หัวอกคนจน... นายจ้างรุมค้านขึ้นค่าแรง

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

แรงงานว่าไง...??? เอกชน3สถาบันล้มมติบอร์ดค่าจ้าง ขอปรับอัตราใหม่....

หัวอกคนจน... นายจ้างรุมค้านขึ้นค่าแรง

วันนี้ (23 ม.ค. 61) พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวว่า ตามที่บอร์ดค่าจ้าง ได้ประชุมและมีมติเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ปรับขึ้นค่าจ้างทุกจังหวัด ตั้งแต่ 5-22 บาท การปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ เพิ่มสูงขึ้นถึง 5% จัดว่าสูงที่สุดในรอบ 5 ปี ซึ่งเป็นการพิจารณาด้วยข้อมูลรอบด้านอย่างรอบคอบ โดยมี ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายนายจ้าง และภาครัฐ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิรวมอยู่ด้วย อีกทั้งรัฐบาลยังมีมาตรการต่างๆ ออกมารองรับผู้ได้รับผลกระทบต่อเนื่อง และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นไป
จากการที่มีผู้ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้ทบทวนใหม่โดยปรับเท่ากันทั่วประเทศนั้น วอนอย่านำมาเคลื่อนไหวเชิงการเมือง ขอให้เคารพมติบอร์ดค่าจ้าง และร่วมกันเดินหน้าเพื่อประเทศชาติต่อไป
 

หัวอกคนจน... นายจ้างรุมค้านขึ้นค่าแรง

สืบเนื่องจากในวันเดียวกัน คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย โดยกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  ออกมาระบุว่า จะทำหนังสืออย่างเป็นทางการส่งถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอเสนอให้รัฐบาลทบทวนมติอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้มีมติออกมาจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลางเมื่อวันที่ 17 ม.ค.61 ให้เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด และให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

ทั้งนี้ กกร.ได้สอบถามความคิดเห็นจากประเด็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ พบว่า การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ได้ปรับขึ้นเกินกว่าที่คณะอนุกรรมการจังหวัดนำเสนอคณะกรรมการค่าจ้าง คิดเป็น 92% ของจังหวัดทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มจังหวัด 35 จังหวัดที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดไม่ได้เสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง เช่น จ.ระยอง ซึ่งคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดระยอง มีมติคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้เท่ากับอัตราเดิมในปี 60 ที่ 308 บาทต่อวัน แต่ประกาศอัตราค่าจ้าง ปี 61 ได้กำหนดให้ปรับขึ้นเป็น 330 บาทต่อวัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยคาดว่าจะทำให้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนในภาคเกษตร, ภาคบริการ และผู้ประกอบการ SMEs โดยทั่วไป

"วันนี้เราจะทำหนังสือถึงท่านนายฯ เพื่อขอเสนอให้รัฐบาลทบทวนมติอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลาง...เรามองว่าอัตราที่ปรับขึ้นดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะอนุกรรมการจังหวัด เราไม่ได้คัดค้านการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เราขอให้การปรับขึ้นเป็นไปตามอัตราที่คณะอนุกรรมการแต่ละจังหวัดได้นำเสนอ" ประธาน กกร.กล่าว

หัวอกคนจน... นายจ้างรุมค้านขึ้นค่าแรง

ทั้งนี้ กกร.ได้รวบรวมความเห็นเพิ่มเติมจากสมาชิกในแต่ละจังหวัด ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะต่อผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2561 ดังนี้

1. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ได้มีการดำเนินการแล้วเมื่อ 1 ม.ค.60

2. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ กกร.เห็นว่าไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจความเป็นจริงของแต่ละจังหวัด และไม่เป็นไปตามข้อเสนอของคณะอนุกรมการค่าจ้างจังหวัด อีกทั้งไม่เป็นไปตามการคำนวณดัชนีทางเศรษฐกิจที่ระบุไว้ตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

3. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิต โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคบริการ และ SMEs เนื่องจากต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ซึ่งจะเป็นการเร่งให้มีการว่างงานสูงขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการจะนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาทดแทนแรงงานคน

4. การปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่เกินพื้นฐานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศในภาพรวม รวมทั้งค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นตาม และกระทบต่อประชาชนในที่สุด

5. กกร. สนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อมุ่งสู่การลอยตัวของค่าจ้างในที่สุด

6. ในการปรับค่าจ้างครั้งนี้ กกร.มีความเป็นห่วงผลกระทบที่จะมีต่อภาคเกษตร ภาคบริการ และผู้ประกอบการ SMEs จึงขอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

7. ภาครัฐควรดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยให้เอกชนที่มีความพร้อมเข้ามามีส่วนร่วม

กอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมฯ สนับสนุนมติของ กกร.ในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ควรจะเป็นไปตามมติของคณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัด ซึ่งจากที่ได้ศึกษาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ พบว่าคณะกรรมการค่าจ้างกลางได้เสนอให้มีการปรับสูงเกินกว่าที่คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดนำเสนอไป ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานในภาคการเกษตร ภาคบริการ และกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ได้ ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลช่วยทบทวนมติของคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานกลาง ให้เป็นไปตามมติของคณะอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดด้วย

อนึ่ง ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ชุดที่ 19 ได้มีมติปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2561 โดยมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 5-22 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.64-7.14% โดยแบ่งการปรับค่าจ้างเป็น 7 ระดับ คือ 1.ปรับขึ้นเป็น 308 บาท 3 จังหวัด 2.ปรับขึ้นเป็น 310 บาท 22 จังหวัด 3.ปรับขึ้นเป็น 315 บาท 21 จังหวัด 4.ปรับขึ้นเป็น 318 บาท 7 จังหวัด 5. ปรับขึ้นเป็น 320 บาท 14 จังหวัด 6. ปรับขึ้นเป็น 325 บาท 7 จังหวัด และ 7. ปรับขึ้นเป็น 330 บาท 3 จังหวัด