ติดตามรายละเอียด FB : Deeps News

กลายเป็นเรื่องร้อนในวงการสื่อสารโทรคมนาคมอีกระลอกใหญ่ สำหรับอนาคตคลื่น  2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)   ที่แกว่งไปมาจนล่าสุด เกิดกระแสข่าวใหญ่ว่ามีการเขี่ยลูกโดยผู้บริหาร กสทช. ให้ทรัพย์สินแผ่นดินล็อตนี้   ต้องกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือหาผลประโยชน์โดยกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เอกชน  ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้า  บมจ.ทีโอที ในฐานะรัฐวิสาหกิจชาติ  ที่ถือกรรมสิทธิ์คลื่น 900 MHz มาตลอดต่อเนื่องหลายสิบปี  เพิ่งถูกแย่งชิงไปและมีพันธะสัญญาจากกสทช.ว่าจะให้ บมจ.ทีโอที  ได้รับผิดชอบคลื่น 2300 MHz  เต็มรูปแบบ

ด้วยเหตุกรณีดังกล่าว  เป็นผลทำให้  นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที  พร้อมด้วย นายอนุชิต ธูปเหลือง รองประธานฯ  และตัวแทนพนักงานกว่า 50 คน  ตัดสินใจเข้ายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  เพื่อขอให้ กสทช.เร่งพิจารณาอนุมัติแผนธุรกิจบริการไร้สายคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ของทีโอที

 

อย่าให้ถึงต้องลุกฮือ!!สหภาพฯทีโอที เดินหน้าทวงสัญญา กสทช. ไฟเขียวแผนธุรกิจคลื่น 2300 MHz  หลังสะพัดมีแผนปล่อยเอกชนประมูล..ยึดเบ็ดเสร็จ??

ทั้งนี้ข้อเรียกร้องหลักๆ  3 ข้อ ประกอบด้วย   1.ขอให้ กสทช.ดำเนินการตามใบอนุญาตที่ได้รับปัจจุบัน โดยไม่มีการเพิ่มเงื่อนไขใหม่   2.หาก กสทช.ไม่อนุญาตจะส่งผลกระทบทำให้รัฐเสียรายได้กว่า 3.6 พันล้านบาท ถ้ารวมผลประกอบการทีโอทีด้วยก็ประมาณ 6 หมื่นล้านบาท และ 3.การประมูลความถี่ครั้งต่อไป ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทีโอที ฉะนั้นไม่ควรนำปัญหามาให้ทีโอที

 

อย่าให้ถึงต้องลุกฮือ!!สหภาพฯทีโอที เดินหน้าทวงสัญญา กสทช. ไฟเขียวแผนธุรกิจคลื่น 2300 MHz  หลังสะพัดมีแผนปล่อยเอกชนประมูล..ยึดเบ็ดเสร็จ??

 

ดังนั้นทางสหภาพบมจ.ทีโอที จึงขอให้คณะกรรมการ กสทช.เร่งรัดการพิจารณาแผนโดยเร็ว เพื่อให้ทีโอทีสามารถปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ และสามารถดำเนินการได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาใบอนุญาตการประกอบกิจการ ดังเช่นที่อนุญาตให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ใช้ความถี่ต่างๆ ในการให้บริการสื่อสารไร้สายประเภทต่างๆ หากจะมีการปฏิเสธหรือปฏิบัติที่ผิดไปจากใบอนุญาตประกอบกิจการที่ได้ให้มาแล้ว รวมทั้งการอนุมัติที่ล่าช้า ย่อมต้องถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อทีโอที ให้แตกต่างไปจากผู้ได้รับใบอนุญาตที่เป็นเอกชนรายอื่นๆ อันเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อทีโอที

 

อย่าให้ถึงต้องลุกฮือ!!สหภาพฯทีโอที เดินหน้าทวงสัญญา กสทช. ไฟเขียวแผนธุรกิจคลื่น 2300 MHz  หลังสะพัดมีแผนปล่อยเอกชนประมูล..ยึดเบ็ดเสร็จ??

 

อย่าให้ถึงต้องลุกฮือ!!สหภาพฯทีโอที เดินหน้าทวงสัญญา กสทช. ไฟเขียวแผนธุรกิจคลื่น 2300 MHz  หลังสะพัดมีแผนปล่อยเอกชนประมูล..ยึดเบ็ดเสร็จ??

 

อย่าให้ถึงต้องลุกฮือ!!สหภาพฯทีโอที เดินหน้าทวงสัญญา กสทช. ไฟเขียวแผนธุรกิจคลื่น 2300 MHz  หลังสะพัดมีแผนปล่อยเอกชนประมูล..ยึดเบ็ดเสร็จ??

 

ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น  เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2558 กสทช. ได้มีมติอนุญาตให้ทีโอที ปรับปรุงเทคโนโลยีบนคลื่น 2300 MHz เพี่อให้บริการเสียง ข้อมูล และพหุสื่อ โดยใช้เทคโนโลยี LTE และใช้งานได้ทั่วประเทศ ตามประกาศ กทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการ Broadband Wireless Access (BWA) ย่านความถี่วิทยุ 2300-2400 MHz

 

จากนั้นเมื่อวันที่   25 เม.ย. 2559 กสทช. ได้แจ้งเพิ่มเติมมายังทีโอทีว่า มติดังกล่าวเป็นการอนุญาตให้ทีโอที นำคลื่น 2300 MHz ไปให้บริการได้ทั้งประเภท Fixed Wireless Broadband และ Mobile Broadband ซึ่งแผน BWA ดังกล่าวระบุให้ทีโอที ใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ (Neutral Technology) ตามข้อเสนอแนะของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (ITU-R Recommendations)

 

โดยเอกสาร F1399.1 ของมาตรฐาน ITU-R ได้ให้คำอธิบายว่า Broadband Wireless Access (BWA) คือ การเชื่อมต่อไร้สายที่มีความเร็วสูงกว่า 2 Mbps ซึ่งเป็นไปได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) Fixed Wireless Access (FWA) คือ การเชื่อมต่อไร้สายแบบประจำที่ (2) Mobile Wireless Access (MWA) คือ การเชื่อมต่อไร้สายแบบเคลื่อนที่ และ (3) Nomadic Wireless Access (NWA) คือ การเชื่อมต่อไร้สายแบบกึ่งเคลื่อนที่ ซึ่งทีโอที ได้ปฏิบัติตามมติ กสทช. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

 

ส่วนรูปแบบธุรกิจนั้น ทีโอทีจะเช่าอุปกรณ์เพื่อให้บริการโทรคมนาคมบนคลื่นความถี่ 2300 MHz จากคู่ค้าและนำคลื่นความถี่ 2300 MHz มาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ดังกล่าว จากนั้น จึงนำความจุโครงข่ายที่ได้มาดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง (โดยแบ่งเป็นความจุเป็น 40:60)

 

ทั้งนี้ ตามแผนธุรกิจความจุโครงข่าย 40% จะถูกแบ่งเป็น 2 บริการ คือ (1) บริการ Mobile Broadband (MBB) 20% เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ รวมถึงให้บริการกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โครงข่ายเสมือน (MVNO) และ (2) บริการ Fixed Wireless Broadband (FWB) อีก 20% เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าบรอดแบนด์ของทีโอที และตอบสนองการดำเนินงานตามนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ของรัฐบาลปัจจุบัน

 

ส่วนความจุอีก 60% ทีโอทีจะนำไปให้บริการร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าในรูปแบบบริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Roaming) หรือขายส่งผู้ให้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่โครงข่ายเสมือน (MVNO) ซึ่งเป็นรูปแบบของการให้บริการที่เป็นไปตามประกาศ กสทช. เช่นเดียวกับการให้บริการร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นในปัจจุบัน