ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นทรงสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ ทรงพระเยาว์  ทรงเคยได้รับการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี มาก่อนแล้ว  ต่อมายังได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เอง และทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง จนเมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง ทรงมีพระราชดำรัสแถลงถึงพระราชดำริในการที่จะเสด็จออกบรรพชาอุปสมบทแก่ประชาชนที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงพระผนวช ทั้งนี้พระราชพิธีทรงพระผนวชมีขึ้นในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชดำรัสในวันนั้น

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

แม้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงเติบโตในต่างแดนและเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์ แต่เมื่อมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ก็มีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น เพราะทรงประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วย เหตุผลและสัจธรรม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนา 

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2499 สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ที่พระองค์ทรงนับถือโดยวิสาสะอันสนิท และทรงถือว่ามีคุณูปการต่อพระองค์มากนั้น ได้ประชวรลง พระอาการเป็นที่น่าวิตกจนแทบไม่มีหวัง แต่เดชะบุญ ท่านหายประชวรมาได้อย่างน่าประหลาด จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าได้ทรงพระผนวชโดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์แล้ว จะเป็นที่สมพระราชประสงค์ในอันที่จะทรงแสดงพระราชคารวะ และพระราชศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างดี จึงได้ตกลงพระราชหฤทัยที่จะทรงพระผนวช เพื่ออุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณเป็นเวลา 15 วัน นับจากวันที่ 22 ตุลาคม-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

สมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เล่าย้อนถึงช่วงเวลาที่ท่านได้ผนวชร่วมกันกับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ว่า เพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้รับฉายาว่า “ภูมิพโลภิกขุ” จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด
“เมื่อครั้งที่ทรงผนวชที่วัดบวรฯ ตอนนั้นอาตมาอยู่ร่วมตำหนักเดียวกันกับพระองค์ อาตมาถือเป็นพระใหม่ โดยก่อนหน้านี้อาตมาบวชเป็นเณรมาก่อน 5-6 ปี และเพิ่งมาบวชเป็นพระในปีนั้นพอดี โดยพระราชจริยวัตรของพระองค์ตอนนั้น ทรงตั้งใจปฏิบัติพระราชกรณียกิจทุกประการด้วยความศรัทธาและเคร่งครัด กิจวัตรประจำวันของพระองค์ คือจะเสด็จออกบิณฑบาตทั้งในและนอกวัด แม้พระองค์จะเป็นพระมหากษัตริย์แต่พระองค์ทรงเสด็จออกบิณฑบาตเหมือนพระภิกษุสงฆ์ทั่วไป ไม่มีพิธีรีตรอง และไม่ทรงสวมฉลองพระบาท โดยจะเสด็จไปด้วยพระบาทเปล่าทุกครั้ง”

 

ในหลวงรัชกาลที่ ๙ “พระราชาผู้ทรงธรรม” มีฉายานามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” (ชมคลิป)

ภาพในอดีตจวบจนปัจจุบัน บอกเล่า เรื่องราวความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยและพระพุทธศาสนา และสะท้อนคุณค่าให้ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรชาวไทยได้อย่างงดงาม ทั้งบทบาทของพระมหากษัตริย์ไทยในการปกครองบ้านเมืองให้สงบสุขร่มเย็น ดั่งต้นโพธิ์ใหญ่ที่ให้ร่มเงา บำบัดทุกข์ บำรุงสุข มุ่งจำเริญวัฒนาให้แก่ชาติและประชาชน โดยมีพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น “แก่น” ในการดำรงซึ่งทศพิธราชธรรมและจักรวรรดิ

 

ดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙  ที่นำมาซึ่งคำ เปรียบเปรยชาติไทยที่ว่า “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง”