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณความว่า "จะทรงรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ที่พระราชทานไว้เสมอ"

“จะทรงรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ที่พระราชทานไว้เสมอ” ย้อนวันทรงถวายสัตย์ปฏิญาณรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์