ติดตามรายละเอียด deeps.tnews.co.th

ทางรถไฟในปัจจุบันจะมีทั้งที่ใช้หินโรยทางและไม่ใช่หินโรยทาง (Ballast Track / Non Ballast Track) ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันทางรถไฟที่ใช้หินโรยทางรองรับไม้หมอนจะมีข้อดีคือนุ่มนวลมีเสียงดังน้อย แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะต้องมีการบำรุงรักษาโดยการล้างหิน และอัดหินเพิ่มเติม ในขณะที่โครงสร้างทางรถไฟที่ไม่ใช่หิน (Non Ballast Track) คือการวางรางลงบนแผ่นคอนกรีตอัดแรงที่เรียกว่า ‘สแลบแทรค’ (Slab Track) หรือการวางรางลงบนหมอนคอนกรีตที่วางอยู่บนพื้นคอนกรีตที่มีช่องบังคับ ข้อดีคือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษาแต่ก็มีค่าก่อสร้างสูงกว่า

 

หายโง่นะ !!! ทำไม? ถึงต้องมีหินบนรางรถไฟ พอรู้ข้อมูล บอกได้เลยว่า ภูมิปัญญาตัวเอง น้อยเหลือเกิน

“ซึ่งวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับเจ้าหินที่คุณเห็นอยู่บนรางรถไฟที่เรียกว่า “หินโรยทาง” ( Ballast) ซึ่งทำหน้าที่ยึดไม้หมอนรองรางเหล็กไว้กับที่แล้วถ่ายเทน้ำหนักเฉลี่ยลงสู่ดินคันทาง (Sub-Structure) ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะรักษารางให้คงที่ไว้ได้ เพราะรางสามารถขยายตัวออกได้จากความร้อน พื้นดินเคลื่อนตัว หรือแรงสั่นสะเทือน ปริมาณน้ำฝนและสภาพอากาศแปรปรวนก็ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเช่นกัน หินโรยทางนั้นช่วยยับยั้งปัญหานี้โดยเฉพาะ”

 

หายโง่นะ !!! ทำไม? ถึงต้องมีหินบนรางรถไฟ พอรู้ข้อมูล บอกได้เลยว่า ภูมิปัญญาตัวเอง น้อยเหลือเกิน

คุณสมบัติของหินโรยทางนอกจากจะใช้ป้องกันปัญหาอย่างที่กล่าวโดยข้างต้นแล้ว ด้วยชั้นหินทีหนายังป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืชต่างๆที่อยู่ใต้รางรถไฟและมันยังช่วยป้องกันรางน้ำท่วมหรือเคลื่อนตัวเพราะถูกน้ำซัดอีกด้วย

 

หายโง่นะ !!! ทำไม? ถึงต้องมีหินบนรางรถไฟ พอรู้ข้อมูล บอกได้เลยว่า ภูมิปัญญาตัวเอง น้อยเหลือเกิน