ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

         วันที่ 15 มกราคม 2561 ที่กศน.ต.โพรงจระเข้ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ม.7 ต.โพรงจระเข้ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง กศน.ตรัง พร้อมด้วย นางฉัตราภรณ์ เอ่งฉ้วน ผอ.กศน.อำเภอย่านตาขาว นำนักศึกษากศน.จำนวน 10 คน ลงพื้นที่เก็บข้าวไร่ ที่สวนของนางอาทิน จิตรบุตร เจ้าของสวนยางพาราที่ปลูกข้าวไร่แซมในพื้นที่ของตนเอง พร้อมกับพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ต่างๆในเนื้อที่ประมาณ 1.5 ไร่ เพื่อให้นักศึกษากศน.ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน วิธีการเก็บข้าวโดยใช้แกละ วิธีการคัดเลือกรวงข้าว และนำรวงข้าวไร่มาทำเป็นข้าวเม่า พร้อมกับขั้นตอนสุดท้ายที่ข้าวเม่านำมาผสมกับมะพร้าวและน้ำตาลแดง ทานได้เลยมีรสชาติอร่อยถูกปาก ซึ่งในปัจจุบันข้าวเม่าเป็นที่นิยมกันมากในพื้นที่ มีราคากิโลกรัมละ 200 บาท ส่วนใหญ่จะทำกินกันเองกันในพื้นที่

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

         ด้านนางฉัตราภรณ์ เอ่งฉ้วน ผอ.กศน.อำเภอย่านตาขาว กล่าวว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษามัธยม ม.ปลายของกศน.ตำบลโพรงจระเข้ เป็นการเรียนรู้เรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการทำข้าวเม่าซึ่งเป็น อาหารพื้นบ้านของภาคใต้ซึ่งทำมาจากเมล็ดข้าว ที่อยู่กึ่งกลางก่อนที่จะเป็น ข้าวสุก นำมาผ่านกระบวนการขั้นตอนและ เป็นอาหารประจำเมือง ของภาคใต้ และอำเภอย่านตาขาวจังหวัดตรัง โดยประโยชน์ของข้าวเม่า ก็เหมือนกับเราทานข้าวสุก แต่ว่าเราอาจจะนำมาเป็นอาหารว่าง ซึ่งประโยชน์จะเหมือนข้าวสุก เพราะทำมาจากข้าวสุก โดยข้าวเม่าราคาจะอยู่ที่ประมาณ 200 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทางเกษตรกรที่ทำข้าวเม่า คัดและนำรวงข้าว ที่ไม่น่าจะเป็นรวงข้าวที่สมบูรณ์ ในการที่จะเป็นข้าวสารต่อไป คัดมาเพื่อทำเป็นข้าวเม่าในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ ของข้าวที่ว่าจะมันจะสูญเสียไปไหม ก่อนที่จะไปถึงข้าวสุก จึงคัดมาทำเป็นข้าวเม่าซะก่อน เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เพราะการทำข้าวเป็นการทำเพื่อผลิตกินในครอบครัว สำหรับการนำนักศึกษาเรียนรู้ก็จะเริ่มตั้งแต่ขั้นต้น ในการให้นักศึกษาลงไปที่แปลงข้าว สอนให้เด็กได้รู้ว่าการเลือกรวงข้าว ที่จะเก็บมาทำข้าวเม่า ลักษณะรวงข้าวต้องเลือกรวงข้าวแบบไหน สีอะไรยังไง ช่วงไหนที่เราควรจะเก็บ ข้อที่สองก็คือการใช้แกละ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้าว ภาคใต้จะใช้แกละ ส่วนภาษาอีสานจะเรียกเกี่ยวโดยใช้เคียว แต่เนื่องจากภาคใต้การทำนาทำไร่เป็นอาชีพเสริม ก็เลยใช้แกละ หลังจากนั้นเมื่อเรานำเมล็ดข้าวมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเราจะนำรวงข้าวและเอาเมล็ดข้าวจากรวงเพื่อนำไปคั่วเป็นข้าวเม่าได้อย่างไร ก็คือสาธิตการนวด เมล็ดข้าวจากรวงข้าว และหลังจากนั้นใช้กระด้งนำมาฟัด ซึ่งเป็นภาษาใต้ เพื่อจะให้เมล็ดข้าวที่มีลักษณะลีบ นำออกไป เราก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปคั่ว และหากเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมจริงๆเขาจะนำรวงข้าวมาแช่น้ำ ไว้ประมาณ 2 คืน เพื่อให้รวงข้าวมีความอิ่มน้ำ และนำมาตำ โดยจะมีเทคนิคในการตำ ว่าตำยังไงให้ข้าวมันแบน และใช้ไม้เขี่ยยังไงเข้าจะได้กระจายทั่ว  ส่วนการคั่วก็จะอยู่ที่อุณหภูมิของไฟ หากไฟแรงจนเกินไปจะทำให้ข้าวไม่ได้ที่เป็นข้าวตอกเสียก่อน หากเมล็ดข้าวเม็ดแรกเริ่มแตกเป็นข้าวตอกต้องนำไปตำ เมื่อตำเสร็จแล้วก็จะนำข้าวเม่า มะพร้าว และน้ำตาลแดง นำมาคลุกรวมกัน ก็จะทานเป็นอาหารว่างพร้อมรสชาติที่อร่อยอีกด้วย

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

                สำหรับเรื่องของภูมิปัญญา จะมี 2 ประเภท 1 ภูมิปัญญาดั้งเดิม จากคนแก่ที่มีประสบการณ์ 2 ภูมิปัญญาอีกตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเองจากทักษะ สำหรับตนเองคิดว่าภูมิปัญญาดังกล่าวน่าจะเกิดจาก ทักษะในวัยเด็กมากกว่า และหากภูมิปัญญาเราไม่ได้มีการส่งเสริม ให้มีการถ่ายทอดสู่เด็กรุ่นหลาน เด็กรุ่นหลังก็คงจะไม่ทราบเหมือนกัน ดังนั้นกศน.ตำบลโพรงจระเข้ ได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการ สอดแทรกในรายวิชาเรียนเรื่องภูมิปัญญา ซึ่งนับว่าเป็นการดีที่เด็ก ได้มีการเรียนรู้ การเลือกรวงข้าว มาทำข้าวเม่าต้องเลือกแบบไหน การใช้แกละเพื่อเก็บรวงข้าวต้องทำยังไง เด็กรุ่นหลังก็จะได้อนุรักษ์เรื่องนี้สืบต่อไป

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

สืบทอดภูมิปัญญา!? กศน.ตรังนำนักศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เก็บข้าวไร่เพื่อมาทำข้าวเม่า ต่อยอดภูมิปัญญา-สืบสานอนุรักษ์สู่อนาคตต่อไป..!!

ภาพ/ข่าว สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง