บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         เนื่องในวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ ถึงแม้ว่าวันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะทรงเสด็จสู่สวรรคาลััยแล้ว แต่เชื่อว่าคนไทยทุกคน ยังคงรำลึกและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ไม่เสื่อมคลาย เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า นอกจากพระองค์ทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงชนชาวไทย แต่บทบาทของในหลวง ที่ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ก็ประทับใจคนไทยมิเคยลืม ความรักระหว่างพ่อกับลูกนั้นเป็นความรักที่บริสุทธิ์ หากแม่เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงายามเราโดนแดดแผดเผา พ่อก็เปรียบเสมือนผืนแผ่นดินที่อุ้มชูและค้ำจุนลูกจนเติบใหญ่

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         ย้อนไปหลังพิธีราชาภิเษกสมรส ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ เกือบปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้สัมผัสกับความเป็น "พ่อ" ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริรัตนาพรรณวดี และในปีถัดมา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักรยาดิศร สันตติวงศ์ เทเวศธำรงสุบริบาล อภิคูณุปการ มหิตลาดุลเดช ภูมิพลเนรศวรางกูล กิตติสิริสมบูรณ์ สวางควัฒน์ บรมขัตติยะราชกุมาร ก็ประสูติ ในวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕  ทำให้บทบาทของ "พ่อ" ทรงชัดเจนยิ่งขึ้น 

         จากนั้น วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๘ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ก็ทรงพระประสูติกาลขึ้น ณ สถานที่เดียวกับ
เจ้าฟ้าชาย (รัชกาลที่ ๑๐) นั่นคือพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และอีกสองปีต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเช่นกัน 

         หลังจากนั้นวังสวนจิตร (พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน) ก็ต่อเติมเสร็จ ทุกพระองค์จึงได้ย้ายไปอยู่ที่นั่น ทุกพระองค์ ล้วนเติบโตในวังสวนจิตรฯ ภายใต้พระหัตถ์ของ "พ่อ" ผู้มีภารกิจต่อปวงชนมากมายเช่นในหลวง แต่ต่อให้มีภาระกิจมากมายเพียงใด เราก็ยังได้เห็นภาพ "ครอบครัว" ที่อบอุ่น ผู้เป็นบิดาที่ทรงงานหนักหนา แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีกิจกรรมกับพระโอรส และธิดาต่างกัน เช่น ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ ซึ่งมีช่วงที่มิได้อยู่ในประเทศไทยค่อนข้างนาน แต่เมื่อกลับมาก็ยังได้ถวายงาน โดยเป็นตัวแทน และจัดตั้งกลุ่มมูลนิธิของตนเองขึ้น เช่นเดียวกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอองค์อื่นๆ เมื่อยามทูลกระหม่อมฯ ยังเยาว์ ในหลวงได้ทรงกีฬาประเภทเรือใบ กับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ฯ (พระยศในขณะนั้น) จนได้รับเหรียญทองในการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค จากกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๑๐) มาแล้ว ซึ่งปัจจุบันคือกีฬาซีเกมส์ เพราะทำการเพิ่มฟิลิปปินส์ กับอินโดนีเซีย จึงขยายออกเป็น กีฬา เซาท์อีสเอเชีย จากที่แต่ก่อนเล่นกันในเฉพาะประเทศในเขตแหลมทองเท่านั้น

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

          ในวันนี้ ทูลกระหม่อมฯ ก็นำความรู้สึกปลาบปลื้ม ในวันนั้นมาใช้ เพื่อชักนำเยาวชน หันมาสนใจการออกกำลัง ดนตรี มากกว่าการปล่อยตัวไปกับความไม่ถูกควรต่างๆ แม้จะไม่มีคุณพุ่มแต่ทูลกระหม่อม ก็หวังให้เยาวชนไทย ห่างไกลยาเสพติด เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ แม้ในวันสูญเสียอันยิ่งใหญ่ หลายคนได้เห็นภาพในหลวง ทรงปลอบโยน เช็ดน้ำพระเนตรให้ทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตน์ฯแล้ว รู้สึกว่าแม้ท่านจะสูญเสียคุณพุ่มไป แต่ข้างกายทูลกระหม่อมฯ ยังมี "พ่อ" ของทูลกระหม่อมฯ คอยคุ้มครอง และเป็นกำลังใจ ไม่ว่าลูกจะ "โต" แค่ไหน แต่ "ในหลวง" ก็ยังทรงเป็น "พ่อ" อยู่เสมอ

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

      สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลุยน้ำ เพื่อตามเสด็จขณะ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จจังหวัดสกลนคร (ปี ๒๕๒๘) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ จากกรมชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพที่เห็นคือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ทรงลุยน้ำ เพื่อจะสาวพระบาทไปอยู่ข้างในหลวง ที่พระหัตถ์ถือวิทยุ แผ่นกระดาษโครงงาน ห้อยกล้องถ่ายภาพไว้ที่พระศอทำให้เสด็จพระราชดำเนินไม่ถนัด 

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

       เมื่อถึงคราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระอิสสริยยศในขณะนั้น)  ต้องเสด็จไปศึกษาต่อในต่างประเทศเมื่อหลายสิบปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็อดคิดถึงพระราชโอรสไม่ได้ หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยาได้เล่าประสบการณ์หลังจากได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระตำหนักภูพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อหลายสิบปีก่อนว่า  ก่อนร่วมโต๊ะเสวยหม่อมได้รับการกำชับจากท่านผู้หญิงมณีรัตน์ว่า "ห้ามพูดถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯนะ" (พระอิสสริยยศในขณะนั้น) 

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

       เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชหฤทัยระลึกถึงพระราชโอรสมาก และคงไม่โปรดให้ใครพูดถึงเพื่อจะได้ลืมและคลายความคิดถึง แต่พอหม่อมดุษฎีเดินไปนั่งที่โต๊ะเสวย ก้นยังไม่ทันจะแตะที่เก้าอี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็มีพระราชกระแสรับสั่งถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ อย่างยืดยาวติดต่อกันโดยไม่มีช่องว่างให้หม่อมกราบทูลอะไรเลย กลายเป็นว่าเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสียเองที่คิดถึงพระราชโอรสจนอดที่จะตรัสถึงไม่ได้ เรื่องนี้ทำให้เราทราบว่า ความรักระหว่างพ่อกับลูกนั้นเป็นความรักที่แนบแน่นยากที่จะคลาย และไม่ว่าจะเป็นเจ้าหรือเป็นสามัญชน ความรักที่มีให้แก่ลูกนั้นก็ไม่ต่างกันเลย

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

 

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยะชาติ สยามบรมราชกุมารี จริงๆแทบ ไม่ต้องพูดเลย ว่า "สมเด็จพระเทพฯ" พระองค์ทรงทำอะไรกับ "พ่อ" ของพระองค์บ้าง เพราะต่างรู้ซึ้งกันดี ด้วยพระราชกรณียกิจมีมากมาย เสด็จตามพระราชบิดาไปทุกที่ ภาพคุ้นตาของชาวไทยจะเห็นว่า สมเด็จพระเทพฯ พระองค์ทรงเดินตามรอยพระบาทของในหลวง ทรงอยู่เคียงข้างในหลวงทุกที่ที่ในหลวงเสด็จ

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

        มีเรื่องเล่าของสมเด็จพระเทพฯ เกี่ยวกับ "ข้าวสาร" โดยในครั้งนั้น สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุได้เพียง ๘ พรรษาเท่านั้น และได้ทูลถาม "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" ว่า ข้าวสาร ๑ กระสอบมีกี่เม็ด พระองค์ทรงอธิบายให้พระธิดาฟังว่า ข้าวสาร ๑ กระสอบมีน้ำหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม กิโลกรัมหนึ่งมีเครื่องชั่งวัดได้ ๑๐ ขีด ดังนั้นก็เอาภาชนะไปตวงข้าวสารมาชั่งได้ ๑ ขีด แล้วก็นับข้าวสารที่ตวงมานั้นมีกี่เม็ด แล้วก็เอา ๑๐ คูณ เสร็จแล้วเอา ๑๐๐ คูณผลลัพธ์อีกทีก็จะได้จำนวนเม็ดข้าวใน ๑ กระสอบ 

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน        

       เมื่อได้ฟังดังนั้น สมเด็จพระเทพฯ ทรงทูลว่า "ไม่อยากรู้แล้ว" พระองค์จึงสอนต่อไปว่า "ไม่ได้หรอก หากถามก็แสดงว่าอยากรู้ ดังนั้นจงไปหาข้าวสารมาตวง และนับเสีย เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรให้มาบอกด้วย ว่าข้าวสารหนึ่งกระสอบมีกี่เม็ด เพราะว่าเราก็อยากรู้เหมือนกัน" (นางสนองพระโอษได้แต่อมยิ้มเล็กๆ) นับเป็นบทเรียนสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานให้แก่สมเด็จพระเทพฯ นับว่าเป็นความรักความผูกพันระหว่างพ่อลูกที่ตราตรึงประทับใจคนไทยมิอาจลืม

 

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีนั้น ทรงดำเนินตามรอยพระบาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรอยที่พระองค์ "อยากเป็น" คงจำกันได้ว่า เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอฯ ในหลวงของเราทรงตั้งมั่นจะศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ ต่อเมื่อต้องมีภารกิจหน้าที่อันสำคัญต่อบ้านเมือง จึงทรงเบนเข็มการศึกษามาเป็นรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์แทน
 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

        เมื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิลอดุลยเดช ทรงมี “นักวิทยาศาสตร์” ข้างพระองค์แล้ว คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์เล็ก ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ตั้งสถาบันมะเร็ง เพื่อทำการวิจัยศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งและขยายโครงการไปในแนวทางการทดลองต่างๆเพื่อรักษา และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น
  

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

         มีเรื่องเล่าครั้งหนึ่ง เมื่อในหลวงทรงดนตรีให้กลุ่มนักศึกษาธรรมดาๆ ซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ได้รับฟังอย่างเป็นกันเอง และสนทนาด้วยภาษาธรรมดาที่สุด แทรกด้วยพระอารมณ์ขันเป็นระยะๆ บางครั้งยังทรงหยอกล้อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรส พระราชธิดา ต่อมาในช่วงหนึ่งของการแสดง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงตรัสกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ อัครราชกุมารี ซึ่งในขณะนั้นยังทรงพระเยาว์มาก ให้ออกไปเล่นเปียโนให้นักศึกษาฟัง แต่ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงเขินและมีท่าทีลังเลในการเสด็จออกไปกลางเวทีเนื่องจากอยู่ในกลุ่มผู้คนจำนวนมาก จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงตรัสด้วยความเอ็นดูว่า "นี่พ่อสั่งนะ..." เรียกเสียงหัวเราะของกลุ่มนักศึกษาได้ทั้งหอประชุม พระสุรเสียงที่พระองค์ทรงเรียกแทนพระองค์เองว่า "พ่อ" นั้น ยังคงความอบอุ่นยังคงอยู่ในใจของผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้นอย่างไม่เสื่อมคลาย

 

บทบาทของในหลวง ในวันที่ทรงเป็น "พ่อ" เปิดสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูก แม้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงงานหนักหนาแค่ไหน แต่มิเคยละเลย "ลูก" ของท่าน

          การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมมอบภารกิจให้กับ "ลูก" ของพระองค์ท่านต่างแบบกัน ย่อมหมายความว่า "พ่อ" ผู้นี้ทรงทราบ
และเข้าใจดีว่า "ลูก" แต่ละคนต้องการอะไร และมีความเหมาะสมด้านไหน ควรสนับสนุนและปลูกฝังอย่างไร ทรงเป็นบิดาที่มองหนทางของลูก ด้วยสายพระเนตร
อันยาวไกล ปัจจุบันพระโอรสและพระธิดา ตลอดจนพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ ล้วนแล้วแต่มีพระราชกรณียกิจ มีมูลนิธิหรือองค์กรส่วนพระองค์ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่ประสานต่อ - ก่อความดี - เกื้อกูล – หนุนเนื่อง - สืบทอด – สอดคล้อง กับ "ในหลวง" ทั้งสิ้น ทั้งหมดสานเป็นสายใยแห่งครอบครัว ที่แผ่คลุมคุ้มครองประเทศนี้ ร่มเย็นเป็นสุขใต้ร่มพระบารมีของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ เสมอมา

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.clipmass.com

                          http://www.palungjit.com