ติดตามข่าวเพิ่มเติม www.tnews.co.th

หากพูดถึงเกาะในประเทศไทยที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งแนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล เชื่อว่าเกาะที่หลายคนนึกถึงเห็นจะหนีไม่พ้น เกาะโลซิน (Losin) หรือที่เรียกกันว่า กองหินโลซิน เกาะที่เล็กที่สุดในประเทศไทย เพราะมีเพียงกองหินพ้นน้ำทะเลลึกขึ้นมากินเนื้อที่ไม่เกิน 100 ตารางเมตร เป็นกองหินล้วน ไม่มีต้นไม้และอ่าวหลบลม มีเพียงประภาคารที่ส่งไฟสัญญาณเตือนอยู่บนยอดเท่านั้น

โดยเกาะโลซินตั้งอยู่ในอาณาเขตการปกครองของตำบลน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี นับเป็นจุดดำน้ำที่อยู่ตอนใต้สุดของอ่าวไทย และไกลที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ทั้งยังเคยเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างไทยกับมาเลเซีย แต่สุดท้ายไทยก็สามารถอ้างสิทธิเหนือดินแดนได้และใช้เกาะแห่งนี้เป็นจุดอ้างอิงอาณาเขตทางทะเล

 

เปิดผลการสำรวจ "เกาะโลซิน" เกาะจิ๋วใต้สุดอ่าวไทย เตรียมยกระดับ ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการัง!!!

 

 

โดยเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เตรียมประกาศให้เกาะโลซินเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการังแล้ว เนื่องจากเกาะโลซินเป็นเกาะห่างไกลที่ยังมีทรัพยากรใต้ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งแนวปะการัง ปะการังอ่อน และกัลปังหา แม้สีสันจะไม่สดใสเท่าฝั่งอันดามันก็ตาม รวมทั้งมีฉลามวาฬ กระเบนราหู โรนัน กระเบนนก และสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ใต้ท้องทะเล ด้วยเหตุนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจและเก็บข้อมูลทรัพยากรใต้ท้องทะเล เพื่อนำขึ้นมาวิเคราะห์เชิงวิชาการ ก่อนประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการัง

สำหรับการสำรวจครั้งนี้ ได้ระดมผู้เชี่ยวชาญและนักดำน้ำมาจากศูนย์วิจัยที่ จ.สมุทรสาคร จ.ระยอง จ.สงขลา จ.ภูเก็ต และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วยกันรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็น 4 ทีม คือ 

1. ทีมสำรวจและเก็บตัวอย่างปะการัง 
2. ทีมปลา 
3. ทีมหอย 
4. ทีมเอคไคโนเดิม หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตามแนวปะการัง ปู กุ้ง รวมถึงฟองน้ำ และสาหร่าย 

 

เปิดผลการสำรวจ "เกาะโลซิน" เกาะจิ๋วใต้สุดอ่าวไทย เตรียมยกระดับ ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการัง!!!

 

โดยจะมีการดำน้ำเก็บตัวอย่างวันละ 2 ไดฟ์ เป็นเวลา 3 วัน รวมทั้งใช้เรือลากถุงตาข่ายขนาดเล็กในระยะ 1 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร เพื่อเก็บตัวอย่างแพลงตอน

ล่าสุด (14 ก.ย.60)  มีการรายงานความคืบหน้าผลการสำรวจ เกาะโลซิน ระบุว่า แนวปะการังด้านตะวันตกและด้านทิศใต้ของเกาะโลซินมีลักษณะเหมือนกัน ที่ระดับลึก ๘-๑๕ เมตร ปะการังขึ้นบนโขดหิน มีปะการังที่มีชีวิต ๔๐% ปะการังตาย ๑๐% และพื้นหิน ๕๐% ปะการังส่วนใหญ่คือปะการังโขด ปะการังดอกกะหล่ำ ถัดลึกลงมาตั้งแต่ที่ระดับ ๑๕ เมตรจนถึง ๓๐ เมตร เป็นบริเวณที่ปะการังขึ้นหนาแน่นมาก มีปะการังที่มีชีวิตประมาณ ๗๐% มีเศษซากปะการังกระจายบนพื้นทราย ๓๐% ปะการังที่พบโดดเด่น ในจุดนี้ เช่น ปะการังเขากวางซึ่งเป็นดงขนาดใหญ่ , ปะการังโต๊ะ และมีปะการังช่องเล็กแบบแผ่น เป็นต้น  

นอกจากนี้ยังมีปะการังที่มีชีวิตเพิ่มมากขึ้นเป็น ๗๐% ปะการังดาวใหญ่ ขึ้นโดดเด่นมาก บริเวณก้นโซนลาดชัน ซึ่งเป็นพื้นทรายปนเศษปะการัง มีปะการังอ่อน กัลปังหา และแส้ทะเลขึ้นอยู่ทั่วไป

 

เปิดผลการสำรวจ "เกาะโลซิน" เกาะจิ๋วใต้สุดอ่าวไทย เตรียมยกระดับ ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการัง!!!
 

ทั้งนี้่ การสำรวจเบื้องต้นด้วยวิธีการสำมะโนประชากรปลาด้วยสายตา  สามารถพบปลาจากการสำรวจทั้งหมด 116 ชนิด 65 สกุล จาก 31 วงศ์ ปลาวงศ์เด่น เช่น  ปลานกขุนทอง และปลาสลิดหิน  ปลาชนิดเด่นที่พบได้แก่ ปลาสลิดหินคอดำ ที่มีความเด่นทั้งในแง่จำนวนตัว และความถี่ที่พบ ภาพรวมของโครงสร้างประชากรปลาที่พบ พบว่าปลาที่พบเด่นได้แก่ ปลาที่มีขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนมาก และมีความชุกชุมของจำนวนตัวสูงมากในขณะที่กลุ่มปลาผู้ล่าขนาดใหญ่เช่นปลาเก๋า ปลากะพง และปลาหางแข็ง 

 

เปิดผลการสำรวจ "เกาะโลซิน" เกาะจิ๋วใต้สุดอ่าวไทย เตรียมยกระดับ ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแนวปะการัง!!!

 

อย่างไรก็ตาม แนวปะการังบริเวณเกาะโลซินเป็นระบบนิเวศที่สำคัญที่อยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย แนวปะการังแห่งนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่ก่อตัวอยู่ห่างฝั่ง อยู่กลางทะเลลึก ทำให้ไม่ได้รับอิทธิพลภาวะคุกคามจากการพัฒนาชายฝั่ง นอกจากนี้ จากผลสำรวจในปัจจุบันพบว่าแนวปะการังยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ซึ่งเมื่อเทียบกับผลที่เคยสำรวจในอดีต (ปี ๒๕๔๓) ก็ยังพบว่าแนวปะการังยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์เช่นเดิมในขณะที่แนวปะการัง ณ ที่แห่งอื่นในอ่าวไทยอยู่ในสภาพเสียหายมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดผลกระทบจากการเกิดปะการังฟอกขาว แนวปะการังที่เกาะโลซินไม่เกิดผลกระทบแต่อย่างใด แสดงให้เห็นถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ปะการังที่เกาะโลซินรอดพ้นจากการเกิดฟอกขาว ปัจจัยสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เช่น กระแสน้ำจากทะเลลึกที่ช่วยลดอุณหภูมิ และการหมุนเวียนของน้ำที่มากเพียงพอ เป็นต้น  จึงนับว่าแนวปะการังเกาะโลซินเป็นแหล่งพ่อแม่พันธุ์ปะการังที่สำคัญทางฝั่งทะเลอ่าวไทย