เหตุผล พี่ใหญ่ของกองทัพ.. พล.อ.ประวิตร กับกระแส"ตัวถ่วง" ครม. !!?? เสียเรื่อง เพราะ "ตำรวจ" ??!!

เหตุผล พี่ใหญ่ของกองทัพ.. พล.อ.ประวิตร กับกระแส"ตัวถ่วง" ครม. !!?? เสียเรื่อง เพราะ "ตำรวจ" ??!!

ภายใต้สถานการณ์ "อึมครึม" ของกระแสการปรับ "ครม.ประยุทธ์5" ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในไม่ช้า หลายฝ่ายต่างพากันจับจ้องไปที่พี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ "พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็น 1ใน“จุดอ่อน”ของรัฐบาล ที่เข้าไปเกี่ยวพันกับเรื่องฉาวหลายต่อหลายเรื่อง ที่นับวันมีแต่จะยิ่งฉุดความเชื่อมั่นของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ.(คสช.) ให้ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ  ซึ่งกระแสความกดดันและคำวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ได้ส่งตรงไปถึงตัวของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกฯและหัวหน้าคสช.  ดูเหมือนว่าการปรับครม.ในช่วงปลายรัฐบาลไม่ง่าย เสียแล้ว

 

ด้านพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ก็ได้ออกมาให้สัมภาษณ์

"ทั้งนี้สถานการณ์โดยรวมทั้งประเทศไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง จะมีแต่การโจมตีบิดเบือน พูดในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงทางสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งตนทำงานอยู่ทุกวัน ก็มาบิดเบือนในทุกเรื่องหาว่าเป็นตัวถ่วงในการทำงานของรัฐบาล ทั้งนี้ประชาชนก็เห็นอยู่ว่าตนทำงานอย่างไรดูแลความสงบเรียบร้อยให้กับประเทศอย่างไรบ้าง"

เหตุผล พี่ใหญ่ของกองทัพ.. พล.อ.ประวิตร กับกระแส"ตัวถ่วง" ครม. !!?? เสียเรื่อง เพราะ "ตำรวจ" ??!!

 

พล.อ.ประวิตร 1. ใน3ป. ของกองทัพ ได้แก่ ป. พล.อ.ประยุทธ์ และป.  "บิ๊กป๊อก" พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มีความสนิทสนมกันอย่างดี  พล.ประวิตรเป็นศิษย์เก่าเซ็นต์กาเบรียล,เตรียมทหารรุ่นที่ 6 และจปร.รุ่น17 เคยดำรงตำแหน่ง ในสายของทหารเสือราชินี(ร.21รอ.)มาตั้งแต่ต้น จากนั้นย้ายไปอยู่หลายหน่วยงานในกองทัพภาคที่1 ก่อนเข้าไลน์คือเป็นแม่ทัพภาคที่1,ผู้ช่วยผบ.ทบ.และผบ.ทบ. ระหว่างปี 2547 - 2548 

โดยพล.อ.ประวิตร เริ่มดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ตั้งแต่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 โดยรับผิดชอบกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง จำนวน 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน  สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) และโดยเฉพาะ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลของที่มา ของกระแสภาพลักษณ์ด้านลบหรือ "ตัวถ่วง" ของพล.อ.ประวิตรเองก็ได้

 

นั่นก็เพราะว่าเสียงเรียกร้องจากประชาชนที่ต้องการให้มี "การปฏิรูปตำรวจ" ที่ตัวพล.อ.ประยุทธ์ ให้ความสนใจ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นประเด็นใหญ่ และต้องการให้เห็นเป็นรูปธรรมเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ14ก.ค.57 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศ 3 คือฉบับที่ 87,88,89/2557เกี่ยวกับการปฏิรูปอำนาจหน้าที่และที่มาของตำรวจ แต่จนแล้วจนรอดแผน "ปฏิรูปตำรวจ" ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพล.อ.ประวิตร  ก็อยู่ได้แค่ในเอกสาร จนท้ายที่สุดพล.อ.ประยุทธ์ ต้องดำเนินการลงมือ โดยมีการจัดตั้ง 36 กรรมการปฏิรูปตำรวจที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อาจารย์ของพล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน และมอบนโยบายในการปฏิรูป "วงการสีกากี"  ไปเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2560 ถือว่า การปฏิรูปตำรวจได้ฤกษ์ อย่างจริงจัง เสียที อีกทั้ง มีการบัญญัติเรื่องการปฏิรูปตำรวจไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่เคยมีฉบับใดกำหนดมาก่อน  โดยพล.อ.ประยุทธ์ก็ได้มอบโจทย์ 3 ข้อ ให้กรรมการปฏิรูปตำรวจดำเนินการ ได้แก่ 1.โครงสร้างและภารกิจ 2.อำนาจในการสอบสวน 3. การแต่งตั้งโยกย้าย โดยใช้สูตรการทำงาน 2 - 3 - 4 ที่ พล.อ.ประยุทธ์ มอบนโยบายในการทำงาน โดย

 2 เดือนแรก ต้องคุยเรื่องปัญหาทั้งหมด 

ถัดมา 3 เดือน ต้องอ่านงานวิจัยเก่าๆ ให้หมด 

และต่อมา 4 เดือนต้องยกร่างกฎหมายให้เสร็จ และรับฟังความคิดเห็นว่า เหมาะสม เป็นกรอบเวลาที่ชัดเจน

ขณะเดียวกันระหว่างที่ดำเนินการปฏิรูปให้เสร็จภายในหนึ่งปี "สำนักตำรวจแห่งชาติ" โดยความเห็นชอบ ของพล.อ.ประวิตร จนไปถึงครม.อนุมัติให้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยวตั้งกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.) โดยไปยุบ"ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่ดูแลปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำมารวมกับกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 (บช.ภ.9) ซึ่งยกฐานะจากกองบังคับการตํารวจท่องเที่ยว สังกัดกองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง ส่งผลให้ การกําหนดหน่วยงานและเขตอํานาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการในสังกัด สํานักงานตํารวจแห่งชาติ จึงเกิดคำถามตามมาว่าการตัดสินใจดังกล่าวเป็นการตัดสินใจด้วยผลประโยชนร์ประเทศชาติจริงหรือไม่?? 

 

ถ้าตัดสินใจเพื่อประเทศ ก็ควรจะผลักดันให้  "ตำรวจท่องเที่ยว " ไปขึ้นอยู่กับ "กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา" จะได้ทำงานร่วมกันได้อย่างสมบรูณ์แบบ ดูแลกิจการท่องเที่ยวของประเทศอย่างเต็มที่  ไม่ต้องมาติดกับโครงสร้างอันใหญ่โต ของสำนักงานตำรวจแห่งชาจฃติ ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ ปฏิรูปตำรวจ ในการกระจายโครงสร้างและภารกิจ ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ได้มอบหมายนโยบายไว้ แต่ทว่ากลับไม่เป็นเช่นนั้น!!  การยุบ"ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้" เท่ากับว่าเป็นการเปิดทางให้ ใครบางคนเข้ามาใช่หรือไม่ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ก็ได้ แต่เรื่องดังกล่าว ได้ทำให้พล.อ.ประวิตรเสียหาย และเสียหายคนเดียวไม่พอ นำพาความเสียหายนั้นมาสู่ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรีด้วย

 

ยกตัวอย่างอีกหนึ่ง กรณีสำหรับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของ  พล.ต.ท.บุญเรือง ผลพานิชย์ และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. น้องชายพล.อ.ประวิตร ที่มาดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในขณะที่กำลังถูก ป.ป.ช.ไต่สวนกรณีร่ำรวยผิดปกติ ต่างเป็นผู้ถูกกล่าวหาฐานร่ำรวยผิดปกติซึ่งอยู่ระหว่างการถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไต่สวน โดย พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ 2 กรณีคือร่วมกับ พล.ต.ท.บุญเรือง ดำเนินธุรกิจคอกม้าที่หุบเขาในอ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและการทำนิติกรรมอำพรางจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดสมถวิลรีสอร์ท ที่ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ มูลค่านับร้อยล้านบาท

 

สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบโกงเป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจาก พล.ต.อ.พัชรวาทและพล.ต.ท.บุญเรือง แล้ว ยังมีนายตำรวจหลายต่อหลายคนร่วมเป็นคณะกรรมาธิการ อาทิ พล.ต.อ.วัชรพล รวมทั้งมีการแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ โดยทั้ง พล.ต.อ.วัชรพล และ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ต่างออกมากล่าวเชิงปกป้อง พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรือง ในทำนองว่าเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติจึงชอบธรรมที่จะร่วมเป็นกรรมาธิการได้

อย่างไรก็ตามถึงแม้ป.ป.ช.ยังไม่มีมติชี้มูลความผิดพล.ต.อ.พัชรวาท อีกทั้งพล.อ.ประวิตร จะออกมาปฏิเสธ ไม่รู้เห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ทำให้ "โลกติเตียน" ลดลงแต่อย่าใด อีกทั้งยังสะท้อนภาพที่อาจถูกมองได้ว่ามีการเล่นพรรคเล่นพวก 1 ในแม่น้ำ 5 สายอันเป็นผลผลิตของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)

 

โดยพล.อ.ประวิตรระบุบางช่วงบางตอนไว้ ว่า..

ตนยังไม่รู้เรื่องเลย มาถามตนทำไม ต้องไปถาม พล.ต.อ.พัชรวาท ถึงตนจะมีฐานะเป็นพี่ชายแต่ก็ไม่ได้อยู่และได้เจอกันเลย และการที่พล.ต.อ.พัชรวาทจะดำรงตำแหน่งอะไรก็เป็นเรื่องของเขาอายุ 60 กว่าแล้ว ส่วนตนก็อายุ 70 กว่าแล้วจะมายุ่งอะไรกับตน

 

"อย่าเอาความเป็นพี่เป็นน้อง มาเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำงาน ไม่เช่นนั้นจะทำงานด้วยกันได้อย่างไร ทุกอย่างเป็นการตัดสินใจของพล.ต.อ.พัชรวาท ทุกคนต่างโตกันหมดแล้ว ตนจะไปช่วยอะไร แต่ก็ช่วยไม่ได้ที่ พล.ต.อ.พัชรวาท ถูกโจมตี เพราะดันมี นามสกุล วงษ์สุวรรณ 

 

สรุปแล้วการตั้งพล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรืองร่วมเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายปราบโกงที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์

ถือเป็นอีกรอยด่างของ สนช. และอาจกระทบไปถึงภาพพจน์ความน่าเชื่อถือของคสช.ทางอ้อม ซึ่งก็ต้องถามไปยังพล.อ.ประวิตร ว่าท่านทราบ และเข้าใจถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ และพล.อ.ประยุทธ์ รับทราบเรื่องที่เกิดขึ้นหรือไม่ หรือทราบ แต่อยู่ในสภาวะ"กลืนไม่เข้า คายไม่ออก"