พุทธคุณ..ขลังจริง!!  “พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง”  ตั้งจิตให้มั่นแล้วสวดภาวนา 3 คาบ 7 คาบ ท่านว่าป้องภัยได้สารพัด เดินทางแคล้วคลาดปลอดอันตราย..

บทสวด“พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง” ช่วยป้องภัยได้สารพัด เดินทางแคล้วคลาดปลอดอันตรายทั้งปวง

ถือเป็นอีกหนึ่งความเชื่อด้วยแรงศรัทธาว่า   “พระคาถาอิติปิโสฯ”  หรือ “บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ”  ล้วนมีอานุภาพมากเกินประมาณ  โบราณจารย์ผู้แก่กล้าในวิชาอาคมมักจะนำพระคาถาอิติปิโสฯ มาพลิกแพลงได้ร้อยแปด ทั้งสวดเดินหน้า ถอยหลัง สลับไปมา หรือผูกเป็นอักขระเลขยันต์ได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นเคล็ดหรืออุปเท่ห์ในการใช้พระคาถาให้เกิดอานุภาพในด้านต่างๆ ถือเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของโบราณจารย์ก็ว่าได้ ....

เช่าพระคลิ๊กที่นี่ เช่าพระที่นี่

หนึ่งในการใช้พระคาถาอิติปิโสฯ ให้เกิดอานุภาพแรงกล้า นั่นคือ “พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง”   มีอุปเท่ห์หรือเคล็ดการใช้อยู่อย่างหลากหลาย  มีความเชื่อว่า หากภาวนา 3 คาบ หรือ 7 คาบก่อนออกเดินทางไปทิศต่างๆ จะช่วยให้เกิดอานุภาพในด้านแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง , สวดภาวนาติดต่อกัน 108 คาบ จะทำให้ตัวเบา ราวกับล่องหนได้ สามารถสะเดาะเคราะห์ชะตา พลิกร้ายกลายเป็นดี  แม้แต่โซ่ตรวนก็ขาดสะบั้น สะเดาะกุญแจได้อย่างน่าอัศจรรย์

 

พระคาถาอิติปิโส

 โบราณจารย์จึงนิยมใช้พระคาถาอิติปิโสถอยหลังกันอย่างกว้างขวาง แม้แต่พระเกจิอาจารย์ดังหลายท่านก็ยังใช้พระคาถานี้  เช่น หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ซึ่งท่านเป็นผู้ชำนาญในการสวดพระคาถาอิติปิโสถอยหลังได้อย่างแม่นยำ หลวงปู่ขุ้ย ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดพระคาถาอิติปิโสถอยหลังมาจากหลวงพ่อทบ วัดชนแดน และอีกหนึ่งท่าน คือหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ที่ได้บันทึกไว้เกี่ยวกับการสวดพระคาถาอิติปิโสถอยหลัง เพื่อให้เบี้ยแก้เกิดอานุภาพ  

 

พระคาถาอิติปิโส

 

สำหรับพระคาถาอิติปิโสถอยหลัง มี56 อักขระได้แก่

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา

นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ

สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ

นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ

สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา

วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ

อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ

 

 

สำหรับในปัจจุบันความนิยมต่อการสวด “พระคาถาอิติปิโสถอยหลัง” ยังมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อว่าพระคาถานี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ประการหนึ่งก็คือ การสวดพระคาถาอิติปิโสแบบปกตินั้น หลายคนที่สวดชำนาญแล้วอาจสวดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสมาธิ ฉะนั้นการสวดอิติปิโสถอยหลังจึงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตมีสมาธิมากขึ้นนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : www.palungjit.org

เครดิตภาพ: เพจ วัดป่าโนนวิเวก บ้านเทื่อม