ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

ระลึกความทรงจำวันที่เสียงระฆังวัดพระแก้ว..ดังกังวาล!! การย่ำระฆังเสียงที่ดีที่สุดในโลก ในพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" #วันนี้ในอดีต !!

 

            เนื่อในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ครบรอบ ๑ ปี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต

ระลึกความทรงจำวันที่เสียงระฆังวัดพระแก้ว..ดังกังวาล!! การย่ำระฆังเสียงที่ดีที่สุดในโลก ในพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" #วันนี้ในอดีต !!

 

          เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๕๐ น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยนิมนต์สมเด็จพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เข้าร่วมพระราชพิธี พิธีในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชนั้น จะมีการตีระฆังในวัดพระศรีรัตนศาดาราม ในพระบรมมหาราชวัง จะมีการย่ำระฆังที่เสียงดีที่สุดในโลก ที่หอระฆังวัดพระแก้ว ๒๐ ครั้ง โดยจะมีการตีเฉพาะในพิธีตั้งสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น

 

ระลึกความทรงจำวันที่เสียงระฆังวัดพระแก้ว..ดังกังวาล!! การย่ำระฆังเสียงที่ดีที่สุดในโลก ในพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" #วันนี้ในอดีต !!


          สำหรับหอระฆัง ของ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) แต่ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นใหม่โดยมีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมไทย ย่อมุมไม้สิบสอง (สี่ด้าน ด้านละสามมุม) ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามแบบจีน เป็นลวดลายต่างๆวิจิตรพิสดารอย่างยิ่ง ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมแซมใหม่เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงครองราชย์ครบ ๖๐ ปี ในปีพ.ศ ๒๕๔๙

 

ระลึกความทรงจำวันที่เสียงระฆังวัดพระแก้ว..ดังกังวาล!! การย่ำระฆังเสียงที่ดีที่สุดในโลก ในพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" #วันนี้ในอดีต !!

 

          กล่าวกันว่าองค์ระฆัง ได้มาจากวัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งสมเด็จพระพุทธาจารย์โต พรหมรังษี ได้ขุดพบพร้อมกับระฆังอีก ๕ ใบ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าเท็จจริงประการใด เนื่องจาก หอระฆังแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ระฆังใบนี้จึงจะตีเฉพาะโอกาสสำคัญๆ คือ

"การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชโดยจำตีนับจำนวนครั้งตามลำดับว่าองค์ที่เท่าไหร่ก็ตีเท่านั้น" 

 

ระลึกความทรงจำวันที่เสียงระฆังวัดพระแก้ว..ดังกังวาล!! การย่ำระฆังเสียงที่ดีที่สุดในโลก ในพิธีสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" #วันนี้ในอดีต !!

 

           โดยหอระฆัง ตั้งอยู่บนฐานทักษิณ  หอระฆังเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  กว้าง ๗ เมตร ยาว ๘ เมตร เป็นบุษบกทรงมงกุฏ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ปูขอบหลังคาสีเขียวโดยรอบ พื้นหลังคาสีแดง มีประตูทางเข้า ๔ ด้าน เป็นซุ้มจระนำรูปโค้งแหลมประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ตอนบนซุ้มเป็นทรงบันแถลงนาค ๓ เศียร ๒ ชั้น มีช่อฟ้าและหางหงส์รูปหัวนาค กรอบประตูเป็นไม้ทาสีเขียว ผนังฐานทักษิณประดับด้วยกระเบื้องก้นถ้วย รูปกลมสีขาวเป็นพื้น ประดับกระเบื้องถ้วยแต่งดอก ตอนล่างทำเป็นบัวหัวเสา ตอนบนเป็นบัวปลายเสา ประดับกระเบื้องถ้วยขอบนอกเป็นลายรักร้อย บุษบกประดิษฐานระฆังอยู่บนฐานเขียงและฐานสิงห์ ๒ ชั้น คั่นด้วยกระดานฐานบัว ส่วนย่อมุมไม้สิบสองเป็นไม้ปิดทองประดับกระจก ฐานเสาเป็นกาบพรหมศร หัวเสามีคันทวยรับชายคาโดยรอบ ตอนบนระหว่างเสาประดับด้วยสาหร่ายรวงผึ้ง ปลายเป็นพญานาคปิดทอง ตอนล่างของเสาประดับด้วยกระจังปูนปั้นประดับกระจก เพดานปิดทองฉลุลายเป็นรูปดาว แขวนระฆังไว้ตรงกลางเพดานบุษบก

            สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ ณ ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พระชนกชื่อนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนีชื่อตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ ๒ จากพี่น้องทั้งหมด ๙ คน มีพระอนุชาหนึ่งในนั้นคือพระเทพสุเมธี (ไสว วฑฺฒโน) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร จังหวัดราชบุรี ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ ๔ ตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป.๔ ในปี พ.ศ.๒๔๘๐

             เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ พระองค์บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

             ขณะจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา ถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยค และสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคในปี พ.ศ. ๒๔๘๘

             เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ทรงย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) และภายหลังอุปสมบท พระองค์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. ๒๔๙๑ สามารถสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค และ พ.ศ. ๒๔๙๓ สามารถสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค หลังเป็นเปรียญ ๕ ประโยค พระองค์ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ ๕ จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ และทรงเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ปี พ.ศ.๒๕๕๒ สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://th.wikipedia.org