บิ๊ก บินไทย เก้าอี้ร้อน  แจงเบิกโอที ภาคพิสดาร

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

 อ่านคำชี้แจงผู้บริหารการบินไทย... เรื่องเบิกค่าล่วงเวลา 30 วัน ๆ ละ 24 ชั่วโมง

บิ๊ก บินไทย เก้าอี้ร้อน  แจงเบิกโอที ภาคพิสดาร

สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ 22/1/61 Richman can do ได้นำเสนอข่าวเรื่องการบินไทย ประเด็นเรื่อง "ทำงานหนักอะไรขนาดนี้ ..!! ถ้าอยากมีชีวิตรอดต่อไป คมนาคม สั่งทีจีลดค่าใช้จ่ายด่วน  ขำไม่ออก บินไทย เบิกโอที30วันๆละ24ชม." อ่านรายละเอียดที่เพจRichman can do Link::http://www.tnews.co.th/contents/iz/404870 
เพราะเมื่อวานนี้ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เดินทางตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย ให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ว่า ปัญหาของการบินไทย ประเด็นใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่การหารายได้ แต่สิ่งที่ต้องเร่งแก้ไขก่อนอันดับแรก คือ ปรับลดค่าใช้จ่ายในองค์กรลงอย่างมากโดยเฉพาะในส่วนของทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น เครื่องบินที่อยู่ในแผนการจัดซื้อใหม่นั้นต้องทบทวน แบบและชนิดเครื่องบินที่จะต้องมีการจัดซื้อในอนาคตมีเหมาะสมกับสถานการณ์รวมไปถึงรูปแบบของการจัดหาว่าจะพิจารณาเป็นในรูปแบบเช่าหรือซื้อดี ซึ่งได้มอบให้ฝ่ายจัดการไปดูเรื่องนี้แล้ว รวมทั้งให้พิจารณาเปรียบเทียบจากคู่แข่งว่ามีการจัดซื้อหลายรูปแบบหรือเพียงไม่กี่รูปแบบเท่านั้น
“สั่งให้การบินไทยกลับไปจัดทำแผนฟื้นฟูมาใหม่ทั้งหมดตามข้อเสนอแนะ และนำมาเสนอใหม่อีกครั้งด้วย เพราะแผนปัจจุบันที่ทำอยู่รายละเอียดเพียงการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายเท่านั้น ซึ่งเราก็จะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ เชื่อว่าหากการบินไทยมีการปรับปรุงแฟนฟื้นฟูตามข้อเสนอแนะเชื่อว่าบริษัทจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้ในระยะเวลาไม่นานนี้”ไพรินทร์กล่าว

บิ๊ก บินไทย เก้าอี้ร้อน  แจงเบิกโอที ภาคพิสดาร

ประเด็นเรื่องการบินไทยต้องลดค่าใช้จ่ายองค์กรลง สอดคล้องกับเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ออกมาระบุว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบอำนาจเพิ่มเติมให้สามารถตรวจสอบรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาธรรมาภิบาล ซึ่งจะกำกับดูแลผ่านทางประธาน คนร.อีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะการเข้าไปดูปัญหาค่าใช้จ่ายของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งก็เคยเป็นข่าวกันมาแล้วว่ามีการเบิกค่าใช้จ่ายทำงานนอกเวลาหรือโอทีกันเดือนละ 30 วัน วันละ 24 ชั่วโมงซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญมาก จึงเพิ่มอำนาจให้คณะอนุกรรมการ ไปรวบรวมข้อเท็จจริง และทำการตรวจสอบว่าระบบโอทีของการบินไทยที่ใช้ในปัจจุบัน

ดังนั้นเช้านี้ 23/1/61 บมจ.การบินไทย จึงทำหนังสือชี้แจงมา โดยมีใจความดังนี้...
อุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทยฯ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีสื่อบางแห่งลงข่าวว่าพนักงานบางส่วนปฏิบัติงานล่วงเวลา จนมีค่าล่วงเวลาสูงเกินจริงคือวันละ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งบริษัทฯ ได้ตรวจสอบและขอยืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยในปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการเบิกค่าล่วงเวลาตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานภายใต้แผนปฏิรูปองค์กร โดยมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายกับทุกฝ่ายของบริษัทฯ เพื่อให้มีต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจการบิน อย่างไรก็ตาม ค่าล่วงเวลาในการทำงานของพนักงานในรอบปี 2560 ที่ผ่านมา มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นกว่าปี 2559 แต่เป็นไปตามการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง เนื่องจากบริษัทฯ มีจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น มีการใช้งานเครื่องบินมากขึ้นทำให้เกิดความถี่ในการซ่อมบำรุง และมีจำนวนสายการบินลูกค้าที่ใช้บริการการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นประมาณ 5%

บิ๊ก บินไทย เก้าอี้ร้อน  แจงเบิกโอที ภาคพิสดาร

ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักดีถึงความห่วงใยของภาครัฐ และฝ่ายบริหารไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้มีการกำกับดูแลการทำงานล่วงเวลาของพนักงานอย่างเคร่งครัด ให้มีเวลาปฏิบัติงานปกติและเวลาปฏิบัติงานล่วงเวลารวมกันไม่เกินกว่าที่มาตรฐานสากลกำหนด เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด
 สำหรับประวัติโดยย่อ อุษณีย์ แสงสิงแก้ว  หรือ "อ้อม” เป็นผู้หญิงที่เป็นลูกหม้อการบินไทย คนแรก ที่ขึ้นมากุมบังเหียน และจัดเป็นม้ามืดที่คว้าเก้าอี้ รักษาการดีดี  โดยได้รับเลือกจากอดีตประธานบอร์ดการบินไทย คนก่อน“อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม” ให้นั่งรักษาการดีดี และเป็นน้องสาวอดีต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ก่อนจะมารับตำแหน่งนี้ อุษณีย์ นั่งเก้าอี้รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หน่วยธุรกิจบริการการบิน ควบคุมงานบิสเนสยูนิตทั้ง 4 หน่วยธุรกิจของการบินไทย ซึ่งมีพนักงานอยู่หลายหมื่นคนในสังกัด ผลงานที่ด่นคือ ทำรายได้ให้บียูแคเทอริ่ง เฉพาะปี 2สามารถสร้างรายได้เป็นหมื่นล้าน และทำกำไรให้การบินไทย อย่างบียูแคเทอริ่ง เฉพาะปี 2559 ทำกำไรได้ 1,500 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ 
อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นมานั่งรักษาการดีดี ทีจี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ยังไม่เห็นผลงานที่ชัดเจน และยังไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดทุนให้กับองค์กรได้สำเร็จ คงเห็นแต่แผนการตัดทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ขาย ซึ่งก็ยังไม่ปรากฎความคืบหน้าการดำเนินงานและจะมีการตรวจสอบเรื่องความโปร่งใสในขบวนการจัดการหรือไม่ และผลงาน สร้างหน่วยรถขายอาหารหรือ Food Truck ของการบินไทย