ติดตามรายละเอียด http://deeps.tnews.co.th

ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนเมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อท.43/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีต รมช.คลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร , น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง  , น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีต  , นายกริช วิปุลานุสาสน์  ทั้งสาม เป็นอดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร  กระทรวงการคลัง และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรยานายทักษิณ ชินวัตร  เป็นจำเลยที่ 1 - 5 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

โดยศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ทุกประเด็นในคำอุทธรณ์ของ จำเลยทั้งห้านั้นฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ประเด็นที่ต้องพิจารณากันต่อไปก็คือเรื่องราวชีวิตของ   นางเบญจา หลุยเจริญ  เป็นใครมาจากไหน   พบว่านอกเหนือจากบทบาทสุดท้ายในการทำหน้าที่เป็นรมช.คลังในยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์แล้ว  นางเบญจายังได้รับไว้วางใจให้รับภารกิจมากมาย     อาทิ ประธานกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), กรรมการบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)  รวมถึง   ประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล

 

ขณะที่เส้นทางชีวิตข้าราชการของนางเบญจา   เริ่มต้นเข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร  ก่อนในปี พ.ศ. 2546 จะถูกโยกย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และ ในปี พ.ศ. 2548 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง  ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนจะกลับมาเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2554 หรือช่วงยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์   และตำแหน่งสุดท้ายคือ อธิบดีกรมศุลกากร  ก่อนจะลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556

ขณะเดียวกันนอกเหนือจากพฤติการณ์    ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ    (รองอธิบดีกรมสรรพากร)   ต่อคำวินิจฉัยเพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท  ซึ่งศาลอาญาเห็นว่าการกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหายแล้ว

 

จากข้อมูลส่วนหนึ่งของ “ไทยพับลิก้า”   ระบุว่า    ผลงานของ “เบญจา” ไม่ได้มีเพียงการทำให้ลูกชายและลูกสาวของ นายทักษิณ ชินวัตร  หลุดพ้นจากการทำหน้าที่เสียภาษีให้กับแผ่นดิน    ในช่วงหลังจาก ครม.ปู 1    จัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย   ปลายปี 2554  “เบญจา” ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต ในระหว่างที่ “เบญจา” กำลังเคลียร์ปัญหารถยนต์จดประกอบและรถยนต์หรูอยู่นั้น ปรากฏว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำโควตาสลากฯ 4 ล้านฉบับ มูลค่าหลายพันล้านบาท ไปทำสัญญาขายล่วงหน้ากับตัวแทนจำหน่ายสลากฯ ภาคเหนือเป็นเวลา 2 ปี โดยที่ไม่มีผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทยทราบเรื่องนี้มาก่อน

 

“เบญจา” ในฐานะประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงต้องลงมาเคลียร์เรื่องนี้ สอบไปสอบมา “เบญจา” ถูกเด้งออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดสลากฯ เรื่องนี้จึงร้อนไปถึงคนที่ดูไบ ผลคือ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และให้นายกิตติรัตน์ ณ   ระนอง รองนายกรัฐมนตรี    ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทน