ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

แห่งเดียวในไทย !! กราบรอยพระบาท ในหลวงร.9 บนดอยพญาพักดิ์ ขุนตาล จ.เชียงราย

ดอยพญาพิภักดิ์ เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจากสถานการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ในปีพุทธศักราช 2497 ของพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้ ทหาร ตำรวจ และ พลเรือนอีกจำนวนมากที่อุทิศชีวิตเป็นราชพลี เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดินให้รอดพ้นจากภัยคุกคามของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนกระทั่ง สถานที่แห่งนี้ได้มีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ เพื่อทรงเยี่ยมทหารหาญและราษฎรในวันที่ 27 ภุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระกรุณาพระราชทานประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนพลาสเตอร์ที่ได้เตรียมไว้เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารหาญและราษฎรในพื้นที่ ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความ สันติสุข

แห่งเดียวในไทย !! กราบรอยพระบาท ในหลวงร.9 บนดอยพญาพักดิ์ ขุนตาล จ.เชียงราย

ประวัติของดอยพญาพิภักดิ์นั้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2510 ซึ่งถือเป็น วันเสียงปืนแตก การต่อ สู้รุนแรงขึ้นตามลำดับ การต่อสู้ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ครั้งแรกที่จังหวัด เชียงราย ที่บ้านชมภู ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง (ปัจจุบันอำเภอขุนตาล) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2510 ซึ่งเกิดการปะทะกันในเขตพื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น นับตั้งแต่พุทธ ศักราช 2521 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสามารถตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงในภาคเหนือได้ถึง 9 แห่ง และฐานที่มั่นคงที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ฐานที่มั่นดอยยาว - ดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

แห่งเดียวในไทย !! กราบรอยพระบาท ในหลวงร.9 บนดอยพญาพักดิ์ ขุนตาล จ.เชียงราย

ได้จัดตั้งคณะ ทำงานโดยใช้ชื่อว่า คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตงาน หรือเขต งาน 52 เขตงาน 7 และเขตงาน 8 พื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของเขตงาน 8 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมทั้งที่อำเภอเวียงแก่นและอำเภอขุนตาลในปัจจุบัน กองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นมีประมาณ 600 คน มวลชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ 2,300 คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของ กองกำลัง และมวลชนดังกล่าว คือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ในการสร้างเส้นทางและพัฒนาพื้นที่ เพื่อความมั่นคงในการสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ (หนองเตา) ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรมเนิน 1188 ดอยพญาพิภักดิ์ ในปี พ.ศ. 2524 กองพัน ทหารราบที่ 473 ภายใต้แกนนำของพันโท วิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพัน ซึ่งจัดกำลังจากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 ได้ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในพื้นที่ ดอยยาว - ดอยผาหม่น หลายยุทธการด้วยกัน จนกระทั่งถึงยุทธการสำคัญ คือ ยุทธการเกรียงไกร (วีรกรรมเนิน 1188) บนดอยพญาพิภักดิ์ ส่งผลให้ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย โดยปัจจุบันทางหน่วยงานราชการได้สร้างศาลารอยพระบาทและกำลังก่อสร้างพิพิธภัณฑ์บนดอยพญาพิภักดิ์

 

ข่าว/ภาพ ทนงศักดิ์  รู้ทำนอง  ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักงานทีนิวส์จังหวัดเชียงราย