ข้าพเจ้าไม่ค่อยสบายช่วงที่สอบเข้า นึกย้อนไปรู้สึกว่าครูบาอาจารย์เพื่อนฝูง อดทนกับข้าพเจ้าพอใช้ !?! สมเด็จพระเทพฯทรงเล่าความประทับใจต่อจุฬาฯ

http://deeps.tnews.co.th

จากกรณี ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำเสนอ พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเล่าไว้ในวารสารจามจุรี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและประทับใจยิ่งต่อประชาชนคนไทย ซึ่งมีดังนี้

 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้คะแนนสะสมเฉลี่ย 3.98 เป็นที่หนึ่งของชั้น และได้รับพระราชทานเหรียญทองในฐานะที่ทรงสอบได้คะแนนสูงสุดในกลุ่มบัณฑิตวิชาเอก สาขาประวัติศาสตร์ ผู้ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญทองนั้น จะต้องได้รับทุนเรียนดีทุกปีการศึกษา สอบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และเป็นที่หนึ่งในวิชาเอกนั้นๆ ในระหว่างที่เรียนปริญญาตรีนั้นด้วย

“ข้าพเจ้าสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ เหตุผลใหญ่ที่สอบเข้าคณะนี้ก็คงเหมือนคนอื่นๆ คือเป็นคณะที่คะแนนสูงสุด อีกประการหนึ่งในช่วงที่สอบเข้าข้าพเจ้าไม่ค่อยสบายจึงเลือกคณะที่ไม่ต้องสอบหลายวิชา และไม่ต้องสอบวิชาพิเศษ ถ้าสบายดีคงต้องเลือกคณะที่มีวิชาพิเศษ เช่น โบราณคดี หรือ ครุ-พละเอาไว้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าคงต้องติดอักษรฯ เพราะคะแนนออกมาไม่เลวนัก จำได้ว่า เมื่อประกาศผลการสอบ หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า “ที่หนึ่งตกอันดับ” เนื่องจากข้าพเจ้าสอบชั้น ม.ศ. ๕ ได้ที่ ๑ แต่มาเข้าคณะอักษรศาสตร์ได้เป็นที่ ๔

ข้าพเจ้าไม่ค่อยสบายช่วงที่สอบเข้า นึกย้อนไปรู้สึกว่าครูบาอาจารย์เพื่อนฝูง อดทนกับข้าพเจ้าพอใช้ !?! สมเด็จพระเทพฯทรงเล่าความประทับใจต่อจุฬาฯ

การเรียนปีที่ ๑ เป็นปีที่ข้าพเจ้าคิดว่าเรียนลำบาก แต่ก็ตื่นเต้น ท้าทาย และสนุกสนาน เพราะว่าจะต้องทำความรู้จักอาจารย์และเพื่อนใหม่ๆ มากมาย ทั้งเพื่อนในคณะและต่างคณะ ทั้งที่เป็นรุ่นพี่และรุ่นเดียวกัน บางทีจำไม่ได้ แต่ก่อนเคยอยู่โรงเรียนจิตรลดาซึ่งมีนักเรียนน้อย รู้จักกันหมดทุกคน นับว่าต้องปรับตัวอยู่มาก มานึกย้อนหลังแล้วรู้สึกว่า ครูบาอาจารย์เพื่อนฝูง เขาก็อดทนกับข้าพเจ้าพอใช้ ข้าพเจ้ามักพูดช้าตะกุกตะกัก เขาก็ยอมฟังดี นานๆ ก็ว่าเอาบ้างว่าพูดแบบนี้น่ารำคาญ ต่อมาข้าพเจ้าพูดดีขึ้นก็ชมเชย ครั้นพูดได้ดีแล้ว ข้าพเจ้าเลยไม่ยอมหยุดพูด กลายเป็นคนพูดมาก ทุกชั่วโมงต้องหาเรื่องพูดในห้อง ซักถามอาจารย์บ้าง ตอบคำถามบ้าง การพยายามจดจำชื่ออาจารย์และเพื่อนๆ ให้ได้ บางทีก็ยากสำหรับผู้มาใหม่ อาจารย์บางท่านมีหลายชื่อ ทั้งชื่อจริงและชื่อที่นิสิตตั้ง ก็ต้องจำให้ได้ทั้งสองชื่อหรือหลายชื่อ เมื่อพี่ใช้ให้ไปส่งหนังสือตามโต๊ะจะได้ส่งถูก สำหรับเพื่อน ในวันแรกๆ ก็จำไม่ได้ เช่น ฝาแฝด ป้อม-อ้วน มาคนละทีก็ไม่ทราบว่าใครเป็นป้อมใครเป็นอ้วน…”

ข้าพเจ้าไม่ค่อยสบายช่วงที่สอบเข้า นึกย้อนไปรู้สึกว่าครูบาอาจารย์เพื่อนฝูง อดทนกับข้าพเจ้าพอใช้ !?! สมเด็จพระเทพฯทรงเล่าความประทับใจต่อจุฬาฯ

 

 

 

ขอบคุณ : วารสารจามจุรี “รำลึกถึงเทวาลัยถิ่นอักษร” พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีนาคม ๒๕๔๐

ขอบคุณ : เพจชมรมคนรักในหลวงจังหวัดเพชรบูรณ์