ความเหมือนที่แตกต่าง!! รู้หรือยัง?? วิธีง่ายๆ สังเกตเห็ดที่กินได้-กินไม่ได้..

ติดตามรายละเอียด : FB. Deeps News

แต่ละปีช่วงต้นฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว หรือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน ชาวบ้านนิยมเก็บเห็ดป่ามาประกอบอาหาร รวมทั้งการนำไปขาย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

 

   

ล่าสุด นายวิวรรธน์ ก่อวิริยกมล นายแพทย์สาธารณะสุขจังหวัดเลย กล่าวว่าจากรายงานของงานควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยาโรงพยาบาลภูกระดึง ว่ามีผู้เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลภูกระดึงมีอาการถ่ายเหลวหลายครั้ง เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและมวนท้อง ทำงาน 7 ราย ทั้ง 7 คนแพทย์วินิจฉัยว่ารับประทานเห็ดพิษ ดังนั้น ในส่วนของการเตือนไปยัง ประชาชนที่ชอบบริโภค เห็ดป่าให้ระมัดระวังการกิน หากมีการวางจำหน่ายขายเห็ด ในทุกชนิดหากไม่เคยกินหรือไม่มีความชำนาญก็ให้หลีกเลี่ยง

 

สำหรับเห็ดพิษที่ทำให้คนตายมากกว่าชนิดใดๆ คือ เห็ดแอมอะนิต้าเวอร์น่า หรือ ภาคอีสาน เรียกว่า เห็ดระโงกหิน ส่วนภาคเหนือ เรียกว่า เห็ดไข่ห่านขาวตีนตัน จะมีลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นก้อนกลมสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 ซม. ยึดเป็นรูปไข่ ผิวด้านบนบางแตกออกเป็นรูปถ้วยรองรับ บางส่วนติดอยู่ที่ผิวหมวกต่อมาเจริญเป็นรูปร่ม

 

สิ่งที่ต่างจากชนิดกินได้คือ ชนิดกินได้จะมีโคนต้นไม่โป่งออกหลุดจากเปลือกหุ้มดอกได้ง่าย แต่เห็ดไข่ห่านตีนตัน หรือเห็ดระโงกหินนั้น ดอกเห็ดเล็กกว่าโคนต้นโป่ง ซึ่งออกพิษร้ายแรงมากเป็นพิษที่ไม่สามารถละลายในน้ำ หรือในความร้อน หลังรับประทานไป 6-12 ชั่วโมง จะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการจะทุเลาลงระยะหนึ่ง ต่อมาจะพัฒนาไปสู่การทำลายตับและอวัยวะอื่นๆ เกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง การแข็งตัวของเลือดผิดปกติรุนแรงและเสียชีวิตได้ภายใน 6-12 วัน

 

ลักษณะเห็ดที่ไม่ควรเก็บมารับประทาน ได้แก่ 1.เห็ดที่เป็นสีน้ำตาล เห็ดที่มีปลอกหุ้มโคนหรือมีโคนอวบเห็ดที่คล้ายสมองหรืออานม้า เห็ดที่ขึ้นใกล้มูลสัตว์ รวมทั้งเห็ดที่ไม่มีพิษคุ้นเคยแต่ที่เก็บมาแล้วมีลักษณะแปลกไป 2.สีเข้มจัดหรือฉูดฉาดมาก 3.เห็ดที่มีหมวกเห็ดสีขาวหรือเป็นรูแทนที่จะเป็นช่องๆคล้ายครีบปลามีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด 4.เห็ดที่มีวงแหวนใต้หมวก มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ดวงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ดและก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน 5.เห็ดที่มีปุ่มปม มีขนหรือหนามเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป 6.มีกลิ่น มีน้ำเมือก หรือน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด 7.เห็ดตูมที่มีเนื้อในสีขาว ครีบที่อยู่ใต้หมวกมีสีขาวสปอร์ในครีบมีสีขาวเช่นกัน

 

นายวิวรรธน์ กล่าวอีกว่า เตือนว่าก่อนนำเห็ดมารับประทานให้ดูอย่างรอบคอบที่สุด หากรับประทานแล้วมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบากวิงเวียน คล้ายเมา ฯลฯ รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)