ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

พระผงบารมีพระบรมธาตุ พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดท่าเรือ ปี ๒๔๙๗

ผมขอแนะนำพระพิมพ์ปรกโพธิ์(หรือบางคนเรียกว่าพระพิมพ์ชินราช วัดท่าเรือ) พิมพ์เล็กซึ่งได้สร้างในปี พ.ศ.๒๔๙๗ เนื่องจากมีเหตุผลคือ มีขนาดเล็กกะทัดรัด(ประหยัดทองเวลาเลี่ยม,เหมาะสำหรับผู้หญิงและเด็กห้อย ในยามที่ทองบาทละแปดพันไม่รวมค่ามือ),พุทธคุณมีครบทุกด้าน และท้ายสุดคือราคาเช่าหาอยู่หลักร้อยต้น อย่างเก่งไม่น่าจะเกินห้าร้อยบาท.นอกจากนี้เนื่องจากมีปริมาณการสร้างมากพอ ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงเรื่องการหาพระมา คงหาไม่ยาก มีปริมาณหมุนเวียนมากพอ และเท่าที่เดินๆดูตามสนามก็ยังไม่ได้รับความนิยมในการสร้างของเลียนแบบ….ไม่นานมานี้ผมก็ยังได้พระปรกโพธิ์พิมพ์เล็กมาองค์ละ ๒๐ บาทในกองพระที่เขาเอามาเลหลังขายแบบพระเหมา…บทความนี้ผมเขียนไว้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ปัจจุบันปี๒๕๖๐

ผมได้พูดถึงเรื่องพุทธคุณว่ามีครบทุกด้าน ดีไปหมดก็ว่าได้ ลองตามผมมาดูว่าทำไมผมถึงบอกว่าพระพิมพ์นี้รุ่นนี้ถึงเป็นพระดี ผมขอจำแนกเป็นข้อๆได้ทั้งหมดสี่ข้อดังนี้

๑.เรื่องเจตนาการสร้าง

เป็นการสร้างขึ้นเพื่อแจกส่วนหนึ่ง,ให้ทำบุญกฐินโดยนำเงินรายได้มาสร้างกำแพงล้อมรอบวัดพระบรมธาตุ และอีกส่วนหนึ่งนำมาบรรจุบนเจดีย์พระบรมธาตุ โดยเริ่มจาก”ตาขรัวคง”หรือ”อาจารย์คง” อาจารย์ของขุนแผนได้เข้าประทับร่างศิษย์ของท่านอาจารย์ชุม ซึ่งอาจารย์คงได้เคยอธิษฐานเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ว่า สมัยใด กาลใด พระพุทธศาสนาถึงซึ่งความเสื่อมทรามทางจิตใจของมนุษย์ ประเทศชาติได้รับความเดือดร้อน ท่านต้องมาช่วยและกาลนี้ก็ถึงเข้าแล้วจึงได้ปรากฏวิญญาณให้ท่านอาจารย์ชุมได้จัดสร้างพระผงบารมีพระบรมธาตุ(ในขั้นตอนที่ได้มีการพิสูจน์ว่าเป็นอาจารย์คงจริงๆก็มีการเขียนไว้แต่ผมคงไม่เขียน )

๒.เรื่องมวลสาร

ท่านอาจารย์คงได้ให้อาจารย์ชุมเดินทางไปเก็บ”ผงวิเศษ ๑๐๘กรุทั่วประเทศไทย

อาทิ-ที่สุพรรณบุรี:-ผงก้นกรุ-ผงกระดูกของอาจารย์คง,ผงขุนแผนไข่ผ่าซีก,ผงวัดบ้านกลาง(ผงพระพลายเพชรพลายบัว,ผงขุนแผนเนื้อดินเผา),ผงวัดดอนไก่เตี้ย(ผงยา,ผงพระเนื้อชิน) เป็นต้น

-สุโขทัย:-ผงวัดมหาธาตุ(พระเนื้อชิน,พระนาคปรกเนื้อดินเผา,พระโมคัลลาน์สารีบุตร,พระเรือนแก้ว,พระสะดุ้งมาร),เนื้อดินหลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง,ผงดินเผาของวัดดอนลาน-วัดช้างล้อม-วัดป่ากล้วย-นางพญาวัดต้นจันทร์และของวัดพระเชตุพน

-พิษณุโลก:-ผงดินเผา วัดท่ามะปราง-วัดจุฬามณี-วัดอรัญญิก-วัดตาปะขาวหาย-วัดวิหารทอง-วัดประตูไชย,ผงพระเศียรหัก วัดพระพุทธชินราช,ผงนางพญา วัดนางพญา

-ลำพูน:-ผงพระรอดพระคงพระเปิม,ผงพระสิบสอง-พระเปิม-พระสามของวัดพระธาตุ

-กำแพงเพชร:-ผงดินเผา,ผงพระหักป่น วัดพระปรางค์

-พัทลุง:-ผงพระดินดิบสมัยศรีวิชัย วัดถ้ำคูหาสวรรค์-ถ้ำอกทะลุ

-ตรัง:- ผงพระดินดิบสมัยศรีวิชัย วัดถ้ำเขาลายและถ้ำคีรีวิหาร

รวมผงก้นกรุและผงพระหักป่นมากกว่า ๑๐๘ กรุ โดยได้ทำการเก็บครบเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๙๗

นอกจากนี้ยังมีผงวิเศษอื่นๆอีกดังนี้

-ผงพระมหาว่าน อาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ

-ผงว่าน ๑๐๘ ชนิด และผงดอกไม้ ๑๐๘ วัด

-ผงพระเทพนิมิตรและผงนะปถมัง ของอาจารย์ชุม(สร้างไว้เมื่อ มิ.ย.๒๔๙๖)

-ผงพระหักป่น,ผงวิเศษจากสำนักอาจารย์ผู้เฒ่า ซึ่งท่านขุนพันธรักษ์ได้รวบรวมไว้หลายสำนัก

-ผงว่าน ๑๐๘ของท่านขุนพันธรักษ์

-ผงสมเด็จวัดอินทร์ พระนคร

-ผงนะปถมัง วัดหงษ์แพรก นนทบุรี

-ผงสมเด็จวัดระฆัง,ผงอิทธิเจ วัดหิรัญรูจี ธนบุรี

-ผงอิทธิเจของท่านพระครูสิทธิยาภิรัตน์ วัดดอนศาลา

-ผงอาจารย์แปลก วัดราษฎร์บูรณะ

อมตะพระเครื่อง..พระผงบารมีพระบรมธาตุ พิมพ์ปรกโพธิ์วัดท่าเรือ ปี๒๔๙๗ "อ.ชุม ไชยคีรี"จัดสร้าง มวลสารเยี่ยม เกจิดังร่วมพิธีมากมาย.

๓.การกดพิมพ์พระ

ได้ฤกษ์เริ่มพิมพ์องค์พระ วันที่ ๒ ส.ค.พ.ศ.๒๔๙๗ โดยได้พระครบ ๘๔,๐๐๐ องค์เมื่อ ๑ ก.ย.พ.ศ.๒๔๙๗

โดยผู้พิมพ์พระ คือพระภิกษุ,สามเณรและศิษย์ของอาจารย์ชุมซึ่งสมาทานศีล๕ นุ่งขาวห่มขาว ถวายพรหมจรรย์ตลอดพิธี มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ วันละ ๑๐๘ จบ,พาหุง ๑๓ จบและสวดพุทธาภิเษกตลอดพิธี.ในพิธีหากมีลูกศิษย์คนใดได้ทำผิดเช่นแอบไปกินเหล้า,พูดจาไม่เป็นมงคล หรือแอบกลับไปนอนกับเมีย ท่านอาจารย์คงจะพูดให้คนในพิธีฟังก่อนที่ผู้กระทำผิดได้ย้อนกลับมา ท่านจะรอต้อนรับที่หน้าโบสถ์โดยสั่งห้ามไม่ให้ผู้นั้นเข้าในวงล้อมสายสิญจน์ จนกว่าจะถูกปรับโทษเสียก่อน การปรับโทษนั้นต้องรับสารภาพจนหมดเปลือก หากมีการปกปิดซ่อนเร้น ท่านจะแฉขึ้นเอง จากนั้นต้องอยู่กรรมถูกจำกัดสถานที่เป็นเวลา ๓ วัน ต้องสวดมนต์ภาวนา ห้ามพูดคุยข้องแวะกับผู้อื่นทุกกรณีจนกว่าจะครบกำหนด ปกติต้องถือศีลห้า แต่ผู้ที่ทำผิดต้องถือศีลแปด.

๔.พิธีการปลุกเสก

ได้ทำการขอเชิญวิญญาณอาจารย์คง เพื่อกำหนดสถานที่ตั้งโรงพิธี โดยได้จัดตั้งที่ พระวิหารหลวง วัดพระบรมธาตุ โดยทำพิธีปลุกเสกตั้งแต่ ๑๔ ก.ย.ถึง ๑๒ ต.ค. พ.ศ.๒๔๙๗ ได้นิมนต์พระเถราจารย์ ๑๐๘ รูปมาร่วมพิธี มีท่านเจ้าคุณพระภัทรมุนี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุฯเป็นประธานฝ่ายสงฆ์.การปลุกเสกแบ่งออกเป็นตอนๆและมีการตรวจสอบพุทธคุณด้านนั้นๆ เช่นเสกคงกระพัน ๗ วัน,เสกแคล้วคลาด ๗ วัน,เสกมหานิยม ๗ วัน,เสกกันปืน-มหาอุด ๗ วัน,เสกป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและภูติผีปีศาจ ๗ วัน และเสกกันโจรป้องกันสัตว์ร้าย ๗ วัน.หลังจากเสกจบระยะหนึ่งๆนั้นได้มีการทดลองด้วยการตรวจรังสีพระและทดสอบโดยการให้ลูกศิษย์กำพระไว้แล้วใช้มีดทั้งฟันและเฉือน,ใช้ปืนยิงเข้าที่กองวัตถุมงคลโดยใช้ปืนหลายขนาด ปรากฏว่าปืนไม่ลั่นสักกระบอก จากนั้นให้ลูกศิษย์กำพระคนละองค์แล้วใช้ปืนยิงใส่ ปรากฏว่ามีเสียงดังแช๊ะๆ ๓ ครั้ง และได้นำพระไปแช่ในน้ำมันหอมแล้วทาที่ตัวหนู,แมวและสุนัข ปรากฏว่าทั้งสามชนิดกินด้วยกันนอนด้วยกันและเล่นด้วยกันโดยไม่ทำอันตรายกัน.

สำหรับคณาจารย์ ๑๐๘ รูปนั้นได้หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเป็นชุดๆ โดยจากคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในพิธีนั้น รู้จักแต่เกจิทางใต้ ส่วนเกจิบางรูปนั้นไม่รู้จัก แต่อาจารย์ชุมได้มีการบันทึกไว้(แต่ผมยังไม่เคยได้ผ่านตาเลยครับ) เท่าที่พอจำได้มีดังนี้

๑.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน

๒.หลวงพ่อโอภาสี บางมด

๓.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบน

๔.หลวงพ่อเมือง วัดท่าพญา

๕.หลวงพ่อคง วัดคลองน้อย

๖.หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำ

๗.หลวงพ่อแดง วัดโท ท่าศาลา

๘.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง

๙.หลวงพ่อแดง วัดเขาหลัก

๑๐.หลวงพ่อตุด วัดทุ่งกง

๑๑.หลวงพ่อวัน มะนะโส วัดประสิทธิชัย

๑๒.หลวงพ่อแสง วัดคลองน้ำเจ็ด

๑๓.หลวงพ่อปาล วัดเขาอ้อ

๑๔.หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

๑๕.หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ

อมตะพระเครื่อง..พระผงบารมีพระบรมธาตุ พิมพ์ปรกโพธิ์วัดท่าเรือ ปี๒๔๙๗ "อ.ชุม ไชยคีรี"จัดสร้าง มวลสารเยี่ยม เกจิดังร่วมพิธีมากมาย.

๑๖.หลวงพ่อเจ็ก วัดเขาตะวันตก

๑๗.หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก

๑๘.หลวงพ่อพัว วัดเขาราหู

๑๙.หลวงพ่อแดง วัดคลองไทร

๒๐.หลวงพ่อวิรัช วัดกะเปา

๒๑.หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน

๒๒.หลวงพ่อสงฆ์ วัดศาลาลอย

๒๓.หลวงพ่อจีด วัดถ้ำเขาพลู

๒๔.หลวงพ่อรุ่ง วัดบางแหวน

๒๕.หลวงพ่อท้วม วัดเขาโบสถ์

๒๖.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก

๒๗.หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง

๒๘.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

๒๙.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม

๓๐.หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม

๓๑.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ

ในพิธีปลุกเสกนั้นมีเกจิร่วมปลุกเสกอยู่เต็มโบสถ์ ซึ่งจำนวนที่แท้จริงท่าน(ผู้บอกเล่า)ไม่ได้นับ และยังมีเกจิจากทางภาคกลางที่ท่าน(ผู้บอกเล่า)ไม่รู้จัก.โดยผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นการปลุกเสกในคืนวันที่ ๑๒ ต.ค. พ.ศ.๒๔๙๗มากกว่า โดยมีการปลุกเสกตั้งแต่เวลา ๑๘.๐๐ น. มีพระสงฆ์สวดพุทธมนตร์และพุทธาภิเษกมีอาจารย์นั่งปรกตลอดทั้งคืน.ดังนั้นที่ว่าเริ่มปลุกเสกตั้งแต่ ๑๔ ก.ย.นั้นได้ระบุว่า “เริ่มเปิดพิธีปลุกเสกโดย อาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา,อาจารย์ปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ และอาจารย์คง สิริมโต วัดบ้านสวน โดยอาจารย์ที่ทำการปลุกเสกตลอดพิธี ได้แก่อาจารย์ชุม ไชยคีรี และอาจารย์ขุนพันธรักษ์ราชเดช” น่าจะมีการปลุกเสกมาก่อนนั้นแล้วทำพิธีปลุกเสกใหญ่ปิดท้าย.

ในตอนท้ายพิธี ขณะที่พระกำลังให้พร วิญญาณอาจารย์คงสั่งให้กลุ่มศิษย์ออกจากโบสถ์ให้มองดูที่ท้องฟ้า ปรากฏว่าดวงไฟโตเท่าบาตรมีหลากสีร่วงตกจากท้องฟ้าอย่างช้าๆ พอพระสวดถึงภวันตุเมเป็นจังหวะที่ดวงไฟดวงนั้นตกที่หลังคาโบสถ์แล้วหายไป

อ้างอิงจาก

๑.พระปรกโพธิ์พิมพ์วัดท่าเรือ และพระนาคปรกพิมพ์วัดนางตรา รุ่นพ.ศ.๒๔๙๗ สร้างโดยอาจารย์ชุม ไชยคีรี เขียนโดย นายแพทย์จรัญ วัยศิริ ในนิตยสารลานโพธิ์ ฉบับเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖

๒.พระชินราชท่าเรือ ๒๔๙๗ เขียนโดย เชิดศักดิ์ รัศมีพงศ์ ในนิตยสาร สนามพระ พระเครื่องสะสม ฉบับที่ ๓๐ ปี ๒๕๓๗

อมตะพระเครื่อง..พระผงบารมีพระบรมธาตุ พิมพ์ปรกโพธิ์วัดท่าเรือ ปี๒๔๙๗ "อ.ชุม ไชยคีรี"จัดสร้าง มวลสารเยี่ยม เกจิดังร่วมพิธีมากมาย.

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพและเจ้าของบทความ ที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

amulet2u

AppGeji