ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??

ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

จากกรณีศาลอาญานัดฟังคำสั่งฎีกาคดีสลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.เมื่อ ปี 2553 หมายเลขดำ อ.4552/56 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง และอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ผอ.ศอฉ.) เป็นจำเลยในความผิด ฐานร่วมกันก่อให้เกิดการฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 7 เม.ย.-19 พ.ค.53 จำเลยกับพวกร่วมกันมีคำสั่ง ศอฉ.ให้มีการสลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วม นปช.โดยใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนจริงเพื่อขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

       คดีนี้ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งให้ยกฟ้อง ไม่รับสำนวนคดีไว้พิจารณา เนื่องจากเห็นว่า แม้อัยการโจทก์จะกล่าวหาว่านายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ได้ออกคำสั่ง ศอฉ. กระชับพื้นที่ หรือสลายการชุมนุม แต่เป็นการใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ราชการในฐานะนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง ผอ.ศอฉ.ตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ด้วย ไม่ใช่การกระทำทางอาญาที่กระทำโดยส่วนตัว ดังนั้นจึงเป็นการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้มีอำนาจไต่สวน และหาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด ก็ต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่มีอำนาจไต่สวนชี้มูลความผิดเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา พิพากษายกฟ้องไม่รับสำนวนคดีไว้พิจารณา

ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??

       ต่อมาอัยการโจทก์ยื่นฎีกา ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาด้วย ทั้งนี้ ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีดังกล่าวต้องให้คณะกรรมการป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน รวบรวมพยานหลักฐานและยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่กรมสอบสวรคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปสำนวนส่งอัยการคดีพิเศษ ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เนื่องจากคดีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พศ. 2542 ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษามานั้น ชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนยกฟ้อง

ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??

       ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21ส.ค.60 ที่ผ่านมา ศาลอาญา ได้นัดตรวจหลักฐานในคดีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กับพวกเป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบและเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา

 

       อย่างไรก็ตามจากกรณีเมื่อ ก.ค.54 - 13 ธ.ค.55 จำเลยทั้งสี่สรุปสำนวนกล่าวหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าและพยายามฆ่าโดยเจตนาและเล็งเห็นผล จากการออกคำสั่ง ศอฉ.ใช้กำลังเจ้าหน้าที่กระชับพื้นที่การชุมนุมของ นปช.เมื่อปี 2553 โจทก์เห็นว่าการแจ้งข้อหาบิดเบือนจากข้อเท็จจริงและอำนาจสอบสวนเป็นของ ป.ป.ช.ไม่ใช่ ดีเอสไอ ศาลสอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ จำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งนี้ ทนายโจทก์แถลงนำพยานเข้าสืบ 8 ปาก ใช้เวลา 5 นัด ส่วนทนายจำเลยแถลงนำพยานเข้าสืบ 13 ปาก ใช้เวลา 8 นัด ศาลนัดสืบพยานโจทก์ปากแรกวันที่ 6 มี.ค.61 และสืบพยานจำเลยปากแรกวันที่ 27 มี.ค.61 ก่อนมีคำพิพากษาต่อไป

ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??

       ก่อนหน้านี้ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ห้องพิจารณาคดี 910 ศาลนัดฟังคำสั่งศาลฎีกา คดีหมายเลขดำที่ อ.310/2556 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ในฐานะอดีตหัวหน้าชุดคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ จากเหตุรุนแรงทางการเมืองปี 2553 พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ และ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ในฐานะพนักงานสอบสวน เป็นจำเลยที่ 1-4 ในความผิดฐานเป็นร่วมกันเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 90, 157, 200

 

       คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกฟ้อง ให้เหตุผลว่า การกระทำของจำเลยทั้งสี่เป็นการดำเนินการไปตามพยานหลักฐาน กระทำไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย พยานหลักฐานที่นำสืบของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาบิดเบือนแจ้งข้อกล่าวหา หรือกลั่นแกล้งโจทก์แต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ระบุว่าขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองมีตำแหน่งทางการเมือง คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจการสืบสวนสอบสวนของ ป.ป.ช.ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขนั้น เห็นว่าคดีที่จำเลยได้ดำเนินการทำสำนวนและสั่งให้พนักงานอัยการนั้น เป็นคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ซึ่งอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ฟ้องโจทก์ ดังนั้นการกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ไม่ได้บิดเบือนหรือกลั่นแกล้ง จึงพิพากษายกฟ้อง

ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??

       ต่อมาโจทก์ทั้งสองยื่นฎีกาคัดค้านศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้ว คดีต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า คดีของโจทก์ทั้งสองมีความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุ ม.66 วรรคแรกบัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีเหตุอันควรสงสัยหรือผู้กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่นร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวน

 

       ดังนั้นจะเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่มีผู้กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริง และเมื่อเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลให้ส่งสำนวนและความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาล การกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่ได้สอบสวนและแจ้งข้อหาโจทก์ทั้งสอง ตามที่โจทก์ทั้งสองนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนมามีเหตุผลให้เชื่อว่า จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 200 ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย จึงให้ประทับรับฟ้องคดี พร้อมนัดประชุมคดี ตรวจหลักฐานและสอบคำให้การจำเลยทั้งสี่ ในวันที่ 21 ส.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

ลุ้นกรรมสนอง!?! ธาริตระทึกหนัก!!!ขึ้นศาลก่อนนัดพิพากษา ปฏิบัติหน้าที่มิชอบคดีสลายม็อบปี53 หลังฏีกายกฟ้องอภิสิทธิ์-สุเทพ ไม่ใช่อำนาจดีเอสไอ??