รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯทรงขลิบผมไฟพระราชทานตามประเพณีโบราณแก่ "ด.ช.มีค่า เนื้อนวล"

ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงขลิบผมไฟพระราชทานตามประเพณีโบราณแก่ "ด.ช.มีค่า เนื้อนวล"

เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ที่ผ่านมาในเฟซบุ๊กของ ชมรมคนรักในหลวงจังหวัดเพชรบูรณ์  ได้โพสต์ข้อความพร้อมทั้งภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเด็กชายคนหนึ่ง ซึ่งมีพ่อแม่และพี่สาว ซึ่งทราบต่อมาว่า เด็กชายคนดังกล่าวชื่อ ด.ช.มีค่า เนื้อนวล เป็นบุตรของ ขันทอง เนื้อนวล นักการทูตแห่งสถานกงสุลใหญ่ เมืองฮ่องกง กับปุณฑริกา เนื้อนวล โดยในภาพเห็นได้ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระเกษมสำราญ ดังนั้นอยากนำมาเผยแพร่ต่อให้เห็นถึงเจ้าฟ้าของแผ่นดินที่ประชาชนรักและเทิดทูนพระองค์ และบ่อยครั้งที่เป็นภาพชินตาของคนไทยในการเสด็จพระราชกรณียกิจต่างๆ และเมื่อมีภาพและเรื่องราวที่ทำให้ปลาบปลื้มรับรู้ถึงความสุขของพระองค์ก็อยากแบ่งปันนำมาเสนอกัน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขลิบผมไฟพระราชทานแก่ ด.ช.มีค่า เนื้อนวล บุตรคุณขันทอง-ปุณฑริกา เนื้อนวล
-------------
ประเพณีโกนผมไฟ แบบไทยโบราณ
การโกนผมไฟนั้น ต้องรอให้เด็กมีอายุครบ ๑ เดือนเสียก่อน จึงใช้คำเรียกกันว่า “ทำขวัญเดือน” เพราะเวลาก่อนระยะนี้นั้น กระหม่อมของเด็กยังบางอยู่ หากล่าช้าไปก็ไม่ควรเกินกว่า ๖ เดือน ควรเลือกวันฤกษ์งามยามดีอย่างทำการมงคลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เด็ก ถ้าจะทำพิธีโกนผม เวลาเช้าของฤกษ์ ก็นิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ ๑ วัน โดยในพิธีมีการเตรียม และกระทำขั้นตอนดังนี้ 
๑)ของที่ใช้ในพิธี คือ ข้าวตอก ๑ ถุง, ข้าวเปลือก ๑ ถุง, ถั่วเขียวหรือถั่วทอง ๑ ถุง, งา ๑ ถุง, เมล็ดฝ้าย ๑ ถุง, ฟักเขียวทาแป้งหรือดินสอพองให้ขาว ๑ ผล, มะพร้าวนาฬิเกที่กำลังงอก ๑ คู่ ปิดด้วยกระดาษเงินผลหนึ่ง กระดาษทองผลหนึ่ง(เรียกว่ามะพร้าวเงินมะพร้าวทอง) ใบมะตูม ที่น้ำมนต์ ถาดล้างหน้า มีของใส่ในถาด คือ ครอบสำริด  เครื่องเจิม ขันสำหรับใส่ผม กรรบิดกรรไกร ๑ ชุด(กรรบิดนั้น ได้แก่ มีดด้ามทอง ๑ เล่ม มีดด้ามเงิน ๑ เล่ม มีดด้ามแก้ว ๑ เล่ม กรรไกนั้นใช้อย่างกรรไกรโบราณด้ามคร่ำเงินคร่ำทอง) ถ้าเป็นเด็กชายต้องมีมีด ๑ เล่ม ปืน ๑ กระบอก ดาบ ๑ เล่ม เครื่องอาวุธต่างๆ ตำราเรียน กระดาษดินสอ ฯลฯ ถ้าเป็นเด็กหญิง มีแก้วแหวนเงินทอง และเครื่องเย็บปักถักร้อย กับตำราเรียนพอควร ของเหล่านี้จัดวางไว้ในที่บูชา หรือจะมีม้ารองปูผ้าขาวจัดวางของไว้ และต้องวงด้ายสายสิญจน์ด้วยก่อน แล้วจึงวงที่บาตรน้ำมนต์ ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จนตลอด เมื่อเสร็จงานแล้วให้ใส่ไว้ในอู่หรือเปล ๓ วันก่อนจึงเก็บได้ แต่มะพร้าวคู่หนึ่งนั้น ให้นำไปปลูกไว้ ณ ตำบลที่ฝังรก ดังจะกล่าวถึงวิธีฝังรกต่อไป

๒)พิธีโกนผม เมื่อได้เจริญพระพุทธมนต์ตอนเย็นแล้ว ครั้นวันรุ่งขึ้นตอนเช้า จัดแจงแต่งกายกุมาร กุมารี เตรียมไว้รอเวลาฤกษ์ เมื่อได้ฤกษ์อันอุดม นางนมก็นำเด็กมาวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ หันศีรษะเด็กสู่ทิศอันเป็นสิริมงคลของวันงาน(ทิศศรี) โหรลั่นฆ้องชัย แล้วท่านผู้เจริญด้วยศักดิ์ด้วยชนมายุซึ่งเป็นประธาน ณ ที่นั้น จะได้หลั่งน้ำพะพุทธมนต์ ประสิทธิ์ประสาทพรชัย และจรดกรรบิดกรรไกรบนกระหม่อมเด็กพอเป็นพิธี พระสงฆ์สวดชยันโต พราหมณ์เป่าสังข์และดีดบัณเฑาะว์ ชาวพิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์อวยชัยให้พร ครั้นบิดามารดาและบรรดาญาติผู้ใหญ่ผลัดกันโกนผมให้เด็กต่อจากผู้เป็นประธานพอเป็นพิธีเสร็จแล้ว จึงให้ช่างโกนผมให้แก่เด็กจนหมด

๓) อาบน้ำเด็ก ครั้นช่างโกนผมเด็กเรียบร้อยแล้ว จึงนำอ่างใส่น้ำพออุ่นๆมาเอาน้ำพระพุทธมนต์เจือปนลงไป นำเด็กลงอาบน้ำ ในอ่างน้ำนี้ใส่เครื่องพิธี คือปลาเงิน ปลาทอง กุ้งทอง ซึ่งทำด้วยไม้ระกำ ปิดกระดาษทองหรือทาด้วยบรอนซ์  กับมะพร้าวเงินมะพร้าวทอง คือ มะพร้าวนาฬิเกที่ทำเตรียมไว้ ครั้นอาบน้ำให้เด็กเรียบร้อยแล้วนำไปแต่งตัว แล้วนำมาวางไว้บนเบาะข้างบายศรี ผู้ที่อุ้มเด็กมักเป็นย่ายายหรือญาติผู้ใหญ่ที่มีอายุ

๔)เลี้ยงพระ ครั้นได้เวลาพระฉัน จัดอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ พระฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม พระท่านอนุโมทนา แล้วอำลากลับ นับว่ายุติพิธีโกนผมไฟ
สมัยนี้ พิธีโกนผมไฟเกือบไม่ใคร่ได้กระทำกันแล้ว ถือว่าผมที่ติดมาแต่กำเนิดนั้นเป็นมงคลดีอยู่แล้ว จึงเลยไว้ผมกันต่อไปจนเจริญวัย แม้จะโกนบ้างตัดบาง ก็ทำกันอย่างธรรมดา เพื่อรักษาความสะอาดให้เด็ก ก็นับว่าเป็นการตัดกังวลและประหยัดทรัพย์ได้ส่วนหนึ่ง เว้นแต่ชั้นเจ้านายและพิธีหลวง ซึ่งยังต้องปฏิบัติกันอยู่ ตามเกียรติประเพณีราชนิยม.
ที่มา FB:เพจชมรมคนรักในหลวงจังหวัดเพชรบูรณ์  และ ขอบคุณภาพจาก : IG_คุณคิ้ม @kympuntharika 
และข้อมูลประเพณีโกนผมไฟจากเวปมงคลพิธีไทย
 

ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงขลิบผมไฟพระราชทานตามประเพณีโบราณแก่ "ด.ช.มีค่า เนื้อนวล"
ประเพณีโกนผมไฟ แบบไทยโบราณ
การโกนผมไฟนั้น ต้องรอให้เด็กมีอายุครบ ๑ เดือนเสียก่อน จึงใช้คำเรียกกันว่า “ทำขวัญเดือน” เพราะเวลาก่อนระยะนี้นั้น กระหม่อมของเด็กยังบางอยู่ หากล่าช้าไปก็ไม่ควรเกินกว่า ๖ เดือน ควรเลือกวันฤกษ์งามยามดีอย่างทำการมงคลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เด็ก ถ้าจะทำพิธีโกนผม เวลาเช้าของฤกษ์ ก็นิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ ๑ วัน โดยในพิธีมีการเตรียม และกระทำขั้นตอนดังนี้ 
๑)ของที่ใช้ในพิธี คือ ข้าวตอก ๑ ถุง, ข้าวเปลือก ๑ ถุง, ถั่วเขียวหรือถั่วทอง ๑ ถุง, งา ๑ ถุง, เมล็ดฝ้าย ๑ ถุง, ฟักเขียวทาแป้งหรือดินสอพองให้ขาว ๑ ผล, มะพร้าวนาฬิเกที่กำลังงอก ๑ คู่ ปิดด้วยกระดาษเงินผลหนึ่ง กระดาษทองผลหนึ่ง(เรียกว่ามะพร้าวเงินมะพร้าวทอง) ใบมะตูม ที่น้ำมนต์ ถาดล้างหน้า มีของใส่ในถาด คือ ครอบสำริด  เครื่องเจิม ขันสำหรับใส่ผม กรรบิดกรรไกร ๑ ชุด(กรรบิดนั้น ได้แก่ มีดด้ามทอง ๑ เล่ม มีดด้ามเงิน ๑ เล่ม มีดด้ามแก้ว ๑ เล่ม กรรไกนั้นใช้อย่างกรรไกรโบราณด้ามคร่ำเงินคร่ำทอง) ถ้าเป็นเด็กชายต้องมีมีด ๑ เล่ม ปืน ๑ กระบอก ดาบ ๑ เล่ม เครื่องอาวุธต่างๆ ตำราเรียน กระดาษดินสอ ฯลฯ ถ้าเป็นเด็กหญิง มีแก้วแหวนเงินทอง และเครื่องเย็บปักถักร้อย กับตำราเรียนพอควร ของเหล่านี้จัดวางไว้ในที่บูชา หรือจะมีม้ารองปูผ้าขาวจัดวางของไว้ และต้องวงด้ายสายสิญจน์ด้วยก่อน แล้วจึงวงที่บาตรน้ำมนต์ ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จนตลอด เมื่อเสร็จงานแล้วให้ใส่ไว้ในอู่หรือเปล ๓ วันก่อนจึงเก็บได้ แต่มะพร้าวคู่หนึ่งนั้น ให้นำไปปลูกไว้ ณ ตำบลที่ฝังรก ดังจะกล่าวถึงวิธีฝังรกต่อไป

๒)พิธีโกนผม เมื่อได้เจริญพระพุทธมนต์ตอนเย็นแล้ว ครั้นวันรุ่งขึ้นตอนเช้า จัดแจงแต่งกายกุมาร กุมารี เตรียมไว้รอเวลาฤกษ์ เมื่อได้ฤกษ์อันอุดม นางนมก็นำเด็กมาวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ หันศีรษะเด็กสู่ทิศอันเป็นสิริมงคลของวันงาน(ทิศศรี) โหรลั่นฆ้องชัย แล้วท่านผู้เจริญด้วยศักดิ์ด้วยชนมายุซึ่งเป็นประธาน ณ ที่นั้น จะได้หลั่งน้ำพะพุทธมนต์ ประสิทธิ์ประสาทพรชัย และจรดกรรบิดกรรไกรบนกระหม่อมเด็กพอเป็นพิธี พระสงฆ์สวดชยันโต พราหมณ์เป่าสังข์และดีดบัณเฑาะว์ ชาวพิณพาทย์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์อวยชัยให้พร ครั้นบิดามารดาและบรรดาญาติผู้ใหญ่ผลัดกันโกนผมให้เด็กต่อจากผู้เป็นประธานพอเป็นพิธีเสร็จแล้ว จึงให้ช่างโกนผมให้แก่เด็กจนหมด

ทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงขลิบผมไฟพระราชทานตามประเพณีโบราณแก่ "ด.ช.มีค่า เนื้อนวล"

๓) อาบน้ำเด็ก ครั้นช่างโกนผมเด็กเรียบร้อยแล้ว จึงนำอ่างใส่น้ำพออุ่นๆมาเอาน้ำพระพุทธมนต์เจือปนลงไป นำเด็กลงอาบน้ำ ในอ่างน้ำนี้ใส่เครื่องพิธี คือปลาเงิน ปลาทอง กุ้งทอง ซึ่งทำด้วยไม้ระกำ ปิดกระดาษทองหรือทาด้วยบรอนซ์  กับมะพร้าวเงินมะพร้าวทอง คือ มะพร้าวนาฬิเกที่ทำเตรียมไว้ ครั้นอาบน้ำให้เด็กเรียบร้อยแล้วนำไปแต่งตัว แล้วนำมาวางไว้บนเบาะข้างบายศรี ผู้ที่อุ้มเด็กมักเป็นย่ายายหรือญาติผู้ใหญ่ที่มีอายุ

๔)เลี้ยงพระ ครั้นได้เวลาพระฉัน จัดอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ พระฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม พระท่านอนุโมทนา แล้วอำลากลับ นับว่ายุติพิธีโกนผมไฟ

สมัยนี้ พิธีโกนผมไฟเกือบไม่ใคร่ได้กระทำกันแล้ว ถือว่าผมที่ติดมาแต่กำเนิดนั้นเป็นมงคลดีอยู่แล้ว จึงเลยไว้ผมกันต่อไปจนเจริญวัย แม้จะโกนบ้างตัดบาง ก็ทำกันอย่างธรรมดา เพื่อรักษาความสะอาดให้เด็ก ก็นับว่าเป็นการตัดกังวลและประหยัดทรัพย์ได้ส่วนหนึ่ง เว้นแต่ชั้นเจ้านายและพิธีหลวง ซึ่งยังต้องปฏิบัติกันอยู่ ตามเกียรติประเพณีราชนิยม.

ที่มา FB:เพจชมรมคนรักในหลวงจังหวัดเพชรบูรณ์  และ ขอบคุณภาพจาก : IG_คุณคิ้ม @kympuntharika 
และข้อมูลประเพณีโกนผมไฟจากเวปมงคลพิธีไทย