สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

          เนื่องในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน เป็นวันกองทัพเรือ ในสมัยโบราณยังมิได้มีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก จวบจนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเริ่มมีการแบ่งแยกกำลังรบทางเรือออกจากทางบก เมื่อครั้งเริ่มแรกตั้งกรมทหารเรือนั้น กิจการทหารเรือบางประเภทยังขาดบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญ จำเป็นต้องจ้างชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการตามตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ อาทิ ผู้บังคับการเรือและผู้บัญชาการป้อมต่างๆ

           ต่อมาภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า กิจการของทหารเรือเท่าที่อาศัยชาวต่างประเทศเข้ามาประจำตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ นั้น ไม่อาจที่จะหวังในด้านการรักษาอธิปไตยของชาติได้ดีเท่ากับคนไทยเอง พระองค์มีพระราชประสงค์ให้จัดการศึกษาแก่ทหารเรือไทย ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ในเรือแทนชาวต่างชาติที่จ้างไว้ต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระราชโอรส เสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารเรือยังประเทศอังกฤษ

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

           ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ประทับได้ว่างลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทาน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นต้นมา กับได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียน ความว่า

"วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร. ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เหนการทหารเรือ มีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบต่อไปในภายน่า"

          นอกจากนี้ สิ่งที่อยู่คู่กับกองทัพเรือในอดีต นั่นก็คือเรือดำน้ำ แม้ปัจจุบันจะปลดประจำการไปแล้ว เรือดำน้ำ จึงได้กลายเป็น "อดีต" เหลือเพียงแต่เรื่องราวที่อยู่ในความทรงจำของ "นักดำเรือดำน้ำ" ในยุคนั้นอีกเพียงไม่กี่คนเท่านั้น แต่หลายคนยังไม่เคยรู้ว่า ที่มาของชื่อเรือดำน้ำแต่ละลำนั้นมาจากตัวละครที่มีฤทธิ์วิเศษในการดำน้ำ ในประวัติศาสตร์เรือรบสยามนั้น เราเคยมี เรือดำน้ำอยู่ถึง 4 ลำ ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "เรือ ส."  เรือ ส. ทั้ง 4 ลำนี้ มีชื่อและหมายเลขเรียงตามลำดับ ดังนี้
หมายเลข ๑ ร.ล.มัจฉานุ
หมายเลข ๒ ร.ล.วิรุณ
หมายเลข ๓ ร.ล.สินสมุทร
หมายเลข ๔ ร.ล.พลายชุมพล

 

             เรือ ส. ทั้ง ๔ ลำนี้ มีชื่อตามตัวละครในวรรณคดีอมตะของไทยทุกลำ ซึ่งตาม ระเบียบกองทัพเรือ ว่าด้วยการแบ่งชั้นเรือ หมู่เรือ และการตั้งชื่อเรือหลวง ได้กำหนดให้เรือ ส. หรือเรือดำน้ำ ตั้งชื่อเรือตาม ผู้มีอิทธิฤทธิ์ สามารถดำน้ำได้ผิดมนุษย์มนา หรือ อาศัยอยู่ใต้บาดาล ในนิยาย หรือวรรณคดีไทย ซึ่งแต่ละลำก็มีที่มาจาก วรรณคดีต่าง ๆ

             

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

หมายเลข ๑ ร.ล.มัจฉานุ

              เรือหลวงมัจฉาณุ เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ มัจฉานุ จากเรื่องรามเกียรติ์ มัจฉานุ เป็นลูกของหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา เนื่องจากเป็นลูกของหนุมาน จึงมีร่างกายเป็นลิง แต่มีหางเป็นปลาเช่นเดียวกับนางสุพรรณมัจฉา แต่เมื่อนางสุพรรณมัจฉาได้คลอดมัจฉานุด้วยการสำรอกออกมาแล้ว เกรงว่าทศกัณฐ์จะรู้ว่าเป็นลูกตน จึงได้นำมัจฉานุไปทิ้งไว้ที่หาดริมทะเล หลังจากนั้น ไมยราพณ์ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบาดาล ได้เดินทางมาพบและเก็บไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งภายหลัง หนุมานที่ได้ติดตามไมยราพณ์ ซึ่งลักพาตัวพระรามมาไว้ที่เมืองบาดาล จึงได้พบกับมัจฉานุ ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าด่านสระบัวอยู่ ทั้งสองจึงได้ต่อสู้กัน แต่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถเอาชนะกันได้เสียที จึงได้ถามมัจฉานุว่าเป็นลูกใครพ่อแม่ชื่ออะไร เมื่อได้ยินคำตอบของมัจฉานุ หนุมานก็ดีใจมากเมื่อได้พบลูกของตน เมื่อเสร็จศึกกรุงลงกาครั้งที่ ๒ และศึกกรุงมลิวัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็น พญาหนุราช ครองกรุงมลิวันแทนท้าวจักรวรรดิ และได้นางรัตนามาลี ธิดาท้าวจักรวรรดิเป็นมเหสี

            

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

หมายเลข ๒ ร.ล.วิรุณ

            เรือหลวงวิรุณ เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ วิรุณจำบัง จากเรื่องรามเกียรติ์ วิรุณจำบังเป็นโอรสของพญาทูษณ์ กษัตริย์เมืองจารึกองค์ที่ ๑ โอรสองค์ที่ ๕ ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา น้องชายร่วมบิดามารดาของทศกัณฐ์ มีหน้ายักษ์สีมอหมึกเพียง ๑ พักตร์ ปากขบตาจระเข้ สวมมงกุฎหางไก่ มี ๒ กร ส่วนร่างกายนั้นดำ ปากแดง มีความสามารถในการแปลงกาย และหายตัวได้สมชื่อ แต่ที่โดดเด่นมาก คงเป็นตอนที่ซ่อนตัวเป็นไรอยู่ในฟองน้ำ เพื่อหนี จากการติดตาม ของหนุมาน เมื่อยกทัพไปช่วยทศกัณฐ์รบกับกองทัพพระราม สมทบกับกองทัพของ ท้าวสัทธาสูร โดยใช้ความสามารถพิเศษในการหายตัวได้ ทั้งตน และ นิลพาหุ ม้าคู่ใจ เข้าฆ่าพลลิงในกองทัพพระราม ตายเกลื่อนกลาด พระรามจึงแผลงศร ฆ่าม้านิลพาหุ ส่วนวิรุฬจำบังนั้น ได้นิมิตรตนเองเป็นไรซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำ อยู่ ณ เชิงเขาอัศกรรณ กระทั่งหนุมานตามมาพบจึงเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือด สุดท้ายวิรุฬจำบังถูกรัดด้วยหางของพญาลิง ก่อนหนุมานจะเหวี่ยงเข้าใส่เหลี่ยมเขาจนขาดใจตาย สาเหตุที่นำชื่อ วิรุณจำบัง มาตั้งเป็นชื่อเรือ ส. นี้ น่าจะมาจากอิทธิฤทธิ์ในการหายตัวได้ และโจมตีข้าศึกโดยไม่ให้รู้ตัวมากกว่าการที่ไปซ่อนตัวอยู่ในฟองน้ำ ใต้แม่น้ำ เพราะเรือดำน้ำก็มีคุณสมบัติพิเศษก็คือ การเร้นกายดุจหายตัวไปในพื้นท้องทะเล เรือผิวน้ำไม่สามารถตรวจจับได้โดยง่ายและจู่โจมศัตรูโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

 

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

หมายเลข ๓ ร.ล.สินสมุทร

            เรือหลวงสินสมุทร เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ สินสมุทร จากเรื่องพระอภัยมณี สินสมุทรเป็นโอรสของ พระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร เป็นคนที่ผลักหินเปิดปากถ้ำให้พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรโดยความช่วยเหลือของพวกเงือก ซึ่งตัวเขาเองก็หนีตามพ่อไปด้วยจนไปถึงเกาะแก้วพิสดาร ต่อมานางสุวรรณมาลีได้รับสินสมุทรเป็นลูกบุญธรรม สินสมุทรมีบทบาทสำคัญในศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก และเมื่อไปรบลังกาก็ได้ติดตามพระอภัยมณีไปด้วย จนไปหลงกลเสน่ห์นางยุพาผกาติดพันอยู่ที่เมืองลังกา สินสมุทรมีรูปกายเหมือนมนุษย์ แต่มีเขี้ยวงอกออกจากปากเหมือนยักษ์ สามารถดำน้ำ ว่ายน้ำได้และมีพละกำลังมหาศาล โมโหร้ายเหมือนมารดา และเจ้าชู้เหมือนบิดา นอกจากนี้ยังเก่งกล้าสามารถในการรบ เพราะได้วิชาจากพ่อ และฤาษีโยคีที่เกาะแก้วพิสดาร จึงนับได้ว่า สินสมุทรเป็นนักรบทางทะเลที่เก่งกาจผู้หนึ่งเลยทีเดียว

 

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

หมายเลข ๔ ร.ล.พลายชุมพล

                เรือหลวงพลายชุมพล เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ พลายชุมพล จากเรื่องขุนช้างขุนแผน พลายชุมพล เป็นลูกของขุนแผนกับนางแก้วกิริยา ต่อมาได้ทำความดีความชอบจึงได้เลื่อนเป็นหลวงนายฤทธิ์ นายเวรมหาดเล็กเวรขวา กรมเดียวกับพลายงาม ผู้เป็นพี่ชายต่างมารดา มีอยู่ครั้งหนึ่งเถรขวาดจำแลงตนมาเป็นจระเข้ อาละวาดฆ่าคน ในเมืองเชียงใหม่ เป็นที่เกรงกลัวของผู้คนในย่านนั้น พลายชุมพลจึงได้อาสาสมเด็จพระพันวษา ออกปราบเถรขวาด และจับตัวเถรขวาดได้สำเร็จ จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น หลวงนายฤทธิ์ จากวีรกรรมที่พลายชุมพล ต้องลงน้ำปราบจระเข้จำแลง และวิชาล่องหนหายตัว กับวิชาดำดินนี้เอง จึงทำให้ พลายชุมพล เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ได้นำมาใช้กับ เรือ ส. ลำสุดท้ายของสยาม

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ
(เรือหลวงมัจฉานุ)

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ (เรือหลวงวิรุณ)

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

(เรือหลวงสินสมุทร)

 

สมบัติล้ำค่าแห่งกองทัพเรือ!! เปิดที่มาชื่อ "เรือดำน้ำของไทย" ในอดีต จากตัวละครในวรรณคดี สู่..นามพระราชทาน "เรือรบหลวงของสยาม" #วันกองทัพเรือ

(เรือหลวงพลายชุมพล)

 

            เรือหลวงทั้ง ๔ ลำ ปลดประจำการเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔ พร้อมกัน เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังปลดประจำการ เรือทั้งสี่ลำได้ได้นำมาจอดเทียบกันที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้มีการขายเรือให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้นำมาจัดสร้างสะพานเรือจำลอง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ

 

 

ขอบคุณที่มาจาก : http://zedth.exteen.com

                        https://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงมัจฉานุ

                        https://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงวิรุณ

                        https://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงสินสมุทร

                        https://th.wikipedia.org/wiki/เรือหลวงพลายชุมพล