เเชร์ให้รับรู้ทั่วกัน!! "นิติบุคคล" สามารถ"ตัดน้ำ","ตัดไฟ"...ได้หรือไม่?? กรณีค้างค่าส่วนกลาง!!??...เรามีคำตอบมาฝาก!! (รายละเอียด)

การแก้ไขการค้างค่าส่วนกลางด้วยวิธี ตัดน้ำ ตัดไฟ ของนิติบุคคล สามารถทำได้หรือไม่ ..

     หลายๆคน คงที่พักอาศัยในอาคารชุด หมู่บ้าน หรือ คอนโดมิเนียมต่างๆ เคยประสบพบเจอ กับเหตุการณ์เช่นนี้ ....  นั่นก็คือ โดนเจ้าของนิติบุคคล เจ้าของร่วม  ตัดน้ำ ตัดไฟ  งดการให้บริการในส่วนต่างๆ เนื่องจากไม่ยอมจ่ายค่าส่วนกลาง  เราจะมาศึกษาข้อมูลกันดูว่า  เเท้จริงได้ทำเเบบนี้ถูกต้องหรือไม่??

โดยจากเเฟนเพจ... ทนายคู่ใจ... ได้ชี้เเจงเรื่องดังกล่าว ในทางกฏหมาย ไว้เป็นความรู้ดังนี้

เจ้าของนิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลหมู่บ้านคงจะเคยเจอปัญหาเจ้าของร่วมไม่ยอมจ่ายค่าส่วนกลางและอาจแก้ปัญหาด้วยการตัดน้ำ ตัดไฟ หรืองดให้บริการต่างๆ วันนี้มาดูกันว่าจริงๆแล้วสามารถทำได้หรือไม่??
มาตรา ๑๓ เจ้าของห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของตน และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง
พื้นห้อง ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดใด ให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น และการใช้สิทธิเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อบังคับ
เจ้าของห้องชุดจะกระทำการใด ๆ ต่อทรัพย์ส่วนบุคคลของตนอันอาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้าง ความมั่นคง การป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารหรือการอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมิได้

.

เเชร์ให้รับรู้ทั่วกัน!! "นิติบุคคล" สามารถ"ตัดน้ำ","ตัดไฟ"...ได้หรือไม่?? กรณีค้างค่าส่วนกลาง!!??...เรามีคำตอบมาฝาก!! (รายละเอียด)

 


มาตรา ๑๘ เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา ๑๔
เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้บริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา ๑๔ หรือตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

 


ให้ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตรา ๖ เป็นเจ้าของร่วมในห้องชุดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และต้องร่วมออกค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งและวรรคสองสำหรับห้องชุดดังกล่าวด้วย

   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553 ค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้นเป็นหนี้ที่เกิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาระหว่างกันและเป็นหนี้เงินซึ่งตาม ป.วิ.พ. ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การบังคับชำระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษาบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้และตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้โดยวิธีอื่นหรือโดยพลการ

 

 

   นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลของตนในอาคารชุดและมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วยตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง จึงมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ส่วนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมนั้นด้วย ย่อมไม่ชอบที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการขัดขวางการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของโจทก์เพื่อเป็นมาตรการบังคับให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์โดยพลการโจทก์ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพราะจำเลยที่ 1 นำเงินไปใช้จ่ายโดยพลการโจทก์ก็ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพื่อไม่ให้กระทำเช่นนั้นหรือให้ชำระค่าเสียหายไม่เป็นเหตุโดยชอบที่โจทก์จะอ้างขึ้นเพื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

 

  *******  ดังนั้น การแก้ไขการค้างค่าส่วนกลางด้วยวิธี ตัดน้ำ ตัดไฟ เคยมีคำพิพากษาฎีกา ว่าวิธีการดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินส่วนกลางของเจ้าของห้อง ซึ่งไม่สามารถทำได้ .... นิติไม่มีสิทธิไปตัดน้ำตัดไฟคนค้างค้างส่วนกลางได้!!!  ********

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ

ทนายคู่ใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

.