“ความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติ คนละส่วนกับการทำผิด” เปิดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำไมถึงต้องตัดสินยืนจำคุกจำเลยฐานทุจริต??

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

จากกรณีศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้อง นางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด อดีตพนักงานจัดทำคิวโฆษณาของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), บริษัท ไร่ส้ม จำกัด โดย น.ส.อังคนา วัฒนมงคลศิลป์ และ น.ส.สุกัญญา แซ่ลิ่ม ในฐานะ กก.ผจก.บจก.ไร่ส้ม, นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง และ กก.ผจก.บจก.ไร่ส้ม และ น.ส.มณฑา ธีระเดช เจ้าหน้าที่ บจก.ไร่ส้ม เป็นจำเลย 1-4

       ทั้งนี้ในความผิดฐานเป็นพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่, เป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่องค์กร, เป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และสนับสนุนพนักงานกระทำความผิดดังกล่าว ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 ม.6, 8 และ 11 กรณีการยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ คุยคุ้ยข่าวออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท. กว่า 138 ล้านบาท

“ความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติ คนละส่วนกับการทำผิด” เปิดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำไมถึงต้องตัดสินยืนจำคุกจำเลยฐานทุจริต??

       สำหรับศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2559 จำคุกจำเลยที่ 1 นางพิชชาภา เอี่ยมสะอาด กระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 30 ปี ปรับจำเลยที่ 2 บริษัท ไร่ส้ม จำกัด กระทงละ 2 หมื่นบาท รวมปรับ 1.2 แสนบาท จำคุกจำเลยที่ 3 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และจำเลยที่ 4 น.ส.มณฑา ธีระเดช กระทงละ 3 ปี 4 เดือน รวมจำคุกจำเลยที่ 3 และ 4 คนละ 20 ปี แต่ทางนำสืบเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 20 ปี จำคุกจำเลยที่ 3 และ 4 คนละ 13 ปี 4 เดือน และปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 8 หมื่นบาท ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยที่ 1, 3 และ 4 โดยจำเลยทั้งหมดได้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์สู้คดี

 

       ต่อมาจำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดี โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการจัดทำคิว และทราบความเป็นไปของรายละเอียดการโฆษณาตั้งแต่แรกเริ่ม เป็นสำนึกในหน้าที่จะต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของรัฐ จะอ้างว่ามีช่องว่างทางการตรวจสอบไม่ได้ เมื่อมีโฆษณาเกินก็จะต้องจ่ายค่าโฆษณา แต่นางพิชชาภา จำเลยที่ 1 ใช้น้ำยาลบคำผิดในใบคิวโฆษณาของบริษัทไร่ส้ม จำเลยที่ 2 แม้จะอ้างว่าทำไปเพราะตกใจกลัวจะต้องรับผิดก็เป็นข้ออ้างที่ไม่มีน้ำหนัก

“ความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติ คนละส่วนกับการทำผิด” เปิดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำไมถึงต้องตัดสินยืนจำคุกจำเลยฐานทุจริต??

       ส่วนที่บริษัทไร่ส้ม จำเลยที่ 2 และนายสรยุทธ จำเลยที่ 3 อ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลบรายการในใบคิวโฆษณา เห็นว่านางพิชชาภา จำเลยที่ 1 ยอมรับเกี่ยวกับเหตุผลในการลบรายการใบคิวอ้างว่าได้รับการร้องขอจากนายสรยุทธ จำเลยที่ 3

      

       “ที่บริษัทไร่ส้ม และนายสรยุทธ กล่าวอ้างจึงเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่น่าเชื่อถือ ส่วนคุณงามความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติและความดีคนละส่วนกับพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด ศาลต้องพิเคราะห์จากพยานหลักฐานที่ปรากฎจากการไต่สวน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 4 คน กระทำความผิดหลายกรรมด้วยการมอบเช็ค 6 ฉบับ ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน จำคุกจำเลยที่ 3 และ 4 คนละ 13 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และปรับจำเลยที่ 2 เป็นเงิน 8 หมื่นบาท”

“ความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติ คนละส่วนกับการทำผิด” เปิดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำไมถึงต้องตัดสินยืนจำคุกจำเลยฐานทุจริต??

       อย่างไรก็ตาม นายมนต์อนันต์ เรืองจรัส ทนายความของนายสรยุทธ เปิดเผยภายหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตัดสินยืนโทษจำคุกและโทษปรับตามศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยทั้ง 4 คนว่า เตรียมจะยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดและบัญชีเงินฝากขอประกันตัวระหว่างฎีกา ซึ่งเดิมชั้นต้นได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสดไว้ซึ่งศาลตีประกันชั้นต้น คนละ 2 ล้านบาท วันนี้ต้องรอดูว่าศาลจะพิจารณาตีหลักทรัพย์อย่างไร และสำหรับการยื่นฎีกาคดีนี้สามารถยื่นได้ตามขั้นตอนของกฎหมายเดิมทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

      

       ทั้งนี้ต่อมา ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้พิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวของนายสรยุทธ และจำเลยร่วมทั้งหมดแล้ว ซึ่งยืนหลักทรัพย์เงินสด และบัญชีเงินฝากคนละ 4 ล้านบาทแล้ว และมีความเห็นควรส่งคำร้องให้ศาลฎีกาเป็นผู้สั่งประกัน จากนั้นปรากฏว่าศาลฏีกาได้มีคำสั่งยกคำร้องได้พิเคราะห์คำร้องและหลักทรัพย์ในการประกันตัวของจำเลยแล้วเห็นว่าคดีต้องห้ามฎีกา ในชั้นนี้จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวพวกจำเลย "เนื่องจากคดีต้องห้ามฏีกาในข้อเท็จจริง ตามหลักของประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 บัญญัติว่าในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี โทษปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ ห้ามมิให้คู่ความฏีกาในปัญหาข้อเท็จจริง"ภายหลังที่ได้รับทราบคำสั่งศาลฏีกาแล้วเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ได้ควบคุมนายสรยุทธ นางพิชชาภา และน.ส.มณฑา ขึ้นรถตู้เรือนจำไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และทัณฑสถานหญิงกลาง

“ความดีที่นายสรยุทธ กล่าวอ้างนั้นเป็นเรื่องของประวัติ คนละส่วนกับการทำผิด” เปิดคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำไมถึงต้องตัดสินยืนจำคุกจำเลยฐานทุจริต??