เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ใน

พรุ่งนี้เป็นวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทยเรา ถือเป็นวัน "ลอยกระทง" ซึ่งก็เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของเราชาวไทย เนื่องในโอกาสนี้ผู้เขียนขอเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมาของ…ประเพณีอันดีงามที่มีการปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมาแต่โบราณมาเขียนเล่าบรรยายสู่ท่านผู้ชมผู้อ่านทุกๆท่านที่ติดตามอ่านบทความของผู้เขียนในแต่ละวันมาได้สักระยะหนึ่งแล้วและผู้เขียนก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้ชมผู้อ่านจะยังไม่เบื่อหนีหายกันไปไหนซะก่อนนะคะ!!

โดยวันนี้ผู้เขียนจะขออนุญาตนำภาพ พระประทีป พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9)ในปีต่างๆจวบกระทั่งภาพพระประทีปของพระองค์ปีสุดท้ายเท่าที่ผู้เขียนพอหาได้จาก อินเตอร์เน็ต มาให้ท่านผู้ชมผู้อ่านได้รับชมเป็นบุญตากันอีกครั้งค่ะ เพื่อย้อนรำลึกถึงพระองค์ท่าน ในครั้งที่…พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) และ “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทางสำนักพระราชวัง อัญเชิญพระประทีปลอยกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อปี 2558 ซึ่งสร้างความปลื้มปีติให้พสกนิกรชาวไทยเป็นอย่างมาก ที่ได้มีส่วนร่วมในเทศกาลสำคัญกับพระองค์ท่าน และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย……ที่พสกนิกรชาวไทยจะมีโอกาสได้มีส่วนร่วมในเทศกาลสำคัญกับพระองค์

พระประทีป สุดท้าย ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันลอยกระทงปี 2558
ในครั้งนั้น พระประทีป ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นดอกไม้สดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด ๑๕ นิ้ว ทำจากกาบใบพลับพลึงสีขาวนวล จับจีบเป็นรูปกลีบดอกบัวหงาย ซ้อนลดหลั่นกันลงมา ๖ ชั้น โดยด้านบนของกระทงพุ่มเครื่องทองน้อยนั้นที่ทำจากดอกไม้สด เช่น ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย และดอกกระดุม โดยพระประทีปของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีตามวันพระราชสมภพของพระองค์ค่ะ

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

ส่วนประวัติวันลอยกระทงนั้นมีดังต่อไปนี้ค่ะ

ลอยกระทง ถือเป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า “พระราชพิธีจองเปรียงชักโคม ลอยโคม”

 ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ ต่อมา “นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย “คิดประดิษฐ์ดัดแปลงทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงให้ทรงใช้เป็นกระทงลอยไปตามสายน้ำไหล แทนการลอยโคม
การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัย “นางนพมาศ “นั้นกระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่”แม่น้ำนัมมทานที “ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้น ทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า” แม่น้ำเนรพุททา”

โดยได้มีบันทึกไว้ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า…
 “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนด
นักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการะบูชาบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน”

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

 ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการประดิษฐ์ทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงามวิจิตรเป็นอย่างมาก

ดั่งที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า…


… “ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง”


ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ!!

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

เรื่องน่ารู้ในวันลอยกระทง คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
1. การลอยกระทงเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3. การลอยกระทงเพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6. การลอยกระทงเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7. การลอยกระทงเพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ซึ่งชาวไทยภาคเหนือนั้นให้ความเคารพแก่”พระอุปคุตตะเถระ”อย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่า…”พระอุปคุต” เป็น
“พระมหาเถระ”รูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถ ปราบพญามาร ได้ 

ทั้งนี้การลอยกระทงก็ไม่ได้มีพิธีรีตองอะไรที่เข้มงวดมากมายนัก เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ หรือ ขนมปัง จากนั้นก็จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น้ำลำคลองตามสถานที่ซึ่งมีการจัดงานเทศกาลลอยกระทงค่ะ

ท้ายนี้ผู้เขียนใคร่ขอฝากให้เราคนไทย อย่าลืมช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของเราด้วยนะคะและ ควรใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติในการประดิษฐ์กระทงจะได้สามารถย่อยสลายไม่ทำลายระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบฟตัวเรานะคะ เพื่อเราทุกคนจะได้มีอากาศที่ดี มีบ้านเมืองที่สะอาดน่าอยู่คู่กับพวกเราไปนานๆค่ะ

 

เผย "พระประทีป"(กระทง) สุดท้าย!...ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล บรมนาถบพิตรทรงปล่อยลอยในลำนำ้เจ้าพระยาร่วมกับสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมรา

 

 

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข้อมูลจาก:วิพีกิเดีย,เสริมสิน สะมะลาภา, และข้อมูลเพิ่มเติม(บางส่วน)จาก :อินเตอร์เน็ตค่ะ
เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์