มีประโยชน์มากๆ 5 สูตรสมุนไพร รักษาเก๊าท์ ล้างกรดยูริค บรรเทาอาการเจ็บปวด หาง่าย ทำง่าย กินง่าย ราคาถูก! แชร์บอกต่อ

เผยเคล็ดลับสูตร 5 สมุนไพร รักษาเก๊าท์ ล้างกรดยูริค บรรเทาอาการเจ็บปวด

เนื่องจากโรคเก๊าท์ ถือได้ว่าเป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในเพศชาย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน รวมถึงยังมีอาการข้อแข็ง และบวม ซึ่งมักจะเป็นที่นิ้วหัวแม่เท้า ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของโรคเก๊าท์ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และอาจเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็นและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ได้

 

โรคเก๊าท์เกิดจาก ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกติ และมีการสะสมกรดยูริคเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหลายปี จึงทำให้กรดยูริคตกตะกอน สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมมากที่ข้อต่อ ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ และปวดแดงร้อนบริเวณข้อต่อ, ถ้ากรดยูริคสะสมอยู่ตามผิวหนังมาก จะส่งผลให้เกิดปุ่มนูนบนขึ้นตามผิวหนัง, ถ้ากรดยูริคสะสมที่ไตมาก ก็จะเกิดเป็นโรคนิ่วในใตและเกิดอาการใตเสื่อม เป็นต้น

สาเหตุของโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เกิดจากการมีกรดยูริคในเลือดมากเกินไป (hyperuricemia) ซึ่งสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมีคำอธิบายที่ยังไม่ชัดเจน แต่มีความเชื่อว่าปัจจัยทางด้านพันธุกรรมน่าจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว
 

ภาพโรคเก๊าท์

 

เมื่อกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น อาจตกผลึกในข้อต่อ ซึ่งจะกระตุ้นกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการอักเสบ รวมถึงอาการปวด และบวมของข้อต่อ
 

ไบโอเดอร์มา
สุขภาพและความงามโดยแนน

 

สมุนไพรไทยๆ หลายชนิด สามารถรักษาโรคเก๊าท์ ล้างกรดยูริก หาง่าย ทำง่าย กินง่าย ราคาถูก ลดการทรมานกับอาการปวด เพื่อเลี่ยงหรือช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งอาจมีสารเคมีตกค้างที่ไต ไตจะได้ไม่ต้องทำงานหนัก ถือเป็นทางเลือกการบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติให้กับผู้ป่วย

 

สูตร 1

น้ำมะกรูด ผสมน้ำผึ้งนิดหน่อย แล้วเอาน้ำอุ่นเติมใส่ไม่ต้องมาก หรือน้ำเย็น ผสมแล้วนำมาดื่ม ใช้เวลาประมาณเดือนครึ่ง ดื่มทุกวันช่วยบรรเทาอาการ

 

สูตร 2

ใบรางจืด 5 ใบ + ใบเตย 5 ใบ ต้มน้ำ 2 ลิตร ดื่มทุกวัน จะช่วยลดการเป็นเก๊าท์ – รูมาตอยด์ สูตรนี้ลดหินปูนได้ดีที่สุด

 

สูตร 3

ใบยอ 4 ใบ + มะตูมแห้ง 1 แว่นย่างไฟให้เหลือง นำมาต้มกับน้ำ 3 ขวด เคี่ยวให้เหลือ 2 ขวด ดื่มกินต่างน้ำทุกวันจนกว่าจะหาย

 

สูตร 4

ใบมะรุมสดๆ 3 ยอด ต้มน้ำ 2 ลิตร ดื่มทุกวัน ลดอาการเก๊าท์ได้

 

สูตร 5

มะละกอดิบ 1 ลูก เอาเมล็ดออก ไม่ต้องปลอกเปลือก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นทอนๆ ต้มน้ำ 3 ลิตร ดื่มทุกวันอาการปวดลดลงจนหาย

 

เมนูอาหารแนะนำที่ช่วยลดอาการเก๊าท์

1. ใบย่านางสดวันละ 10-20 ใบ ตามน้ำหนักตัวคั้นน้ำดื่ม ดื่มบ่อย ๆ แต่ไม่จำเป็นต้องทุกวัน

2. ใบรางจืด + ใบเตย ต้มน้ำดื่มประจำ

3. ใบมะรุมสด ลวกจิ้มน้ำพริก

4. ลูกเดือยต้มกับข้าวเจ้า แบบข้าวต้ม ทานบ่อย ๆ
 

อาหารที่คนเป็นโรคเก๊าท์ควรงด

เนื่องจากโรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต การกินอยู่ ดังนั้นหากจะแก้ไขต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือการหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ซึ่งได้แก่อาหารต่อไปนี้

1. เนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด
2. เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
3. ไข่ปลา
4. ปลาดุก, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน
5. กุ้ง
6. ผักชะอม, ผักกระถิน, ผักสะเดา
7. กะปิ
8. น้ำต้มกระดูก
9. ซุปก้อน
10. เห็ด
 

อาหารที่ไม่ควรรับประทาน

 

การรักษาและป้องกันโรคเก๊าท์

เป้าหมายของการรักษาโรคเก๊าท์ คือ การบรรเทาอาการปวดให้หายไปอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ รวมถึงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ความเสียหายของข้อต่อและไต การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการใช้ยาสามารถป้องกันการกำเริบของโรคเก๊าท์ได้ในอนาคต

 

การรักษาโรคเก๊าท์ในระยะแรก 

ในช่วงแรกที่โรคเก๊าท์แสดงอาการ จะวิธีรักษาเบื้องต้นคือ แพทย์จะให้ผู้ป่วยทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ และให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองด้วยการ งดทานอาหารที่จะทำให้เกิดกรดยูริคสูงในกระแสเลือด รวมถึงงดการดื่มแอลกอฮอร์ จากนั้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำสะอาดเยอะๆ จะช่วยให้ร่างกายสามารถขับกรดยูริคให้ออกมาพร้อมกับปัสสาวะได้มากขึ้น นอกจากนี้การดื่มนมสด ก็สามารถช่วยลดกรดยูริคในร่างกายได้ ในกรณีที่รักษาและดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้ว ยังมีอาการกำเริบมากกว่า 2 - 3 ครั้งต่อปี อาจต้องเข้ารักษากับแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับยาลดกรดยูริคเป็นกรณีพิเศษ

 

การรักษาโรคเก๊าท์แบบเฉียบพลัน

1. พักการใช้ข้อที่มีภาวะอักเสบ
2. ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวม
3. ใช้ยาแก้ปวดในทันทีที่อาการของเก๊าท์กำเริบ ได้แก่ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาโคลชิซีน (colchicine) รวมถึงยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน ( oral corticosteroids)

 

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

1. การป้องกันการเกิดภาวะอักเสบของเก๊าท์ในระยะยาว สามารถใช้ยาที่ช่วยลดการสร้างกรดยูริกในร่างกาย เช่น ยาที่ยับยั้งเอนไซม์แซนทีนออกซิเดส (xanthine oxidase inhibitors) หรืออาจใช้ยาที่ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย (uricosuric)
2. รับประทานยาตามที่แพทย์โดยเฉพาะยาที่ช่วยลดกรดยูริกอย่างเคร่งครัด
3. ลดน้ำหนักให้อยู่ในช่วงมาตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารทะเล
4. โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของข้อ อันเนื่องมาจากการตกผลึกของกรดยูริกภายในข้อ โดยหลาย ๆ ปัจจัยสามารถส่งผลเพิ่มระดับกรดยูริกในกระแสเลือดได้ เช่น การทานอาหารทะเล หรือการดื่มแอลกอฮอล์ โดยการรักษาและป้องกันโรคเกาต์ที่มีประสิทธิภาพ ควรเน้นย้ำในเรื่องของการใช้ยาอย่างเคร่งครัดร่วมกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง
 

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs , roongee