#รู้ทันไม่อันตราย!! "ยาจุดกันยุง" ยุงร้ายไม่เหลือ คน(อาจ)ไม่รอด สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!!

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th

ทุกที่มียุงหมดยิ่งหน้าฝนยุงชุมยิ่งกว่าหน้าไหนๆเลย และแน่นอนว่ายิ่งยุงชุมเราจะอยู่เฉยๆให้มันกัดเล่นก็ใช่เรื่องเดี๋ยวก็จะเป็นโรคไข้เลือดออกอีก แต่จะให้มานั่งตบเอาที่ละตัวสองตัวก็ขี้เกียจอีกนั่นแหละตบไปบางที่ก็ใช่ว่าจะตบโดนยุง

#รู้ทันไม่อันตราย!! "ยาจุดกันยุง" ยุงร้ายไม่เหลือ คน(อาจ)ไม่รอด สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!!

 

และวิธีที่เราจะกำจัดยุงจะทำอย่างไงล่ะ ก็หายาฉีดยุงหรือไม่ก็จุดยากันยุงไง แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่าเจ้ายาจุดกันยุงเนี่ยมันไม่ได้แค่อันตรายกับยุงเท่านั้น แต่มันเป็นอันตรายกับคนด้วย เพราะยาจุดกันยุงมีส่วนประกอบของสารเคมีด้วย ซึ่งถ้าเราใช้แบบไม่ระมัดระวังมันก็จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของเราได้

#รู้ทันไม่อันตราย!! "ยาจุดกันยุง" ยุงร้ายไม่เหลือ คน(อาจ)ไม่รอด สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!!

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีความห่วงใยประชาชน ที่ใช้ยาจุดกันยุง เหตุเพราะในยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract) ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น

 

#รู้ทันไม่อันตราย!! "ยาจุดกันยุง" ยุงร้ายไม่เหลือ คน(อาจ)ไม่รอด สูดดมเข้าไปมากอันตรายกว่าที่คิด ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!!

การทำงานของยากันยุง
สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุง และป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้

 

อันตรายของยาจุดกันยุง
โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุง มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมากๆ เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
– อาการเบื้องต้นของการสูดดมสารระเหยนี้อาจไม่รุนแรงมากนัก คุณอาจแค่รู้สึกหายใจติดๆ ขัดๆ หายใจไม่สะดวกเท่านั้น
– การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง เพราะสารระเหยสามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
– การกลืนหรือกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
– หากสารจากยาจุดกันยุงเข้าตา จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้มีอาการตาแดง รู้สึกเจ็บตา น้ำตาจะไหลออกมา
– เกิดการสะสมของสารระเหยจากยาจุดกันยุงในร่างกาย สารระเหยจากยาจุดกันยุงจะเข้าไปทำลายเยื่อบุเมือก และทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้หลอดลมและกล่องเสียงอักเสบ อีกทั้งยังเข้าไปทำลายปอด ทรวงอก ทางเดินอาหาร ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้นทำให้เกิดอาการหายใจถี่รัว รู้สึกวิงเวียนปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
– หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้
– และสารจากยาจุดกันยุงนี้ ยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ของมารดาอีกด้วย

ป้องกันอันตรายจากยาจุดกันยุง ทางที่ดีคือการหลีกเลี่ยงใช้ยาจุดกันยุง หากจำเป็น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ดังนี้
1) ควรจุดยากันยุงได้ในบริเวณที่ไม่มีคนอยู่เท่านั้น หรือจุดให้ห่างจากบริเวณที่มีคนอยู่ เพื่อจะได้ไม่สูดดมสารจากยากันยุงเข้าสู่ร่างกาย
2) จุด และวางไว้บริเวณเหนือจุดที่ต้องการไล่ยุงในทิศเหนือลม
3) ควรใช้ยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี หลีกเลี่ยงห้องที่อับชื้น
4) อย่าจุดยากันยุงใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย ขาตั้งและสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะหรือวัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ วางให้ห่างจากของไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้
5) อย่าจุดยากันยุงในห้องที่มีเด็กอ่อน ผู้ป่วย คนชรา และหญิงมีครรภ์
6) ระวังไม่จุดยากันยุงในห้องครัว อย่าให้ยาจุดกันยุงสัมผัสหรือรมถูกอาหาร
7) เมื่อเลิกใช้ยากันยุงนี้แล้ว ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากประมาท
8) เก็บยาจุดกันยุงไว้ในที่แห้ง อย่าให้ถูกแสงแดด และให้ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง
9) ห้ามกินเด็ดขาด
10) ทำการล้างมือให้สะอาดทุกๆ ครั้งหลัง การหยิบใช้หรือสัมผัสยาจุดกันยุง

 

 

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษจากยาจุดยากันยุง
– หากเกิดพิษจากการสุดดมให้รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่จุดยากันยุง ไปยังบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
– หากกลืนกินยาจุดกันยุงเข้าไปต้องรีบทำให้อาเจียน โดยการดื่มน้ำสะอาด 2 แก้ว แล้วทำการล้วงคอให้อาเจียน หากมีอาการรุนแรง ให้รีบนำส่งแพทย์พร้อมภาชนะบรรจุ รวมทั้งฉลากหรือใบแทรกของผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงนั้นๆ ด้วย

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล :  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา