อะไรจะตามมา ถ้าแผน สปส. สำเร็จ ?

ประกันสังคมจะเก็บเงินเพิ่ม จาก 700/ด เป็น 1,000/ด มันเยอะนะ เคยถามคนจ่ายไหมว่าคุ้มกับค่าเงินที่จ่ายไปหรือไม่?? ติดตาม/เพจRichman can do

ข่าวเรื่องสำนักงานประกันสังคม(สปส.) มีแผน จะขึ้นเงินสมทบเข้ากองทุนจากอัตราสูงสุดที่เก็บอยู่เดือนละ 700 บาท เป็น 1,000 บาท หรือเพิ่มราว 33% ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัว ได้สร้างกระแสให้กับสังคมมาก เพราะเท่ากับว่า สมาชิกของ สปส.ทุกคนมีต้นทุนชีวิตที่เพิ่มขึ้น หากถ้ามีการเพิ่มเงินประกันสังคมนี้จริงไม่ใช่ลูกจ้างภาระเพิ่มฝ่ายเดียว แต่ต้นทุนนายจ้างก็เพิ่มขึ้นด้วย เพราะต้องจ่ายเงินเข้าประกันสังคม 5% เท่ากับลูกจ้างในแต่ละเดือน

แล้วอะไรจะเกิดขึ้น  ถ้าประชาชนราว 15 ล้านคนมีต้นทุนชีวิตที่เพิ่มขึ้น เช่นนี้......

ตาม สูตรสำเร็จ ผู้ประกอบการทุกรายก็จะผลักภาระที่เพิ่มนี้ให้กับ ผู้บริโภคแบกรับ คือ การขึ้นราคาสินค้าทุกประเภท ถ้าไม่ขึ้นราคาก็ลดขนาดลง   

อะไรจะตามมา ถ้าแผน สปส. สำเร็จ ?

ขณะที่ปัจจุบัน กองทุนประกันสังคมมีสมาชิกทั่วประเทศราว 14.46 ล้านคน ด้านฐานะการเงินกองทุนประกันสังคม  ตัวเลข ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนในตลาดรวม 1.68 ล้านล้านบาท มีกำไรสะสมมาตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน 507,644 ล้านบาท เมื่อรวมกันเงินลงทุนกับกำไรสะสม ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 กองทุนประกันสังคมมีเงินอยู่ในมือทั้งสิ้น 2.187 ล้านล้านบาท

เมื่อเห็นฐานะการเงินของ สปส. เช่นนี้ จึงมีคำถามตามว่า  สปส. นำเงินไปใช้จ่ายและลงทุนอะไรบ้าง ทั้งผู้ประกันตนได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือไม่

นอกจากนั้น เมื่อถึงเวลา ที่จะไปรับเงินตามสิทธิที่พึงมีในแต่ละประเภท เช่น เงินประกันตนเมื่อว่างงาน เงินค่าคลอดบุตร ฯลฯ  สมาชิกกลับไม่ได้รับการบริการที่ดีจากหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน หรือได้รับเงินแบบง่ายดาย ทั้งที่เอกสารครบถ้วนและถูกต้อง ทั้งต้องใช้เวลากว่าจะได้รับเงินอย่างน้อย 1 เดือน .....

ช่างไม่ง่าย เหมือนเวลาที่เราต้องจ่ายให้กับรัฐ  เพราะเมื่อไร ที่รัฐบาลอนุมัติให้มีผลปฏิบัติจริง ประชาชนก็ต้องจ่ายทันที ไม่ใช่รออย่างน้อย 1 เดือนค่อยจ่าย  เหมือนเวลาเรารับ

เมื่อสังคมตั้งคำถามมากมาย ต่อการปรับเพิ่มเงินสมทบครั้งนี้ จึงทำให้

อะไรจะตามมา ถ้าแผน สปส. สำเร็จ ?

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เเละหัวหน้าคณะรักษาความสงบเเห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ทันทีว่า ในขณะนี้ยังไม่ทำอะไรทั้งสิ้น เป็นการเตรียมในการหารือ จริงๆ เรื่องนี้หารือกันมาเเล้วกว่า 15 ปี ซึ่งกำลังหาทางให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น ยังไม่ทำอะไรทั้งสิ้น เห็นมีข่าวบอกว่าจะไปเรียกเก็บเงิน ยังไม่มี เป็นเเค่การหารือ

“บางอย่างพูดกันไปก่อนก็ตกใจ รัฐบาลนี้ยืนยันว่าไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนให้กับใคร รับฟังปัญหาเเล้วมาเเก้ทุกปัญหา เเก้ได้มากบ้าง น้อยบ้าง เเล้วเเต่สถานการณ์ ความจำเป็น ขอความเข้าใจร่วมกัน” นายกฯกล่าว

แต่ดูเหมือนว่า สปส.จะไม่ยอมถอยกับแผนนี้ แต่กำลังใช้จิตวิทยามวลชน ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อจูงใจให้สมาชิกร่วม 14.46 ล้านคนเลิกต่อต้านและยอมให้ขึ้นเงินเรียกเก็บ ...

เพราะนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม ออกมากล่าวทันทีว่า .......บอร์ดสปส.มีมติ เห็นชอบปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรจากเดิม 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน เป็น 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ไม่เกินอายุ 6 ปี

สำหรับเหตุผลการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร..เนื่องจากประกันสังคมใช้อัตราเงินสงเคราะห์บุตรในอัตรา 400 บาทต่อเดือนมาตั้งแต่ 1 ม.ค.2554 โดยไม่มีการปรับเพิ่มมาหลายปีแล้ว ปัจจุบันมีผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเฉลี่ย 1,324,848 คนต่อเดือน (ข้อมูล ณ วันที่ 21 ส.ค.2560) อีกทั้งจำนวนบุตรของผู้ประกันตนมีอัตราการเปลี่ยนแปลงน้อยมากซึ่งจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่าค่าใช้จ่ายด้านอาหารของเด็กเล็กอยู่ที่ 579 – 812 บาทต่อเดือน โดยจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาทต่อเดือน....... ในปี 2561 เป็นเงินประมาณการจำนวน 3,036 ล้านบาท ซึ่งไม่กระทบต่อเสถียรภาพกองทุนประกันสังคม และจะเป็นปริมาณเงินเพิ่มเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 

ขณะที่นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการ สปส. ยังกล่าวต่อว่า คณะกรรมการฯ ยังได้มีมติให้เร่งดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จภายในสิ้นปีเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตนในปี 2561....

แบบนี้เรียกว่า หนังยังไม่จบม้วน  ที่ออกมาครั้งนี้แค่ ชิมลาง  เพื่อดูปฏิกิริยาของสังคม  แล้วกลับไปวางแผนใหม่ ก่อนของจริงจะประกาศใช้แน่ในปีหน้า .......